นักวิชาการคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้รับรางวัลผลงานวิจัย
วัสดุปูสระเก็บกักน้ำจากน้ำยางข้นชนิดครีม ระดับเหรียญทองแดง จากงาน 42 nd International Exhibition of Inventions
of Geneva ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ในฐานะตัวแทน ประเทศไทย
รองศาสตราจารย์อาซีซัน แกสมาน นักวิชาการคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี ผู้รับผิดชอบผลงานวิจัยวัสดุปูสระเก็บกักน้ำจากน้ำยางข้นชนิดครีม ชี้แจงว่า ผลงานวิจัยได้รับรางวัลระดับ
เหรียญทองแดง จากงาน 42 nd International Exhibition of Inventions of Geneva ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
เกิดขึ้นเนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยประสบ ปัญหาด้านแหล่งน้ำ บางฤดูกาลเกิดภาวะน้ำท่วม บางฤดูกาลเกิดภาวการณ์
ขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง ต้องประกาศเขตภัยพิบัติ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการซึมของน้ำลงไปยังใต้ดิน ดินไม่สามารถ
กักเก็บน้ำได้ การลดปัญหาดังกล่าว บางครั้งมีการใช้แผ่นพลาสติกหรือแผ่นยางสังเคราะห์ปูทับลงไปบนพื้นที่สระเก็บน้ำเพื่อ
ป้องกันการซึมของน้ำ แต่แผ่นพลาสติกอาจเกิดการฉีกขาดได้ง่ายและมีอายุการใช้งานสั้นกว่า ทั้งนี้ การเคลือบสระน้ำจาก
น้ำยางธรรมชาติร่วมกับวัสดุเสริม เพื่อป้องกันน้ำซึมลงสู่ผิวดินหรือสำหรับกัก เก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ สามารถใช้เคลือบบ่อ
หรือสระน้ำได้ทุกประเภท เช่น สระกักเก็บน้ำในภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะเขตพื้นที่นอกชลประทานที่ขาดแคลนน้ำทำเกษตร
ในช่วงหน้าแล้ง บ่อเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำ บ่อบำบัดน้ำเสีย บ่อกักเก็บน้ำใช้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม บ่อตกแต่งหรือบ่ออเนกประสงค์
ในหน่วยงานภาครัฐ สถานศึกษา หรือบ้านเรือนทั่วไป
การเคลือบสระน้ำจากน้ายางธรรมชาติร่วมกับวัสดุเสริม มีขั้นตอนดังนี้ คือการเตรียมพื้นที่ เตรียมแผ่นผ้าโดยการเย็บผ้า
ให้ติดกันให้มีขนาดตามพื้นที่ที่ต้องการปูสระด้วยยาง โดยสามารถเย็บแผ่นผ้าในพื้นที่ได้เลย จากนั้นปั้มน้ำยางที่ผสมสารเคมีผ่านท่อ
และอัดด้วยความดันจากปั๊มลมผ่านสายยาง ซึ่งระยะที่สามารถพ่นได้ในรัศมีประมาณ 30 เมตร พ่นให้เป็นละอองลงบนผ้าที่ปูลงไป
น้ำยางจะเกิดการซึม ลงไปในชั้นของผ้า บางส่วนก็จะซึมลงไปยึดกับชั้นดินเคลือบที่ผิวของผ้า เมื่อได้ความหนาที่ต้องการ ปล่อยให้แห้ง
อาจจะพ่นทับลงไปได้อีก ในกรณีที่ต้องการความแข็งแรงมากขึ้น อาจจะเพิ่มชั้นของผ้าใบอีก ในบริเวณคันของสระจำเป็นต้องตอกหมุด
เพื่อให้ยึดแผ่นยางกับพื้นดินไว้ป้องกันการพังทลายของดิน จากนั้นทิ้งไว้ให้เกิดการสุกของยางที่อุณหภูมิห้องไม่น้อยกว่า 3 วัน
ก่อนปล่อยน้ำเข้าไปกักเก็บเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป ทั้งนี้เทคโนโลยีการเคลือบสระน้ำจากน้ำยางธรรมชาติร่วมกับวัสดุเสริม
ได้ผ่านการทดสอบทั้งในด้านประสิทธิภาพ คุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยของน้ำที่กักเก็บในบ่อ
สำหรับองค์ความรู้สำคัญจากงานวิจัย ประกอบด้วยสูตรหรือส่วนผสมของน้ำยางพาราชนิดครีมที่ผสมสารเคมีชนิดต่าง ๆ
ลงไปสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบปูหรือเคลือบสระ และกรรมวิธีการปู/เคลือบสระด้วยวิธีฉีดพ่น ซึ่งเป็นวิธีที่แตกต่างจากการปูสระโดยใช้
ยางแผ่นหรือพลาสติกทั่วไปซึ่งต้องผ่านกรรมวิธีรีดแผ่นภายในโรงงานก่อนและต้องขนย้ายวัสดุปูมีขนาดและน้ำหนักมากไปยังพื้นที่
ส่วนเทคโนโลยีเคลือบสระน้ำโดยใช้วัตถุดิบจากน้ำยางธรรมชาติร่วมกับสารเคมีจำนวนหนึ่งที่ไม่ก่อมลพิษ เป็นการส่งเสริมการใช้
ประโยชน์จากน้ำยางธรรมชาติเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลทางการเกษตร ประกอบกับประเทศไทยเป็นผู้ผลิตยางพารา
รายใหญ่ของโลก การนำยางพารามาประยุกต์ใช้ในการทำยางปูสระจะทำให้มีการใช้ประโยชน์ของยางพาราในประเทศมากขึ้น
ในขณะเดียวกันยังทำให้ลดปัญหาเรื่องยางพาราราคาตกต่ำปัญหายางล้นตลาด เนื่องจากมีการปลูกยางพาราทั่วทุกภาคของ
ประเทศไทย
รายงานข่าวแจ้งว่าผลงานวิจัยวัสดุปูสระเก็บกักน้ำจากน้ำยางข้นชนิดครีม มีผู้ร่วมการวิจัยประกอบด้วย รองศาสตราจารย์
ดร.เจริญ นาคะสรรค์ รองศาสตราจารย์อาซีซัน แกสมาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อดิศัย รุ่งวิชานิวัฒน์ ดร.อโนมา ธิติธรรมวงศ์
และนายสมคิด ศรีสุวรรณ โดยมีผลงานที่ได้ดำเนินการแล้วคือ ที่องค์การสวนยาง (อสย.) อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช สร้างบ่อกักเก็บน้ำ
ใช้สำหรับทำยางแท่ง และบริษัท ยูเอส บ่อทอง อินเตอร์เนชัลแนล จำกัด สร้างบ่อกักเก็บน้ำเสียก่อนทำการบำบัด ซึ่งทั้งสองโครงการ
ได้รับงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) อีกตัวอย่างหนึ่งคือ การสร้างสระเก็บน้ำที่เกาะบุโหลนดอน อ.ละงู
จ.สตูล ซึ่งได้รับงบประมาณจากมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นสระที่มีขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับเก็บน้ำเพื่อการอุปโภค
**************************************
|