รายละเอียด :
|
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยองค์การบริหารองค์การนักศึกษา จัดให้มีการเลือกตั้งออนไลน์ คณะกรรมการองค์การบริหารองค์การนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2557 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2557 ณ อาคารปฏิบัติการสารสนเทศ ศูนย์คอมพิวเตอร์ การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการคัดเลือกคณะกรรมการองค์การบริหารองค์การนักศึกษา สภานักศึกษา และสโมสรนักศึกษา เพื่อเป็นตัวแทนของนักศึกษาทำหน้าที่ในการดำเนินงานด้านกิจกรรมนักศึกษา ในปีการศึกษา 2557 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาตระหนักถึงการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยในระดับอุดมศึกษา ซึ่งการเลือกตั้งในครั้ง มีนักศึกษาลงทะเบียนเลือกตั้งทั้งหมด 4,820 คน ใช้สิทธิ์ 4,800 คน ไม่ใช้สิทธิ์ 20 คน แยกตามคณะ ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีผู้ใช้สิทธิ์ 1,467 คน
คณะศึกษาศาสตร์ มีผู้ใช้สิทธิ์ 1,446 คน วิทยาลัยอิสลามศึกษา มีผู้ใช้สิทธิ์ 703 คน คณะรัฐศาสตร์ มีผู้ใช้สิทธิ์ 398 คน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผู้ใช้สิทธิ์ 380 คน คณะวิทยาการสื่อสาร มีผู้ใช้สิทธิ์ 296 คน คณะศิลปกรรมศาสตร์ มีผู้ใช้สิทธิ์ 79 คน คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาเขตปัตตานี มีผู้ใช้สิทธิ์ 31 คน
สำหรับผลการเลือกตั้งคณะกรรมการองค์การบริหารองค์การนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2557 มีดังนี้
ผลการเลือกตั้งองค์การนักศึกษา ได้แก่ เบอร์ 1 พรรค กิจประชา คะแนน 3,091 คิดเป็น 64.33 % เบอร์ 2 พรรค ม.อ.เพื่อสังคม คะแนน 1,455 คิดเป็น 30.28 % ไม่ประสงค์ลงคะแนน 203 คน คิดเป็น 4.22 % บัตรเสีย 56 บัตร คิดเป็น 1.17 %
ผลการเลือกตั้งสภานักศึกษา แบบทั่วไป จำนวนผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 236 คน คิดเป็น 4.91 % บัตรเสีย 245 บัตร คิดเป็น 5.10 % มีผลการเลือกตั้ง ได้แก่ นายซูไลมัน มามะ วิทยาลัยอิสลาม พรรคศรีตรัง คะแนน 2,498 คะแนน คิดเป็น 52.04 % นายตัรมีซี มูซอดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พรรคศรีตรัง คะแนน 2,324 คะแนน คิดเป็น 48.42 % นายแวอิบรอเฮง หะยีสอเฮาะ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พรรคศรีตรัง คะแนน 2,322 คะแนน คิดเป็น 48.38 % นายบูคอรี สอระมัน วิทยาลัยอิสลามศึกษา พรรคศรีตรัง คะแนน 2,058 คะแนน คิดเป็น 42.88 % นายอุสมาน ดือราแมหะยี วิทยาลัยอิสลามศึกษา พรรคศรีตรัง คะแนน 2,055 คะแนน คิดเป็น 42.81 นายอัสรี หะสีแม คณะรัฐศาสตร์ พรรคศรีตรัง คะแนน 1,968 คิดเป็น 41.00 นายสาการียา บินสาเเม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พรรคศรีตรัง คะแนน 1,961 คะแนน คิดเป็น 40.85 % นายอุสมาน ลาเต๊ะ วิทยาลัยอิสลามศึกษา พรรคศรีตรัง คะแนน 1,903 คิดเป็น 39.65 % นายอับดุลฮากิม เจะสือแม คณะวิทยาการสื่อสาร พรรคศรีตรัง คะแนน 1,880 คะแนน คิดเป็น 39.17 % นายเเวอิบรอเฮม เเวบือราเฮง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พรรค ม.