มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดโครงการบริการวิชาการ 1 วิทยาเขต 1 ชุมชน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันของบุคลากร นักศึกษาวิทยาเขตปัตตานี เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์แผนพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อันเป็นการสร้างศักยภาพการบริการวิชาการที่เปิดกว้าง ยกระดับความเข้มแข็งของชุมชน พัฒนาระบบการเผยแพร่วิชาการออกสู่ชุมชนอย่างทั่วถึง โดยเลือกพื้นที่ชุมชนรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นชุมชนต้นแบบ
ตำบลรูสะมิแล เป็นพื้นที่ที่ติดกับวิทยาเขตปัตตานี เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการและเอกชนทุกระดับที่มีความจำเป็นต้องประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดโครงการบริการทางวิชาการและงานวิจัยที่เสริมศักยภาพการพัฒนาที่สอดคล้องและตอบสนองความต้องการของชุมชน อีกทั้งยังเป็นการเสริมความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการพัฒนาตนเองของชุมชน การยกระดับความเข้มแข็งของชุมชน การมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
นับตั้งแต่มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นต้นมา สภาพของสังคมตำบลรูสะมิแลเป็นสังคมชนบท มีประชากรที่นับถือทั้งศาสนาอิสลาม พุทธ คริสต์อยู่รวมกัน มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ป่าไม้และสัตว์ป่า ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพประมงพื้นบ้าน และเป็นพื้นที่ที่นักวิชาการ บุคลากรของสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้อาศัยเป็นพื้นที่แหล่งศึกษา เรียนรู้ การทำวิจัย การทำงานบริการวิชาการ แต่ผลของการศึกษาไม่ได้ส่งผลทำให้ประชากรในตำบลรูสะมิแลมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากนัก ปัจจุบันตำบลรูสะมิแล มีการเปลี่ยนแปลงของชุมชนไปเป็นสังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท มีการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาลตำบลรูสะมิแล กลายเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่อยู่ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุกด้าน ซึ่งมีผลกระทบต่อวิถีชีวิต จากการระดมความคิดเห็นจากผู้นำชุมชน และเอกสารวิจัยเบื่องต้นพบว่าพื้นที่ตำบลรูสะมิแลมีปัญหาในทุกด้าน เช่นปัญหาด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ปัญหาเหล่านี้ประชาชนตำบลรูสะมิแลต้องการการสนับสนุน ช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนเพื่อทำการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
ผศ.สมปอง ทองผ่อง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า วิทยาเขตปัตตานี เล็งเห็นความเปลี่ยนแปลง ปัญหาและความต้องการของชุมชน จึงได้เลือกตำบลรูสะมิแล เป็นพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการบริการวิอชาการ 1 วิทยาเขต 1 ชุมชนเข้มแข็ง เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้บุคลากร นักศึกษามีโอกาสจัดทำโครงการพัฒนาร่วมกับประชาชนในตำบลรูสะมิแลเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาที่สอดคล้องและตอบสนองความต้องการของชุมชน การเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการพัฒนาตนเองของชุมชนและสร้างกระบวนการทัศน์ใหม่ในการพัฒนาบุคลากร หน่วยงาน ทั้งภายนอกและภายในมหาวิทยาลัยกับชุมชน โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้มีโอกาสนำความรู้ ประสบการณ์ ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาแก่ชุมชนรอบพื้นที่มหาวิทยาลัย ในขณะเดียวกันข้อมูลความรู้จากชุมชนจะช่วยให้มหาวิทยาลัยได้มีพัฒนาการเรียนการสอน งานบริการวิชาการ และงานวิจัยชุมชน องค์ความรู้เหล่านั้นจะได้รับการพัฒนาประยุกต์และถูกนำไปใช้ต่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของสังคมในและนอกพื้นที่ต่อไป
