สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สนับสนุนผลิตภัณฑ์จาก
ชายแดนใต้ โดยการพัฒนาทักษะการเพิ่มมูลค่าให้กับหัตถกรรมท้องถิ่น การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน การแสดงผลงาน
และเสริมแรงจูงใจกลุ่ม
ผศ. นภดล ทิพยรัตน์ ประธานโครงการพัฒนาทักษะการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับหัตถกรรมท้องถิ่น สถาบันวัฒนธรรมศึกษา
กัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่าวิถีชีวิตของชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ดำรงอยู่ด้วย
ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต ทั้งยังเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายในและรอบชุมชน โดยมีความเรียบง่ายตามแบบ
วิถีชุมชนเกษตรกรรมที่เน้นการพึ่งพาตนเองเป็นหลัก เช่น การประกอบอาชีพที่สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น
ได้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด การนำเอาสิ่งเหล่านี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน นับเป็นการจุดประกาย
ความคิดให้ประชาชนในชุมชนเกิดการคิดค้นนวัตกรรมที่เป็นวัฒนธรรมใหม่ ๆ โดยเฉพาะงานหัตถกรรมที่เป็นวัสดุที่ประดิษฐ์
ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการดำรงชีวิตของตนเองและชุมชน แต่เมื่อเป็นที่แพร่หลายและชุมชนมีความต้องการมากขึ้น จึงนำ
ไปสู่การผลิตและเกิดการสร้างรายได้ ซึ่งในสภาพความเป็นงานฝีมือท้องถิ่นเหล่านั้น เป็นการผลิตขึ้นมาเพื่อเน้นประโยชน์
ใช้สอยเป็นหลัก แต่ไม่ได้เน้นความสวยงาม ดังนั้นปัญหาเหล่านี้จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้ผลิตงานดังกล่าวขาดโอกาสที่ควร
จะได้รับจากความสวยงามและคุณค่าที่จะสามารถพัฒนาต่อยอดต่อไปได้ และส่งผลต่อการสูญเสียโอกาสในแง่เศรษฐกิจ
ชุมชนด้วย
ดังนั้น สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จึงมีแนวคิดที่จะมี
ส่วนร่วมในการพัฒนาและสร้างสรรค์งานหัตถกรรมชุมชนให้มีการพัฒนารูปแบบ เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ อันนำไปสู่
การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น วิธีการดำเนินการประกอบด้วย การฝึกอบรม การศึกษาดูงาน
การจัดแสดงผลงาน และการสร้างแรงจูงใจ โดยมีกลุ่มหัตถกรรมท้องถิ่นเข้าร่วมโครงการ ๔ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มหัตถกรรม
จากไม้ไผ่ กลุ่มงานศิลปะประดิษฐ์จากกาบกล้วย กลุ่มผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว และกลุ่มหัตถกรรมแกะสลักไม้
ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ โครงการพัฒนาทักษะการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับหัตถกรรมท้องถิ่น สถาบันวัฒนธรรมศึกษา
กัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ๙๔๐๐๐ โทรศัพท์ /
โทรสาร ๐ ๗๓๓๓ ๑๒๕๐
******************************
|