วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเวทีนักวิชาการอิสลามทั่วโลก 30 ประเทศ ร่วมสัมมนาในวันที่ 23-25 มีนาคม 2558 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เพื่อชี้นำให้สังคมมีความสามัคคี ส่งเสริมค่านิยมทางศีลธรรมเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติและความสงบสุขอย่างยั่งยืนในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยมี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนา การนำเสนอบทความจากนักวิชาการอิสลามศึกษาที่มีชื่อเสียงอาทิ
Sheikh Abdel Kareem El-Khasawneh มุฟตีสูงสุด ประเทศจอร์แดน Sheikh Omar Ubeid Hasanah อธิบดีกรมการวิจัยและอิสลามศึกษา กระทรวงศาสนสมบัติและกิจการอิสลาม ประเทศกาตาร์ Prof. Dr. Soleh bin Husain Al-Aayed ประธานกรรมการองค์การฮาลาลระหว่างประเทศ องค์การสันนิบาตชาติมุสลิม Prof. Dato Dr. Sano Koutoub Moustapha รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ประเทศกินี Prof.Dr.Mohd. Kamal Hassan ผู้อำนวยการสถาบันแนวคิดและอารยธรรมอิสลามระหว่างประเทศ ประเทศมาเลเซีย
รศ.ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสุกล อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดเผยถึงความเป็นมาของการสัมมนานานาชาติอิสลามศึกษาว่า ตามที่วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดสัมมนานานาชาติอิสลามศึกษา ค่านิยมของอิสลามในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง ในวันที่ 23-25 มีนาคม 2558 นั้น เพื่อชี้นำให้สังคมมีความสามัคคี ความสงบสุขอย่างยั่งยืนในสังคมพหุวัฒนธรรม และได้รับรู้แนวคิดจากปราชญ์ด้านอิสลามศึกษา จาก 30 ประเทศ มาเป็นแนวทางในการพัฒนาอิสลามศึกษาในประเทศไทย ดังนั้นการสัมมนาครั้งนี้นับเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่จะแสวงหาและกระชับความสัมพันธ์กับพันธมิตรทางวิชาการ เพื่อพัฒนาอิสลามในประเทศไทยให้ยั่งยืนต่อไป รวมถึงการสร้างเครือข่ายทางการศึกษาที่จะเป็นการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาไม่ว่าจะเป็นการโอนย้ายหน่วยกิต
ระหว่างมหาวิทยาลัยเครือข่าย การเปิดหลักสูตรร่วมกับมหาวิทยาลัยพันธมิตร ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในอาเซียน หรือ Asean Education Hub ตลอดจนช่วยเสริมสร้างบรรยากาศทางวิชาการ และสร้างสังคมสันติสุขและสมานฉันท์ที่ยั่งยืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ศ.ดร.กนก วงษ์ตระหง่าน ที่ปรึกษาผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามศึกษา และคณะกรรมการอำนวยการจัดการสัมมนานานาชาติฯ ครั้งที่ 3 กล่าวว่า การสัมมนานานาชาติอิสลามศึกษา นับเป็นเวทีระดับสุดยอดของประเทศที่จัดขึ้นในภูมิภาค ทั้งนี้จากความสำคัญของตัวผู้เข้าร่วมสัมมนาที่เป็นนักวิชาการ นักการศาสนา รัฐมนตรี และจุฬาราชมนตรี จากประเทศต่างๆ จากทุกทวีป รวม 30 ประเทศ แล้ว ผลงาน
วิชาการที่ได้รับการนำเสนอ จะเป็นการชี้นำสังคมให้เข้าใจอิสลามอย่างถูกต้อง ไม่บิดเบือน ส่งผลให้เกิดความเข้าใจ สร้างความสมานฉันท์ในสังคมพหุวัฒนธรรมในทุกสังคมทั่วโลก นอกจากนี้ผลของการสัมมนายังเป็นการการยกมาตรฐานด้านอิสลามศึกษาของประเทศต่างๆ และส่งเสริมให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืนในจังหวัดชายแดนใต้และสังคมโลก และช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยสามารถก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมเกียรติ การสัมมนาครั้งนี้ได้ให้ความสำคัญกับการอภิปรายในหัวข้อที่เกี่ยวกับแนวคิดค่านิยมของอิสลาม และร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ที่หลากหลายระหว่างชุมชนต่างศาสนิกในการปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง ซึ่งคาดหวังว่าสถาบันการศึกษาต่างๆ และนักวิชาการทั้งหลายจะร่วมดำเนินการและสร้างกลไกสำคัญที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณค่าดังกล่าว
ผศ.สมปอง ทองผ่อง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวถึงผลการสัมมนาที่ผ่านมาว่า การสัมมนาในครั้งนี้เป็นโครงการต่อเนื่องจากการสัมมนานานาชาติทั้งสองครั้งที่ผ่านมา กล่าวคือการสัมมนาครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21-23 ธันวาคม 2553 ในหัวข้อ "บทบาทอิสลามศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์ มีนักวิชาการอิสลามศึกษาจาก 16 ประเทศได้ร่วมกันกำหนด ปฏิญญาปัตตานี ที่มีสาระสำคัญ กล่าวคือ ประการที่ 1. อิสลามศึกษาจะนำไปสู่สันติสุข และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่เฉพาะระหว่างชาวมุสลิมเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงมวลมนุษยชาติ ประการที่ 2 อิสลามศึกษา จะมีการ
