: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 5 ฉบับที่ 62 ประจำเดือน
หัวข้อข่าว : บทโทรทัศน์ “ศรีตรังสะพรั่งบานบนเส้นทางวงแหวนพหุวัฒนธรรม”
รายละเอียด :
บทโทรทัศน์ “ศรีตรังสะพรั่งบานบนเส้นทางวงแหวนพหุวัฒนธรรม”
โดย นวพงษ์ เพ็ชรอุไร
ลำดับ          ภาพ          เสียง          เวลา
1                              F/I เพลงเขตรั้วบสีบลู แล้ว F/U
ผู้บรรยาย:  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของภาคใต้ ได้เริ่มก่อตั้งที่จังหวัดปัตตานี
ซึ่งเป็นวิทยาเขตแรกเมื่อปี 2509 หรือกว่า 50 ปีที่ผ่านมา           10 วินาที
2                    ผู้บรรยาย:  ในโอกาสที่นักศึกษาใหม่ได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียน
ณ จังหวัดปัตตานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงต้องการให้นักศึกษาใหม่ ได้เรียนรู้อัตลักษณ์การอยู่ร่วมกัน
ในสังคมพหุวัฒนธรรม  ตระหนักในคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่ควรค่าแก่การศึกษาและการอนุรักษ์  ตลอดจนเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ นอกเหนือจากการฝากตัวเป็นลูกหลานชาวปัตตานี
จึงจัดกิจกรรมในชื่อ ศรีตรังสะพรั่งบานบนเส้นทางวงแหวน
พหุวัฒนธรรม ในช่วงเวลาของการเปิดเทอมใหม่
โดยการนำความโดดเด่นของจังหวัดปัตตานีมาเป็นสโลแกน ด้วยคำว่า RICH          

3                    F/I เพลงลาฆูดูวอ วินาทีที่ 35 แล้ว F/O
ผู้บรรยาย:  ซึ่ง R: Resource หมายถึงพื้นที่ ที่มีความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ทางชีวภาพจากแหล่งธรรมชาติ
จากพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์ แม่น้ำ ทะเล ป่าไม้และภูเขา          6 วินาที
4                    ผู้บรรยาย:  I: Integration หมายถึงบูรณาการสหวิทยาพัฒนา
ความรู้ สร้างแรงบันดาลใจจากประสบการณ์ สร้างเสริมความเป็นพลเมืองโลก          
5                    ผู้บรรยาย:  C: Care หมายถึงพัฒนาอัตลักษณ์นักศึกษาสู่การเป็นนักศึกษาของวิทยาเขตปัตตานีที่ชาญฉลาด          
6                    ผู้บรรยาย:  และ H: Heritage หมายถึงเรียนรู้ด้วยอัตลักษณ์วิถีพหุวัฒนธรรมที่โดดเด่นงดงาม สัมผัสประวัติศาสตร์ร่องรอยทรงคุณค่า ของจังหวัดปัตตานี          
7                    ผู้บรรยาย:  โดยรวมแล้วสามารถสรุปแนวคิดการจัดกิจกรรมศรีตรังสะพรั่งบานบนเส้นทางวงแหวนพหุวัฒนธรรม เพื่อให้นักศึกษาตระหนักว่า “ปัตตานีเมืองแห่งความหลากหลายทางวัฒนธรรม ร่ำรวยด้วยทรัพยากรและมรดก
ทางภูมิปัญญา ใส่ใจในอัตลักษณ์ท้องถิ่น บูรณาการสหวิทยาการ
เพื่อการเป็นเมืองแห่งวิชาการ”            
8                    ผู้บรรยาย:  กิจกรรมศรีตรังสะพรั่งบานบนเส้นทางวงแหวนพหุวัฒนธรรม เริ่มต้นด้วยการที่คณะผู้บริหาร คณาจารย์ ตลอดจนศิษย์เก่าได้เดินเท้านำนักศึกษาใหม่เกือบ 2,000 คน ออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ไปตามเส้นทางถนนเจริญประดิษฐ์ ซึ่งเป็นถนนหน้ามหาวิทยาลัย ผ่านหอนาฬิกา
ไปยังลานศิลปวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี ซึ่งอยู่ตรงข้ามศาลากลางจังหวัดปัตตานี          
9                    ผู้บรรยาย:  โดยมีขบวนนักศึกษาอัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ธงไตรรงค์ ธงตราพระปรมาภิไธย
รัชกาลที่ ๑๐  ธงตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก  
ต่อมาผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นายกเทศมนตรีเมืองปัตตานี
และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี ได้กล่าวต้อนรับนักศึกษาใหม่          
10                    ผู้บรรยาย:  หลังจากนั้นนักศึกษาได้เดินทางศึกษาเส้นทางวงแหวนพหุวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี ได้แก่วัดตานีนรสโมสรพระอารามหลวง ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาในสมัยที่พระธรรมโมลี (เกตุ ติสสโร)รองเจ้าคณะภาค 9 และเจ้าคณะจังหวัดปัตตานี
เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้บริจาคศิลปะโบราณวัตถุ และมอบเงินทุนจำนวน 2,000,000 บาท ให้แก่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สำหรับสร้างพิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี  
         