โดยมีแนวคิดการทำงานบนพื้นฐานของบริบทชุมชนทางด้านศาสนา วัฒนธรรมและประเพณีตลอดจนทรัพยากรของชุมชนโดยมีกิจกรรมโครงการที่มาจากปัญหาและความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง เน้นการมีส่วนร่วมและการทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน ในรูปแบบการฝึกอบรม การสาธิต การศึกษาดูงาน การจัดเวทีประชุม การรณรงค์เผยแพร่ความรู้ การประกวดแข่งขันผลงาน ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่ม องค์กรหรือกองทุนให้มีการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาของประชาชนในชุมชน กิจกรรมร่วมสมทบทุน
ผศ.สมปอง ทองผ่อง กล่าวถึงการดำเนินโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ว่า วิทยาเขตปัตตานี มีพันกิจที่สำคัญในการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ทักษะ มีคุณธรรมจริยธรรมและจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสาธารณะ ผลิตผลงานศึกษาวิจัยและถ่ายโอนความรู้แก่สาธารณะ ให้บริการวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมหนึ่งในการที่จะทำให้มหาวิทยาลัยและวิทยาเขตสามารถปฏิบัติตามภารกิจได้ครบถ้วนคือ การดำเนินการสร้างกระบวนการเรียนรู้และบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงในชุมชน ให้เป็นชุมชนต้นแบบการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยทางด้านการผลิตบัณฑิต ให้มีการบูรณาการกับการเรียนการสอน คือ การนำความรู้ที่ได้จากการบริการวิชาการมาใช้ในการเรียนการสอน โดยกำหนดกิจกรรมพัฒนาให้มีการศึกษาชุมชน การวิเคราะห์ชุมชน การวางแผน การดาเนินงาน ตลอดจนการติดตามประเมินผลโครงการนี้ ซึ่งจะทำให้บุคลากรของวิทยาเขตปัตตานีมีองค์ความรู้ ประสบการณ์และทักษะการพัฒนาในพื้นที่อย่างเข้มข้น สามารถนำองค์ความรู้ ประสบการณ์ที่ได้มาถ่ายทอดหรือนำมาสอนในชั้นเรียนได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถลงพื้นที่เพื่อศึกษาและร่วมปฏิบัติงานโครงการกับประชาชนในตำบลรูสะมิแลตามรายวิชาหรือตามหลักสูตรซึ่งจะทำให้นักศึกษาได้มีความรู้และประสบการณ์โดยตรงเป็นการเติมเต็มความรู้ หลักการและทฤษฎีที่เล่าเรียนมาจากชั้นเรียนให้สมบูรณ์แบบตามวัตถุประสงค์ของรายวิชาและหลักสูตร
มีการบูรณาการกับการวิจัย เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการบริการวิชาการมาใช้ในการวิจัย มีกิจกรรมการศึกษาชุมชน การวิเคราะห์ชุมชน การวางแผน การดำเนินงานพัฒนาในชุมชนตำบลรูสะมิแล ซึ่งจะทำให้ บุคลากรและนักศึกษาของวิทยาเขตปัตตานี ได้รับรู้และเรียนรู้ศักยภาพ วิถีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ ปัญหา ความต้องการของชุมชนที่สามารถนำไปพัฒนาเป็นหัวข้อวิจัยหรือโจทย์วิจัยในพื้นที่ได้ ก่อให้เกิดโครงการวิจัยในหัวข้อ ประเด็นต่าง ๆ รวมทั้งการวิจัยเพื่อตอบสนองการแก้ไขปัญหาความต้องการของประชาชนในตำบลรูสะมิแลได้ การทำวิจัยร่วมไปกับกิจกรรมการบริการวิชาการของวิทยาเขตปัตตานีครั้งนี้จะทำให้งานวิจัยมาจากปัญหา ความต้องการของคนในพื้นที่อย่างแท้จริง ซึ่งจะส่งผลให้งานวิจัยที่ได้จากโครงการเหล่านี้เป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพเพราะเป็นงานวิจัยที่สามารถใช้ประโยชน์ให้กับชุมชนและสังคมได้จริง
มีการบูรณาการกับการทำนุบารุงศิลปและวัฒนธรรม โดยการจัดให้มีกิจกรรมการศึกษาชุมชน ค้นหาศักยภาพชุมชนด้านต่างๆ การวิเคราะห์ชุมชนทาให้ผู้เข้าร่วมโครงการบุคลากร นักศึกษาวิทยาเขตปัตตานี ภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ รับรู้และเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมและค่านิยมของคนในชุมชนที่มีคุณค่า ทาให้ผู้เกี่ยวข้องในโครงการเห็นคุณค่า ประโยชน์ มองเห็นแนวทางให้การสนับสนุนวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงามเหล่านั้นของชุมชนให้ดารงอยู่ เพื่อใช้เป็นทุนในการขับเคลื่อนการทางานของชุมชนต่อไป และทาให้คณะทางานของวิทยาเขตปัตตานีมีความรู้ ประสบการณ์ และทักษะในการบูรณาการการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการทำนุบารุงศิลปและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับบทบาท ภารกิจของมหาวิทยาลัย
|