: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 6 ฉบับที่ /0 ประจำเดือน 2/ 2556
หัวข้อข่าว : เลาขาธิการ ศอ.บต. เปิดโครงการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ ๓ ที่ ม.อ.ปัตตานี และบรรยายพิเศษ โดยมีนักศึกษาและคณาจารย์ทั้งใน และต่างประเทศ กว่า ๓๐๐ คน ร่วมนำเสนอผลงานวิจัย
รายละเอียด :
                           เมื่อเวลา ๑๐.๓๐ น .วันนี้(๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖)ที่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการ บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ ๓  โดยมีคณะผู้บริหาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณาจารย์ และนักศึกษา จาก สถาบันต่างๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา และ จาก Universiti Sultan Zainal Abidin ประเทศมาเลเซีย ร่วม ๓๐๐ คน นำผลงานวิจัยร่วม ๗๐ ผลงาน มานำเสนอ ทั้งนี้โดยมีรองศาสตราจารย์ อาหวัง ล่านุ้ย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมโครงการ และนายพุทธพล มงคลวรรณ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ประธานกรรมการฝ่ายวิชาการ โครงการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ ๓ กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการ
จัดโครงการครั้งนี้ ว่า เพื่อสร้างบรรยากาศทางวิชาการและเป็นเวทีให้แก่นักศึกษา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในประเทศไทย และมาเลเซีย เพื่อให้มีโอกาสนำผลงานที่ได้ค้นคว้า  เรียบเรียง วิจัย
เสนอสู่ประชาคม

                              พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการ บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า โครงการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ ๓ ซึ่งคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดขึ้นต่อเนื่องมาเป็นครั้งที่ ๓ นี้ นับเป็นกิจกรรมที่สนองตอบต่อนโยบายในระดับมหาวิทยาลัย กล่าวคือ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ คณะกรรมการอำนวยการโครงการมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ได้มีมติคัดเลือกมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๓ จากที่เสนอตัวมาทั้งหมด ๑๕ แห่ง ให้เหลือเพียงจำนวน ๙ แห่ง โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็น ๑ ใน ๙ มหาวิทยาลัยที่ได้รับการคัดเลือก และตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ เป็นต้นมา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้รณรงค์ให้มีการพัฒนางานวิจัย
ในทุกระดับ โดยเน้นงานวิจัยที่ตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้น โดยเน้นงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ได้จริง  
                               “คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ได้นำนโยบายการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยมาปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคมที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมกับทางคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มาครั้งหนึ่งแล้ว โดยในครั้งนั้น ได้มาบรรยายในหัวข้อ  สถานการณ์ชายแดนภาคใต้กับบทบาทสังคมศาสตร์ในอนาคต : ความคาดหวังจากศอ.บต.
ในโครงการสัมมนาเครือข่ายนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ซึ่งครั้งนั้น
มีการนำเสนองานวิจัยที่น่าสนใจมาก แต่ในโครงการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิชาการในครั้งนี้
กลับยิ่งน่าสนใจกว่า เพราะจะเป็นการนำเสนองานวิจัยของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี  มิใช่ในระดับบัณฑิตศึกษาเช่นที่สามารถพบเห็นกันโดยทั่วไป เป็นการนำเสนอมุมมองของนักศึกษา ซึ่งเป็นพลังรุ่นใหม่
ที่จะเป็นอนาคตให้แก่ประเทศชาติของเราที่มีต่อประเด็นปัญหาต่าง ๆ ให้เผยแพร่ออกสู่สาธารณะมากขึ้น นับเป็นก้าวใหม่แห่งความพยายามในระดับคณะ และเมื่อได้ฟังว่าการดำเนินการครั้งนี้ก้าวหน้าพัฒนาขึ้น
กว่าครั้งที่ผ่าน ๆ มา โดยเป็นการร่วมมือของ สถาบันอุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยิ่งทำให้รู้สึกว่า ณ เวลานี้ มหาวิทยาลัยทุกแห่ง มิใช่เป็นคู่แข่งกันในเชิงวิชาการ หากแต่เป็นกัลยาณมิตร ที่จะร่วมมือกันในการรังสรรค์ความงดงามเชิงวิชาการให้เกิดขึ้น” เลขาธิการศูนย์อำนวยการ บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าว
         
           หลังจากพิธีเปิดโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมปอง ทองผ่อง รองอธิการบดีวิทยาเขตปัตตานี ได้มอบโล่ให้แก่ผู้แทนสถาบันที่มาร่วมนำเนอผลงานวิจัย และเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ ปาฐกถาเปิดโครงการ ในหัวข้อ “พลังความรู้สู่ประชาคมอาเซียน : คนรุ่นใหม่กับอนาคต” หลังจากนั้นเป็นการนำเสนอผลงานของนักศึกษาร่วม ๗๐ ผลงาน จาก ๕ สถาบัน .
                   
โดย : * [ วันที่ ]