อ.เพื่อสังคม คะแนน 1,851 คะแนน คิดเป็น 38.56 %
นายมะซอเร สาและ คณะวิทยาการสื่อสาร พรรคศรีตรัง คะแนน 1,796 คะแนน คิดเป็น 37.42 %
นางสาวอัสวานี บาโด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พรรคศรีตรัง คะแนน 1,773 คะแนน คิดเป็น 36.94 % นายอัสรี จะมะจี คณะรัฐศาสตร์ พรรค ม.อ.เพื่อสังคม คะแนน 1,760 คะแนน คิดเป็น 36.67 % นางสาวอัสมะ มูซอ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พรรคศรีตรัง คะแนน 1,748 คะแนน คิดเป็น 36.42 % นางสาวฮัสลินดะห์ สะแวบาโง คณะรัฐศาสตร์ พรรคศรีตรัง คะแนน 1,676 คะแนน คิดเป็น 34.92 % นายวุฒิพงศ์ บอซู คณะรัฐศาสตร์ พรรค ม.อ.เพื่อสังคม คะแนน 1,660 คะแนน คิดเป็น 34.58 % นายบุคคอรีย์ มะเก็ง คณะวิทยาการสื่อสาร พรรคศรีตรัง คะแนน 1,657 คะแนน คิดเป็น 34.52 นายมะเปาซี มามะ วิทยาลัยอิสลามศึกษา พรรคศรีตรัง คะแนน 1,638 คะแนน คิดเป็น 34.13 %
นางสาวอารีนา สูรูเอ็ง คณะพยาบาลศาสตร์ พรรคศรีตรัง คะแนน 1,638 คะแนน คิดเป็น 34.13 % นางสาวนันทิกานต์ ไบบาว วิทยาลัยอิสลามศึกษา พรรคศรีตรัง คะแนน 1,618 คะแนน คิดเป็น 33.71 %
นางสาวรอฮีหม๊ะ มูดอ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พรรคศรีตรัง คะแนน 1,615 คะแนน คิดเป็น 33.65 % นางสาวนูไรมี เฆดา คณะศึกษาศาสตร์ พรรคศรีตรัง คะแนน 1,539 คะแนน คิดเป็น 32.06 %
นายมุตีย์ มีสา คณะศึกษาศาสตร์ พรรคศรีตรัง คะแนน 1,507 คะแนน คิดเป็น 31.40 % นางสาวแวปาตีเมาะ หะยีสอเฮาะ คณะศึกษาศาสตร์ พรรคศรีตรัง คะแนน 1,505 คะแนน คิดเป็น 31.35 %
นายอิลยาส เจ๊ะฮะ คณะรัฐศาสตร์ พรรค ม.อ.เพื่อสังคม คะแนน 1,454 คะแนน คิดเป็น 30.29 %
ผลการเลือกตั้งสภานักศึกษา แบบสัดส่วนคณะ ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สามารถมีจำนวนสมาชิกในสภา ได้ 7 คน มีนักศึกษาที่ลงทะเบียน 1,467 คน ไม่ประสงค์ลงคะแนน 69 คน คิดเป็น 4.70 % บัตรเสีย 77 บัตร คิดเป็น 5.25 % มีผู้ได้รับคัดเลือก ได้แก่ 1.นายอาบาส หะยีหาม พรรคศรีตรัง คะแนน 814 คะแนน 2.นางสาวอัสมา สะแลแม พรรคศรีตรัง คะแนน 646 คะแนน 3.นายเอ็มอาฟาน ดอเลาะ พรรคศรีตรัง คะแนน 641 คะแนน 4. นายกอเบล สะมาแอ พรรคศรีตรัง คะแนน 633 คะแนน 5.นางสาวอาซีซะ บาเฮะ พรรคศรีตรัง คะแนน 580 คะแนน 6.นางสาวณัฐฐินันท์ ช่วยสกุล พรรคศรีตรัง คะแนน 561 คะแนน 7. นางสาวสุวัยดา แปแนะ พรรคศรีตรัง คะแนน 550 คะแนน
