รายละเอียด :
|
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับมูลนิธิเกาหลี เชิญเอกอัครราชทูตเกาหลีประจำ
ประเทศไทย และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกาหลีศึกษา ระหว่างวันที่ 2729 มิถุนายน 2561
ณ โรงแรมแมนดาริน เมนเนจ บายเซ็นเตอร์ พ้อยท์ กรุงเทพฯ ให้แก่นักวิชาการ ผู้สอนภาษาเกาหลีระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมเปิดประเด็น
นำเกาหลีศึกษาเข้าสู่ระดับอาชีวศึกษารองรับแรงงานสายอาชีพตามยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0
รองศาสตราจารย์ ดร.ปริศวร์ ยิ้นเสน คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับมูลนิธิเกาหลี เชิญเอกอัครราชทูตเกาหลีประจำประเทศไทย
และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเวทีสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกาหลีศึกษา ระหว่างวันที่ 2729 มิถุนายน 2561 ณ โรงแรมแมนดาริน
เมนเนจ บายเซ็นเตอร์ พ้อยท์ กรุงเทพฯ เพื่อระดมความคิดเห็นระหว่างผู้เชี่ยวชาญชาวไทยกับชาวเกาหลีในด้านประวัติศาสตร์ สังคม และเศรษฐกิจ
ตลอดจนร่วมกันหาแนวทางในการพัฒนาการศึกษาภาษาเกาหลีในประเทศไทยทั้งระดับมัธยมศึกษาและระดับอาชีวศึกษา โดยมี ฯพณฯ โน กวังอิล
เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย กล่าวต้อนรับ นายกษิต ภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวปราศรัย
สาระสำคัญของการสัมมนาประกอบด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มผู้บริหาร เรื่อง การอภิปรายสถานการณ์ปัจจุบันและหาแนวทางการพัฒนา
การเรียนการสอนภาษาเกาหลีและเกาหลีศึกษา และการประชุมเชิงปฏิบัติการกลุ่มครูโรงเรียนมัธยมและสถาบันอาชีวศึกษา เรื่อง แนวทางในการพัฒนา
การเรียนการสอนภาษาเกาหลีและเกาหลีศึกษา โดยมีหัวข้อการบรรยายทางวิชาการที่น่าสนใจเข่น ลักษณะเฉพาะและการเปลี่ยนแปลงในสังคมเกาหลี
ความสัมพันธ์ทางการทูตของสาธารณรัฐเกาหลีกับประเทศไทย ภาษาเกาหลีกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน อนาคตการเรียนการสอนภาษาเกาหลีและ
นโยบายการเรียนการสอน ภาษาต่างประเทศในสถาบันอาชีวศึกษา ความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนภาษาเกาหลีสำหรับแรงงานไทยใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การเรียนการสอนภาษาเกาหลีในสถาบันอาชีวศึกษา อนาคตการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างไทยเกาหลี เป็นต้น
รองศาสตราจารย์ ดร.ปริศวร์ ยิ้นเสน กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาเกาหลีในประเทศไทย ได้รับความร่วมมือจากกระทรวง
ศึกษาธิการ สถาบันการศึกษา รัฐบาลเกาหลี ส่งผลให้โรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย จัดการเรียนการสอนภาษาเกาหลี ปัจจุบันมีโรงเรียน
มัธยมที่เปิดสอนวิชาภาษาเกาหลี จำนวน 80 แห่ง ทั่วประเทศ และมีจำนวนนักเรียนประมาณ 25,000 คน และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ ได้มี
การสร้างความร่วมมืออย่างจริงจังในการดำเนินกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนภาษาเกาหลีในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการพัฒนาปรับปรุงตำราเรียนและ
การอบรมครูผู้สอน
ผลจากการจัดสัมมนาเกาหลีศึกษา เมื่อปี 2560 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้นำเสนอมาตรการเพื่อพัฒนาการศึกษา
ภาษาเกาหลีในโรงเรียนมัธยมศึกษาคือ การจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมด้วยการจัดพื้นที่ภาษาเกาหลี การสนับสนุนของผู้ปกครองใน
การศึกษาภาษาเกาหลี เพิ่มสัดส่วนครูผู้สอนภาษาเกาหลีชาวไทยให้มากขึ้น ขยายช่องทางระบบทุนการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาในการเตรียมสอบ
วัดระดับภาษาเกาหลี พัฒนาคู่มือการเรียนการสอน สนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับการสอบวัดระดับภาษาเกาหลีเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ขยายการฝึก
อบรมภาษาเกาหลีระยะสั้นในสาธารณรัฐเกาหลี และนับเป็นก้าวแรกที่เห็นความสำคัญการจัดระบบการศึกษาเกาหลีศึกษา เพื่อรองรับนโยบาย
ไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล ทำให้รัฐบาลเกาหลีจัดส่งครูผู้สอนภาษาเกาหลีให้แก่วิทยาลัยอาชีวศึกษาที่เปิดสอนวิชาภาษาเกาหลี จำนวน 5 แห่ง
ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ เช่น จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดปทุมธานี เป็นต้น
ในการนี้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ดำเนินการเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาการศึกษาภาษาเกาหลีในวิทยาลัย
อาชีวศึกษา ได้แก่ จัดทำนโยบายการศึกษาภาษาเกาหลี จัดเตรียมหลักสูตรการศึกษา สนับสนุนและจัดทำแนวทางฝึกอบรมครูผู้สอน แผนกิจกรรม
การศึกษา จัดทำตำราเรียนภาษาเกาหลี และจัดทำรูปแบบและวิธีการประเมินผลภาษาเกาหลี สำหรับผลการสัมมนาในครั้งนี้คาดหวังว่าผู้ร่วมสัมมนา
มีความเข้าใจด้านเกาหลีศึกษาที่เป็นปัจจุบัน รวมทั้งแนวทางการจัดการเรียนการสอนในระดับอาชีวศึกษาต่อไป
******************************
|