: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ฉบับที่ 00 ประจำเดือน 01 2561
หัวข้อข่าว : ม.อ.ปัตตานี มอบรางวัล“ศิลปินแห่งสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา” ประจำปี 2560 เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ม.อ.
รายละเอียด :
     สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี   มอบรางวัลเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม  
“ศิลปินแห่งสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา” ประจำปี 2560 เนื่องในวาระโอกาสครบรอบ 50 ปี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
     ผศ.ดร.พรปวีณ์  พุ่มเกิด ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา    มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า สถาบัน
วัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนาทำหน้าที่บำรุงศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย  เล็งเห็นความสำคัญและคุณค่าของภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างยิ่ง
จึงได้จัดโครงการเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมขึ้น ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 7 ในการคัดเลือกบุคคลทั่วไปผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมจังหวัด
ภาคใต้ เพื่อเชิดชูเกียรติศิลปินด้านวัฒนธรรมสาขาต่าง ๆ อีกทั้งยังเห็นความสำคัญในการปลูกฝังความรักในศิลปะและวัฒนธรรมของนักศึกษา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จึงได้มีการคัดเลือกนักศึกษาเพื่อเชิดชูเกียรติ ซึ่งเป็นที่ 2 สำหรับปี 2560  สถาบันวัฒนธรรมศึกษา
กัลยาณิวัฒนา ได้คัดเลือกผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ประเภทนักศึกษา และประเภทบุคคลทั่วไป  ดังนี้

ประเภทนักศึกษา  ได้แก่  นายดียาอุลเราะห์มาน จะปะกียา  นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชานโยบายสาธารณะ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี
“เป็นชาวจังหวัดยะลา เป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจศึกษาเล่าเรียน สละเวลาในการทำกิจกรรมเพื่อมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง และปัจจุบันเป็นผู้ที่ได้
อุทิศตนทำงานเพื่อสังคมผ่านศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แสดงให้เห็นว่าคุณค่าจริยธรรม วัฒนธรรม ที่สืบสานจนกลายเป็นมรดกของชุมชน
ทำให้เกิดความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและความทันสมัยของคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะด้านศิลปะและวัฒนธรรมพื้นบ้านอนาชีด ด้วยการ
จัดตั้งวงอนาชีด  “สามัคคี”  เผยแพร่ผลงานด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชน ผ่านบทเพลงอนาชีดในงานต่างๆทั้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทุกภูมิภาค
ในประเทศไทยและต่างประเทศ”

ประเภทบุคคลทั่วไป  สาขาดนตรีและนาฏศิลป์ ได้แก่ ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ , สาขาศิลปกรรม ได้แก่ รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี (ไม่สามารถเข้ารับรางวัล) ,
สาขาศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ได้แก่ นายสวน หนุดหละ
“ผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์  สาขาดนตรีและนาฏศิลป์  มีภูมิลำเนาจังหวัดสงขลา ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยทักษิณ  เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในด้านศิลปะการแสดงพื้นบ้านภาคใต้  “โนรา”  ตั้งแต่ปี 2511 ได้ศึกษาเรียนรู้ รับชมการรำโนรา
ของท่านขุนอุปถัมภ์นรากร  กระทั่งได้เรียนรำโนราจาก ผศ.สาโรจน์ นาคะวิโรจน์ ซึ่งเป็นครูผู้ฝึกสอนคนแรกจนกกระทั่งเกิดความชำนาญได้เผยแพร่
สืบทอดไปยังเยาวชนรุ่นหลังทั้งในระบบและนอกระบบจนสร้างชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ นอกจากนี้ยังได้สร้างรูปแบบใหม่ในการแสดง  “โนราสร้างสรรค์”
ได้แก่ โนราร่วมสมัย เรื่อง  “ครู”  “บิน”  “สังข์ทอง ตอนรจนาเลือกคู่”  โนราซัดท่า  “ร่วมสมัย”  “ตามภาษาดนตรี”  โนราชุด  “วัฒนธรรมท้องถิ่นส่งเสริม
เศรษฐกิจสร้างสรรค์”   “ใต้ร่มพระบารมีจักรีวงศ์”  “เทิดพระเกียรติ”  โนราบูชาหลวงปู่ทวด”  เป็นต้น  และได้รับรางวัลมากมาย  อาทิ บุคคลดีเด่นด้าน
วัฒนธรรมสื่อพื้นบ้านเพื่อเยาวชน  รางวัลศิลปินแห่งละครเวที ภัทราวดีเธียร์เตอร์  รางวัลพระสิทธิธาดาทองคำ  รางวัลศิลปินโนราของสมาคม
ชาวปักษ์ใต้แห่งนครซิดนีย์  รางวัลอนุรักษ์ท่ารำโนราสวยงามยอดเยี่ยม  รางวัลราชมงคลสรรเสริญ ผู้มีผลงานดีเด่นด้านศิลปะและวัฒนธรรม  
รางวัลงานสร้างสรรค์ดีเด่น ระดับดีเด่น  รางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานประเภทวงโนรา  นอกจากนี้ยังเป็นผู้มีจิตสาธารณะ มีความมุ่งมั่นในการสืบสาน
ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเผยแพร่ความรู้ทางด้านโนรา และเห็นความสำคัญในคุณค่าของวัฒนธรรมพื้นบ้าน
อย่างต่อเนื่องในการเชื่อมโยงวัฒนธรรมให้สอดคล้องในการดำรงชีวิตต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม”

“สาขาศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน ได้แก่ นายสวน หนุดหละ ภูมิลำเนาจังหวัดพัทลุง เป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน การแทงหยวก
และตอกกระดาษ  มีความสนใจรียนรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านมาตั้งแต่วันเด็ก ได้เรียนรู้การแทงหยวกและตอกกระดาจากพระในวัดและศึกษาเรียนรู้ด้วย
ตนเองจนกระทั่งเกิดความเชี่ยวชาญ  ตลอดระยะเวลาการเป็นนายช่าง 37 ปี มีผลงานด้านการแทงหยวกและตอกกระดา  แต่ละครั้งในการทำงาน
จะอาศัยวิถีการดำรงชีพ ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อในการจัดทำและแกะลายการแทงหยวก  โดยได้เข้าร่วมสร้างเมรุลอยแทงหยวกทั้งหลัง  
และบางส่วนตามวัดต่างๆ การสร้างเบญจา อาบน้ำ การทำเรือพระแทงหยวกทั้งลำ และแทงหยวกในงานพระราชทานเพลิงศพ   ซึ่งผลงานต่าง ๆ
ดังกล่าวเป็นที่ยอมรับได้รับรางวัลโล่เกียรติยศและเข็มที่ระลึกพระราชทาน  ได้แก่  โล่รางวัล  “วัฒนคุณากร กระทรวงวัฒนธรรม”  “ครูศิลป์ของแผ่นดิน
จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ”  “ผู้ทำคุณประโยชน์ด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม”  “ศิลปินดีเด่นจังหวัดสงขลา สาขาช่างฝีมือ”  
“ศิลปินดีเด่นภาคใต้”  “เข็มที่ระลึกพระราชทาน ในโอกาสเข้าร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  และสมเด็จพระเจ้าภคนีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี  และรางวัลผู้ทรงภูมิปัญญา  “ครูภูมิปัญญาไทย”  
เป็นต้น จนเป็นที่ยอมรับทั้งระดับภูมิภาคและระดับประดับประเทศ”

“สาขาศิลปกรรม ได้แก่ รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี  มีภูมิลำเนาจังหวัดสงขลา เป็นผู้มีความรู้ความสามารถด้านสถาปัตยกรรมไทย ได้ออกแบบอาคารต่าง ๆ
มากมายทั้งหอพระ  อุโบสถ พิพิธภัณฑ์ พระมหาเจดีย์ ศาลาไทย ศาลาการเปรียญ หอฉัน ศาลพระพรหม เป็นต้น  จนเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ  
ทำให้ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากหลายหน่วยงาน  ได้แก่ คนดีศรีมหาวชิราวุธ ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  ปริญญาสถาปัตยกรรม
ศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สถาปนิกดีเด่น บุคคลตัวอย่างด้านการอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมไทย  สถาปนิกผู้มีผลงานดีเด่นด้านการสร้างสรรค์
ผลงานสถาปัตยกรรมไทย  ประเภทกิจกรรมและโครงการดีเด่น  สถาปนิกผู้มีผลงานดีเด่น ด้านการอนุรักษ์ สร้างสรรค์ และสืบทอดผลงานสถาปัตยกรรม
ไทย  การยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์  (สถาปัตยกรรม) บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาพัฒนาสังคม  (สถาปัตยกรรมไทย)  
ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ดม.ศ.) รางวัลนิคเคอิเอเชีย ไพรซ์ สาขาศิลปวัฒนธรรม  ได้รับเชิดชูเกียรติเป็นศาสตราภิชาน ประจำ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอื่น ๆ อีกมากมาย”

                                                 
                                               **********************************
โดย : * [ วันที่ ]