วิทยาลัยอิสลามศึกษา สามารถมีจำนวนสมาชิกในสภา ได้ 3 คน มีนักศึกษาที่ลงทะเบียน 703 คน ไม่ประสงค์ลงคะแนน 30 คน คิดเป็น 4.26 % บัตรเสีย 19 บัตร คิดเป็น 2.70 % มีผู้ได้รับคัดเลือก ได้แก่ 1. นางสาวมาเรียม แยงคุณเชา พรรคศรีตรัง คะแนน 366 คะแนน 2. นายตูแวซูบายดี ยอเงาะ พรรคศรีตรัง คะแนน 359 คะแนน 3. นายทวีศักดิ์ สมบูรณ์ พรรคศรีตรัง คะแนน 275 คะแนน
คณะวิทยาการสื่อสาร สามารถมีจำนวนสมาชิกในสภา ได้ 2 คน มีนักศึกษาที่ลงทะเบียน 296คน ไม่ประสงค์ลงคะแนน 11 คน คิดเป็น 3.72 % บัตรเสีย 18 บัตร คิดเป็น 6.08 % มีผู้ได้รับคัดเลือก ได้แก่ 1. นายต่วนอิสมาแอล ดาตู พรรคศรีตรัง คะแนน 176 คะแนน 2.นายณัฐพงษ์ บินกัดซัน พรรค ม.อ.เพื่อสังคม คะแนน 134 คะแนน
คณะศึกษาศาสตร์ สามารถมีจำนวนสมาชิกในสภา ได้ 7 คน มีนักศึกษาที่ลงทะเบียน 1,446 คน ไม่ประสงค์ลงคะแนน 115 คน คิดเป็น 7.95 % บัตรเสีย 64 บัตร คิดเป็น 4.43 % มีผู้ได้รับคัดเลือก ได้แก่ 1. นายอนัส บาระตายะ พรรคศรีตรัง คะแนน 672 คะแนน 2. นายฟุรกอน มาหามะ พรรค ม.อ.เพื่อสังคม คะแนน 653 คะแนน 3. นางสาวเพลินตา จันทร์ละเอียด พรรคศรีตรัง คะแนน 598 คะแนน 4.นางสาวมาลีวรรณ แก้วเขียว พรรคศรีตรัง คะแนน 563 คะแนน 5.นายอิสมาแอล ปูยัง พรรคศรีตรัง คะแนน 548 คะแนน 6. นางสาวโซเฟีย แวมามะ พรรคศรีตรัง คะแนน 542 คะแนน 7. นางสาวอาภัสรา อาจหาญ พรรคศรีตรัง คะแนน 525 คะแนน
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถมีจำนวนสมาชิกในสภา ได้ 2 คน มีนักศึกษาที่ลงทะเบียน 380 คน ไม่ประสงค์ลงคะแนน 25 คน คิดเป็น 6.58 % บัตรเสีย 17บัตร คิดเป็น 4.47 % มีผู้ได้รับคัดเลือก ได้แก่ 1.นางสาวฟาราร์ และเด็ง พรรคศรีตรัง คะแนน 255 คะแนน 2.นางสาวนัซรียา อูมา พรรคศรีตรัง คะแนน 187 คะแนน
คณะศิลปกรรมศาสตร์ สามารถมีจำนวนสมาชิกในสภา ได้ 1 คน มีนักศึกษาที่ลงทะเบียน 79 คน ไม่ประสงค์ลงคะแนน 4 คน คิดเป็น 5.06 % บัตรเสีย 7 บัตร คิดเป็น 8.86% มีผู้ได้รับคัดเลือก ได้แก่ 1. นายซการียา ดือเระ พรรคศรีตรัง คะแนน 52 คะแนน
คณะรัฐศาสตร์ สามารถมีจำนวนสมาชิกในสภา ได้ 2 คน มีนักศึกษาที่ลงทะเบียน 398 คน ไม่ประสงค์ลงคะแนน 17 คน คิดเป็น 4.27% บัตรเสีย 18 บัตร คิดเป็น 4.52 % มีผู้ได้รับคัดเลือก ได้แก่ 1.นายมูฮำหมัดอามิง หะยีมะลี พรรคศรีตรัง คะแนน 198 คะแนน 2.นายอารีเป็ง หามะ พรรคศรีตรัง คะแนน 187 คะแนน
คณะพยาบาลศาสตร์ สามารถมีจำนวนสมาชิกในสภา ได้ 1 คน มีนักศึกษาที่ลงทะเบียน 31 คน ไม่ประสงค์ลงคะแนน 0 คน คิดเป็น 0 % บัตรเสีย 1 บัตร คิดเป็น 3.13 % มีผู้ได้รับคัดเลือก ได้แก่ 1.นายฟัดลีย์ อาแวกาจิ พรรคศรีตรัง คะแนน 31 คะแนน
ผลการเลือกตั้งสโมสรนักศึกษา
สโมสรนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ ได้แก่ กลุ่มแสดส่องทาง ได้รับการยอมรับ 1,317 เสียง คิดเป็น 91.08 % ไม่ยอมรับ 59 เสียง คิดเป็น 4.08 % ไม่ลงคะแนน 59 เสียง คิดเป็น 4.08 % บัตรเสีย 11 บัตร คิดเป็น 0.76 %
สโมสรนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ กลุ่มม่านฟ้ามนุษยศาสตร์ ได้รับการยอมรับ 1,352 เสียง คิดเป็น 92.10 % ไม่ยอมรับ 60 เสียง คิดเป็น 4.09 % ไม่ลงคะแนน 44 เสียง คิดเป็น 3.00 % บัตรเสีย 12 บัตร คิดเป็น 0.82 %
สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ กลุ่มศรีเลือดนก ได้รับการยอมรับ 365 เสียง คิดเป็น 96.05 % ไม่ยอมรับ 5 เสียง คิดเป็น 1.32 % ไม่ลงคะแนน 8 เสียง คิดเป็น 2.11 % บัตรเสีย 2 บัตร คิดเป็น 0.53 %
สโมสรนักศึกษาคณะศิปกรรม ได้แก่ กลุ่มกิจประชา ได้รับการยอมรับ 70 เสียง คิดเป็น 88.61 % ไม่ยอมรับ 4 เสียง คิดเป็น 5.06 % ไม่ลงคะแนน 5 เสียง คิดเป็น 6.33 % บัตรเสีย 0 บัตร คิดเป็น 0.00 %
สโมสรนักศึกษาคณะวิทยาการสื่อสาร ได้แก่ กลุ่มชมพูพันธ์ทิพย์ ได้รับการยอมรับ 275 เสียง คิดเป็น 92.91 % ไม่ยอมรับ 15 เสียง คิดเป็น 5.07 % ไม่ลงคะแนน 5 เสียง คิดเป็น 1.69 % บัตรเสีย 1 บัตร คิดเป็น 0.34 %
สโมสรนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ได้แก่ กลุ่มสิงห์นครินทร์ ได้รับการยอมรับ 344 เสียง คิดเป็น 86.43 % ไม่ยอมรับ 42 เสียง คิดเป็น 10.55 % ไม่ลงคะแนน 9 เสียง คิดเป็น 2.26 % บัตรเสีย 3 บัตร คิดเป็น 0.75 %
สโมสรนักศึกษาวิทยาลัยอิสลามศึกษา ได้แก่ กลุ่มอิห์ซาน ได้รับการยอมรับ 678 เสียง คิดเป็น 96.17 % ไม่ยอมรับ 16 เสียง คิดเป็น 2.27 % ไม่ลงคะแนน 9 เสียง คิดเป็น 1.28 % บัตรเสีย 2 บัตร คิดเป็น 0.28 %
สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ ได้แก่ กลุ่มดอกปีบตานี ซาน ได้รับการยอมรับ 32 เสียง คิดเป็น 100 % ไม่ยอมรับ 0 เสียง คิดเป็น 0.00 % ไม่ลงคะแนน 0 เสียง คิดเป็น 0.00 % บัตรเสีย 0 บัตร คิดเป็น 0.00 %
ผศ.นิฟาริด ระเด่นอาหมัด รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่า ระบบนี้เริ่มทดลองใช้เมื่อปีที่แล้ว และผลการทดลองประสบความสำเร็จอย่างดี จึงนำมาใช้จริงในการเลือกตั้งปีนี้ ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่ใช้ระบบการเลือกตั้งในรูปแบบออนไลน์ ได้มีการนำเสนอการเลือกตั้งในระบบออนไลน์ไปต่อที่ประชุมของกลุ่มเครือข่ายกิจกรรมนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย เพื่อให้มหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศนำระบบนี้ไปใช้ เนื่องจากเป็นระบบที่สามารถตรวจสอบได้
เห็นด้วยถ้าจะนำระบบนี้ไปใช้ในการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศ เนื่องจากระบบการเลือกตั้งออนไลน์ สามารถตรวจสอบได้และไม่สามารถทุจริตได้ แต่ต้องมีการเตรียมความพร้อมแก่ประชาชนเสียก่อน ผศ.นิฟาริด ระเด่นอาหมัด กล่าวเพิ่มเติม
|