บูรณาการระหว่างศาสตร์ด้านศาสนาและศาสตร์ทั่วไปเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์สุขของชุมชน และอนาคตของเยาวชนในรุ่นต่อๆ ไป ประการที่ 3 อิสลามศึกษาจะส่งเสริมและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่การเติบโตและการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งรวมถึงความมั่นคงและความยุติธรรมทางสังคมด้วย ประการที่ 4 อิสลามศึกษาจะส่งเสริมความเป็นนานาชาติของมุสลิม ซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างพลเมืองของโลก ประการที่ 5 อิสลามศึกษาจะส่งเสริมในเรื่องโอกาสในการพูดคุยระหว่างสมาชิกประชาคมมุสลิม และเสริมสร้างคุณค่าของมนุษย์ให้ตระหนักถึงสันติภาพ และป้องกันแนวคิดที่บิดเบือนหลักศาสนาอิสลาม
สำหรับครั้งที่ 2 ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14-16 มกราคม 2556 มีปราชญ์มุสลิมและนักวิชาการอิสลามศึกษาจาก 30 ประเทศ ร่วมระดมแนวคิด ในหัวข้ออิสลามศึกษาในโลกที่เปลี่ยนแปลง : โอกาสและสิ่งท้าทาย ผลจากการสัมมนาครั้งนั้นได้ยกระดับการจัดการศึกษาของวิทยาลัยอิสลามศึกษา ให้ก้าวสู่นานาชาติ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่จะให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาอาเซียน หรือ Asean Education Hub ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนมุสลิมและสร้างสังคมสันติสุขที่ยั่งยืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ ยืนยันความเป็นมุสลิมสายกลางของ ประเทศไทยต่อสายตาชาวโลก การเป็นมุสลิมในมิติเสรีภาพทางวิชาการและการนับถือศาสนา เกิดเครือข่ายอิสลามศึกษาและมีการแลกเปลี่ยนคณาจารย์และนักศึกษาทางด้านวิชาการ การวิจัย การประชุมในกลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มประเทศอาหรับ และกลุ่มประเทศมุสลิมอื่นๆ และการสัมมนาครั้งที่ 3 ในหัวข้อ " ค่านิยมของอิสลามในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง " Islamic Values in a Changing World ในวันที่ 23-25 มีนาคม 2558 มีการนำเสนอความสำคัญของค่านิยมอิสลามและวิธีการประยุกต์ใช้แนวคิดสู่การสร้างสันติภาพและความสมานฉันท์ในสังคม
ดร.ยูโซะ ตาเละ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวถึงความคืบหน้าของการสัมมนา ว่า ขณะนี้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีหนังสือเชิญนักวิชาการทางด้านอิสลามศึกษา รวม 30 ประเทศ กว่า 400 คนและมีประเทศต่างๆ ตอบรับเข้าร่วมการสัมมนาแล้ว 24 ประเทศทั่วโลก โดยมี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด
การสัมมนา มีการแสดงปาฐกถาพิเศษ นำเสนอบทความจากนักวิชาการทางอิสลามศึกษาที่มีชื่อเสียงอาทิ Sheikh Abdel Kareem El-Khasawneh มุฟตีสูงสุด ประเทศจอร์แดน Sheikh Omar Ubeid Hasanah อธิบดีกรมการวิจัยและอิสลามศึกษา กระทรวงศาสนสมบัติและกิจการอิสลาม ประเทศกาตาร์ Prof. Dr. Soleh bin Husain Al-Aayed ประธานกรรมการองค์การฮาลาลระหว่างประเทศ องค์การสันนิบาตชาติมุสลิม Prof. Dato Dr. Sano Koutoub Moustapha รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ประเทศกินี Prof.Dr.Mohd. Kamal Hassan ผู้อำนวยการสถาบันแนวคิดและอารยธรรมอิสลามระหว่างประเทศ ประเทศมาเลเซีย และในวันที่ 25 มีนาคม 2558 ได้รับเกียรติจาก ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีปิดการสัมมนา.
การสร้างความเข้มแข็งในหลักสูตรอิสลามศึกษานานาชาติ ให้มีความเท่าเทียม ในระดับเดียวกับนานาชาติ นั้น จำเป็นจะต้องแสวงหาพันธมิตรทางวิชาการจากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ที่จัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษา และในขณะเดียวกันหลักสูตรอิสลามศึกษาจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนมุสลิมและสร้างสังคมสันติสุขและสมานฉันท์ที่ยั่งยืน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ในอนาคต ประกอบกับการสัมมนาครั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้เปิดโอกาสให้ผู้นำศาสนา และครูจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ในประเทศไทยได้เข้าร่วมรับฟังการสัมมนาด้วย เพื่อที่จะได้นำความรู้ ไปถ่ายทอดให้เยาวชน ได้รับทราบถึงความร่วมมือและแนวคิด ดร.ยูโซะ ตาเละ ผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวเพิ่มเติม
(ชมภาพได้ที่เว็บไซต์ http://pr.pn.psu.ac.th/picturebank/service/IISC-PSU/album/index.html)
************************************************
|