มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดโครงการบริการวิชาการ ๑ วิทยาเขต ๑ ชุมชน เพื่อการพัฒนา
ที่ยั่งยืน โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันของบุคลากรและนักศึกษาวิทยาเขตปัตตานี เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์แผนพัฒนา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อันเป็นการสร้างศักยภาพการบริการวิชาการที่เปิดกว้าง ยกระดับความเข้มแข็งของชุมชน
พัฒนาระบบการเผยแพร่วิชาการออกสู่ชุมชนอย่างทั่วถึง โดยเลือกพื้นที่ชุมชนตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
เป็นชุมชนต้นแบบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมปอง ทองผ่อง รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า
วิทยาเขตปัตตานี เล็งเห็นความเปลี่ยนแปลง ปัญหา และความต้องการของชุมชน จึงได้เลือกตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง
จังหวัดปัตตานี เป็นพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการบริการวิชาการ ๑ วิทยาเขต ๑ ชุมชนเข้มแข็ง เพื่อการพัฒนา
ที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ติดกับมหาวิทยาลัย เป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการและเอกชนทุกระดับที่มีความจำเป็นต้องประสาน
ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อให้
บุคลากรและนักศึกษามีโอกาสจัดทำโครงการพัฒนาร่วมกับประชาชนในตำบลรูสะมิแล เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนา
ที่สอดคล้องและตอบสนองความต้องการชองชุมชน การเสริมสร้างความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการพัฒนาตนเอง
ของชุมชนและสร้างกระบวนการทัศน์ใหม่ในการพัฒนา
โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้มีโอกาสนำความรู้ ประสบการณ์ ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยน
เรียนรู้กับชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาแก่ชุมชนรอบพื้นที่มหาวิทยาลัย ในขณะเดียวกันข้อมูลความรู้จากชุมชน จะช่วยให้
มหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาการเรียนการสอน งานบริการวิชาการ และงานวิจัยชุมชน องค์ความรู้เหล่านั้นจะได้รับการ
พัฒนาประยุกต์และถูกนำไปใช้ต่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของสังคมทั้งในและนอกพื้นที่ต่อไป ซึ่งมีแนวคิดการทำงาน
บนพื้นฐานของบริบทชุมชนทางด้านศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี ตลอดจนทรัพยากรของชุมชน โดยมีกิจกรรมโครงการ
ที่มาจากปัญหาและความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง เน้นการมีส่วนร่วมและการทำงานแบบบูรณาการร่วมกัน ในรูปแบบ
การฝึกอบรม การสาธิต การศึกษาดูงาน การจัดเวทีประชุม การรณรงค์เผยแพร่ความรู้ การประกวดแข่งขันผลงาน
ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มองค์กรหรือกองทุนให้มีการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาของประชาชนในชุมชน กิจกรรมร่วมสมทบทุน
รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวถึงการดำเนินโครงการเพื่อให้สอดคล้องกับ
พันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยว่า วิทยาเขตปัตตานี มีพันธกิจที่สำคัญในการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ทักษะ มีคุณธรรม
จริยธรรมและจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสาธารณะ ผลิตผลงานศึกษาวิจัยและถ่ายโอนความรู้แก่สาธารณะ ให้บริการวิชาการ
แก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กิจกรรมหนึ่งในการที่จะทำให้มหาวิทยาลัยและวิทยาเขตสามารถปฏิบัติ
ตามภารกิจได้ครบถ้วนคือ การดำเนินการสร้างกระบวนการเรียนรู้และบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงในชุมชน
ให้เป็นชุมชนต้นแบบการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยด้านการผลิตบัณฑิต ให้มีการบูรณาการกับการเรียนการสอนคือ การนำ
ความรู้ที่ได้จากการบริการวิชาการมาใช้ในการเรียนการสอน โดยกำหนดกิจกรรมพัฒนาให้มีการศึกษาชุมชน การวิเคราะห์
ชุมชน การวางแผน การดำเนินงาน ตลอดจนการติดตามประเมินผลโครงการนี้ ซึ่งจะทำให้บุคลากรของวิทยาเขต
ปัตตานี มีองค์ความรู้ประสบการณ์และทักษะการพัฒนาในพื้นที่อย่างเข้มข้น สามารถนำองค์ความรู้และประสบการณ์
ที่ได้มาถ่ายทอดหรือนำมาสอนในชั้นเรียนได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถลงพื้นที่เพื่อศึกษาและร่วมปฏิบัติงานโครงการ
กับประชาชนในตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ตามรายวิชาหรือตามหลักสูตร ซึ่งจะทำให้นักศึกษาได้มีความรู้
และประสบการณ์โดยตรง เป็นการเติมเต็มความรู้ หลักการและทฤษฎีที่เล่าเรียนมาจากชั้นเรียนให้สมบูรณ์แบบตาม
วัตถุประสงค์ของรายวิชาและหลักสูตร
มีการบูรณาการกับการวิจัย เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการบริการวิชาการมาใช้ในการวิจัย มีกิจกรรมการศึกษาชุมชน
การวิเคราะห์ชุมชน การวางแผน การดำเนินงานพัฒนาในชุมชนตำบลรูสะมิแล ซึ่งจะทำให้บุคลากรและนักศึกษาของ
วิทยาเขตปัตตานี ได้รับรู้และเรียนรู้ศักยภาพ วิถีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ ปัญหาความต้องการของชุมชนที่สามารถ
นำไปพัฒนาเป็นหัวข้อวิจัยหรือโจทย์วิจัยในพื้นที่ได้ ก่อให้เกิดโครงการวิจัยในหัวข้อ ประเด็นต่าง ๆ รวมทั้งการวิจัยเพื่อ
ตอบสนองการแก้ไขปัญหาความต้องการของประชาชนในตำบลรูสะมิแลได้ การทำวิจัยร่วมกับกิจกรรมการบริการวิชาการ
ของวิทยาเขตปัตตานีครั้งนี้ จะทำให้งานวิจัยมาจากปัญหาความต้องการของคนในพื้นที่อย่างแท้จริง ซึ่งจะส่งผลให้งานวิจัย
ที่ได้จากโครงการเหล่านี้ เป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพ เพราะเป็นงานวิจัยที่สามารถใช้ประโยชน์ให้กับชุมชนและสังคมได้จริง
รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวต่อไปว่า มีการบูรณาการกับการทำนุบำรุง
ศิลปวัฒนธรรม โดยการจัดให้มีกิจกรรมการศึกษาชุมชน ค้นหาศักยภาพชุมชนด้านต่าง ๆ การวิเคราะห์ชุมชนทำให้
ผู้เข้าร่วมโครงการ บุคลากร นักศึกษาวิทยาเขตปัตตานี และภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการ รับรู้และเข้าใจใน
ศิลปวัฒนธรรมและค่านิยมของคนในชุมชนที่มีคุณค่า ทำให้ผู้เกี่ยวข้องในโครงการเห็นคุณค่า ประโยชน์ มองเห็น
แนวทางในการสนับสนุนวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงามเหล่านั้นของชุมชนให้ดำรงอยู่ เพื่อใช้เป็นทุนในการขับเคลื่อน
การทำงานของชุมชนต่อไป และทำให้คณะทำงานของวิทยาเขตปัตตานี มีความรู้ ประสบการณ์ และทักษะในการ
บูรณาการการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจของมหาวิทยาลัย
*********************************
|