คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดสัมมนาผู้นำศาสนาเพื่อการพัฒนาสังคมชายแดนใต้
เพื่อประมวลองค์ความรู้ในการพัฒนาสังคมพหุวัฒนธรรม ในวันที่ ๒ เมษายน
๒๕๕๙ ณ อาคารเรียนรวม (อาคาร ๕๘) มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิด ๑๐ ประเด็น การนำเสนอเวทีวิชาการ ได้แก่ การสื่อสารและการสร้างสันติภาพ การจัดการระบบสุขภาพ
ระบบเศรษฐกิจ การปฏิรูปความมั่นคงกับสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การศึกษาตลอดชีวิต
การจัดการทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดการความสัมพันธ์ทางศาสนาและความเชื่อกระบวนการยุติธรรม พลังเครือข่ายเยาวชนสู่
การพัฒนาชุมชนบนฐานความรู้และวิจัย
ดร.วันพิชิต ศรีสุข ประธานโครงการพัฒนาผู้นำศาสนาเพื่อการพัฒนาสังคมชายแดนใต้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะต้องอาศัยปัจจัยหลายด้าน โดยเฉพาะการทำ
ความเข้าใจบริบทของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ วิถีการดำเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม และต้องอาศัยคนในพื้นที่
มีส่วนร่วมในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จึงทำให้การดำเนินงานต่าง ๆ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของ
ประชาชนในพื้นที่ จากสภาพอัตลักษณ์พิเศษดังกล่าว การศึกษามิติเชิงสังคมพหุวัฒนธรรมของจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะทำให้
เห็นสภาพความเป็นจริงและสภาพปัญหา แนวโน้มในอนาคตในแง่ของสังคมและวัฒนธรรมในพื้นที่ว่า ควรที่ต้องมีการกำหนด
นโยบายเป็นไปในทิศทางใด เพื่อเป็นประโยชน์และสร้างความเข้าใจต่อสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับภาคีเครือข่าย สถานวิจัยพหุวัฒนธรรมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สถานวิจัย
ความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา วิทยาลัยอิสลามศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์
และคณะวิทยาการสื่อสาร เครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคใต้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สถาบันรามจิตติ วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี
วิทยาลัยชุมชนจังหวัดปัตตานี จึงกำหนดจัดสัมมนาทางวิชาการเพื่อประมวลองค์ความรู้การพัฒนาสังคมชายแดนใต้ ในโครงการพัฒนา
ผู้นำศาสนาเพื่อการพัฒนาสังคมชายแดนใต้ ในวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๙ ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ ๑๖.๓๐ น. ณ อาคารเรียนรวม
(อาคาร ๕๘) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ให้แก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักศึกษาระดับปริญญาตรี นักวิชาการ
ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา เจ้าหน้าที่ภาครัฐ และผู้สนใจ รวม ๕๐๐ คน
การสัมมนาทางวิชาการในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อประมวลองค์ความรู้การพัฒนาสังคมชายแดนใต้และเปิดพื้นที่ให้มีการนำเสนอและ
แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านบริหารพัฒนาสังคมพหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประกอบด้วย ๑๐ ประเด็น ได้แก่ การสื่อสาร
และการสร้างสันติภาพ การจัดการระบบสุขภาพ ระบบเศรษฐกิจ การปฏิรูปความมั่นคงกับสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี การจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การศึกษาตลอดชีวิต การจัดการทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดการความสัมพันธ์
ทางศาสนาและความเชื่อกระบวนการยุติธรรม พลังเครือข่ายเยาวชนสู่การพัฒนาชุมชนบนฐานความรู้และวิจัย โดยได้รับเกียรติจาก
เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา
***********************************
|