11                    ผู้บรรยาย:  จุดที่ 2 บ้านเลขที่ 1 ถนนอาเนาะรู ซึ่งเป็นบ้านของคุณซุ่ยสิ้ม ปริชญากร ผู้ริเริ่มบริจาคที่ดินให้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี            
12                    ผู้บรรยาย:  ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ที่ประดิษฐานรูปแกะสลัก
เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว  ศูนย์รวมจิตใจและศรัทธาของชาวไทย
เชื้อสายจีนในปัตตานี          
13                    ผู้บรรยาย:  มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี มัสยิดที่สวยที่สุดในประเทศไทย เป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้นับถือศาสนาอิสลามในภาคใต้            
14                    ผู้บรรยาย:  มัสยิดรายอฟาตอนี หรือ มัสยิดรายาจะบังติกอ
สร้างขึ้นในสมัยสุลต่านมูฮำมัด เมื่อเกือบ 200 ปีที่แล้ว รูปทรงสถาปัตยกรรมมลายูยุคเก่า โครงสร้างทำด้วยไม้ตะเคียนทอง
ทั้งหลัง            

15                    ผู้บรรยาย:  วังจะบังติกอ สร้างโดยสถาปนิกชาวจีนในสมัยตนกู
มูฮัมหมัดหรือตนกูบือซา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองปัตตานี          
16                    ผู้บรรยาย:  และ แม่น้ำปัตตานี ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของจังหวัดปัตตานี มีทัศนียภาพที่สวยงาม มีชุมชน
ริมแม่น้ำ ให้นักศึกษาได้สัมผัสชีวิตดั้งเดิมอีกแห่งหนึ่งของเมืองปัตตานี          
17                    ผู้บรรยาย:  นักศึกษาใหม่ได้สัมผัสความเป็นสังคมพหุวัฒธรรมผ่านชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนย่านชุมชนจีนหัวตลาด หรือกือดาจีนอ ย่านชุมชนชิโนโปรตุกิส ถนนฤาดี และย่านชุมชนมลายู
ถนนจะบังติกอ          
18                    ผู้บรรยาย:  ตลอดระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร ระหว่างเส้นทางเดินศึกษาวงแหวนวัฒนธรรมจังหวัดปัตตานี ชุมชนในจังหวัดปัตตานีจัดการแสดงตะลีกีปัส ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงระบำพื้นเมืองที่เป็นวัฒนธรรมร่วมของภาคใต้ของประเทศไทยและมาเลเซีย
การแสดงปันจักสีลัต ศิลปะการต่อสู้ของคนเชื้อสายมลายูในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ และขบวนแห่สิงโต เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ความเป็นพหุวัฒนธรรม          
19                    ผู้บรรยาย:  นอกจากนี้ประชาชนในจังหวัดปัตตานีได้นำสินค้าพื้นเมือง และอาหารพื้นถิ่นมาจำหน่ายในโอกาสพิเศษนี้ เพื่อให้
ผู้ที่มาฝากตัวเป็นลูกหลานชาวปัตตานีได้ลิ้มรส และเรียนรู้คุณค่าของอาหารเฉพาะถิ่น ที่ได้รับความนิยมของคนยุคสมัยหนึ่งในอดีต และได้เลือกซื้อสินค้าจากชุมชนรอบเมืองปัตตานีอีกด้วย          
20                    ผู้บรรยาย:  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
คาดหวังว่าการจัดกิจกรรมศรีตรังสะพรั่งบานบนเส้นทาง
วงแหวนพหุวัฒนธรรมนี้ จะทำให้ให้นักศึกษาใหม่ได้ตระหนัก
ในคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่ควรค่า
แก่การศึกษาและการอนุรักษ์  ตลอดจนเห็นคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ นอกเหนือจากการฝากตัวเป็นลูกหลาน
ชาวจังหวัดปัตตานี และการมาศึกษาเล่าเรียนเพื่อออกไปเป็นบัณฑิต
ที่มีคุณภาพของสังคมต่อไป.          
21                    F/I เพลงเขตรั้วสีบลู นาทีที่ 2.28 (“ให้สมนามาว่าลูกสงขลา
นครินทร์ยิ่งใหญ่...”) เปิดจนจบ แล้ว F/U          


โดย : * [ วันที่ ]