ผศ.ดร.อับดุลเลาะ หนุ่มสุข จากวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แถลงเรื่อง
ดุลยธรรมในจริยธรรม: เปรียบเทียบระหว่างอิสลามกับพุทธศาสนาในการสัมมนา ค่านิยมอิสลามในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีนักวิชาการจากทุกทวีป 25 ประเทศ กว่า 500 คน เข้าร่วมสัมมนา ความว่า การอยู่ร่วมกันระหว่างชนในชาติที่มีความแตกต่างกันของวัฒนธรรม ในศาสนาพุทธพูดเรื่องทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา และในอิสลามก็พูดเรื่องทางสายกลาง โดยเฉพาะดุลยภาพ วันนี้ผมต้องการให้ที่ประชุมที่มีผู้เข้าร่วมประชุมที่มาจากต่างประเทศทั้งแอฟริกา ซึ่งหางไกลจากเรื่องราวที่เขาควรรู้จากศาสนาพุทธ และชาวอาหรับ
ได้รับทราบในเรื่องดุลยภาพของศาสนาพุทธ ที่พระพุทธเจ้าสอนทั้งเรื่องมรรค8 อริยสัจ4 สอนให้คนมุ่งไปสู่สันติภาพโดยเฉพาะสันติภาพในจิตใจ ทั้งเรื่องอัตตา และอนัตตา อันจะนำไปสู่การอยู่กันอย่างสันติภาพ
หันมาดูในอิสลามก็มีคำสอนเรื่องทางสายกลางซึ่งพระผู้เป็นเจ้าต้องการให้ประชาชาติมุสลิมเป็นประชาชาติที่เอยู่ตรงกลางหรือแนวทางสายกลาง คำสอนใดที่พูดถึงความสุดโต่งเป็นอันตรายมาก ต้องป้องกัน
ต้องต่อต่าน หรือกำจัดแนวคิดวิธีปฏิบัติที่รุนแรงไม่ว่าที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือในโลกมุสลิม
การนำเสนอแนวคิดทางสายกลางของทุกศาสนาจึงเป็นความจำเป็นยิ่ง ผมต้องการให้พี่น้องมุสลิมได้รับทราบคำสอนของศาสนาพุทธ ที่เน้นความสงบสุข ความร่มเย็น ซึ่งเอื้อต่อการที่จะอยู่ร่วมกัน นับเป็นความโปรดปรานของพระผู้เป็นเจ้าที่ให้มุสลิมไทยได้มีโอกาสอยูกับพี่น้องชาวพุทธ ที่มีคำสอนที่เป็นแนวทางสายกลางที่สอดคล้องกับอิสลาม ในเรื่องของสันติภาพในจิตใจ ส่วนอิสลามสอนเรื่องแนวทางสายกลางเยอะไม่ว่าจะเป็นการค้าขาย การดำเนินชีวิต การสังคม การพาณิชย์ การบ้านการเมืองการปกครอง เพราะอิสลามเป็นวิถีชีวิตหรือดุลยภาพ แนวทางสายกลางของอิสลามจึงไม่ได้มีแค่เครื่องขัดเกลาจิตใจเท่านั้นแต่ลงไปถึงวิถีชีวิต.
|