รายละเอียด :
|
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดโครงการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิชาการ ครั้งที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2555 ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยในภาคใต้ รวมถึงมหาวิทยาลัยในประเทศมาเลเซีย โดยเลขาธิการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานเปิดงานและ บรรยายพิเศษหัวข้อ พลังความรู้สู่ประตูอาเซียน : คนรุ่นใหม่กับอนาคต
รศ.อาหวัง ล่านุ้ย คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เป็นคณะที่มีความหลากหลายของสาขาวิชา และมีภารกิจหลักในการบ่มเพาะนักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถที่หลากหลาย ฝ่ายพัฒนานักศึกษาและชุมชนสัมพันธ์ เล็งเห็นถึงศักยภาพของนักศึกษาดังกล่าว จึงจัดกิจกรรมโครงการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิชาการมาแล้ว 2 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบรรยากาศทางวิชาการและเป็นเวทีให้แก่นักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษา ในเขตภาคใต้เพื่อให้มีโอกาสนำผลงานที่ได้ค้นคว้า เรียบเรียง วิจัย เสนอสู่ประชาคม โดยการดำเนินโครงการที่ผ่านมานั้นได้รับผลตอบรับที่ดี ดังนั้น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จึงกำหนดจัดโครงการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์วิชาการครั้งที่ 3 (ระดับนานาชาติ) ประจำปีการศึกษา 2555 ขึ้น ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2556 ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องมะเดื่อ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี โดยได้รับเกียรติจาก พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานเปิดโครงการ และจะบรรยายพิเศษหัวข้อ พลังความรู้สู่ประตูอาเซียน : คนรุ่นใหม่กับอนาคต
ในวันดังกล่าวเวลา 10.20 น.
ในการจัดงานครั้งนี้มีนักศึกษาส่งผลงานวิจัยเข้าร่วมนำเสนอทั้งสิ้นจำนวน 69 ผลงาน ซึ่งมีผลงานที่น่าสนใจ อาทิ เรื่อง : การศึกษาความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน , แรงจูงใจในการเลือกเข้าศึกษาต่อของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี , local Market in Pattani Town ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี , เรื่อง: การศึกษาแนวคิดทุนนิยม ในรวมเรื่องสั้น แดดเช้าร้อนเกินกว่า
จะนั่งจิบกาแฟและรวมเรื่องสั้นเมื่อน้ำมันหมดโลกเราจะยึดอเมริกา, ประวัติศาสตร์พม่าในวรรณกรรมอัตชีวประวัติเรื่อง
มาจากแดนผีดิบฯ ของปาสกัลป์ ขู เชว ของมหาวิทยาลัยทักษิณ , "พิษร้ายของความทันสมัยในนวนิยายสัจนิยมโทรทัศน์ของซะห์นูน อะหมัด, กลวิธีการเล่าเรื่องใน นวนิยายเรื่อง ลักษณ์อาลัย ของ อุทิศ เหมะมูล ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และ The Usage of Social Media in Learning English among UNIZA Student. , The Ethical Issues in Television Advertisement. จาก Universiti Sultan Zainal Abidin (UNiSZa) ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น
********************************
|