รายละเอียด :
|
รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานในการประชุมนานาชาติ ที่ ม.อ.ปัตตานี จัดขึ้น ณ จังหวัดภูเก็ต
รมว.ศึกษาธิการ และเลขาธิการอาเซียน ร่วมประชุมทางวิชาการนานาชาติ เรื่อง ภาวะผู้นำทางการศึกษานวัตกรรมความรู้ นวัตกรรมเทคโนโลยีภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและสังคมฐานความรู้ ระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2554 ณ จังหวัดภูเก็ต โดยมีนักวิชาการทั่วโลกร่วม 300 คนร่วมประชุม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ อติศัพท์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ แจ้งว่า สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับสถานทูตอเมริกา
ประจำประเทศไทย มหาวิทยาลัยมิสซูรี มหาวิทยาลัยแคลมอนท์ สหรัฐอเมริกาและหน่วยงานต่าง ๆ
ในประเทศไทย กำหนดจัดประชุมทางวิชาการนานาชาติ เรื่อง ภาวะผู้นำทางการศึกษา นวัตกรรมความรู้ นวัตกรรมเทคโนโลยีภายใต้ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมและสังคมฐานความรู้ ระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2554 ณ ภูเก็ตเกรซแลนด์รีสอร์ท แอนด์สปา จังหวัดภูเก็ต โดยมีนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดและปาฐกถา
ในหัวข้อ ภาวะผู้นำทางการศึกษาภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และสังคมฐานความรู้
และดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซี่ยน ร่วมปาฐกถาในหัวข้อการศึกษาของไทยกับนโยบายอาเซี่ยน นอกจากนี้ ยังมีผู้ร่วมปาฐกถาที่น่าใจอีกหลายท่าน อาทิ -Prof. Dr. Margaret Grogan คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ จากClaremont Graduate University ประเทศสหรัฐอเมริกา มลรัฐ
แคริฟอเนีย , Prof. Dr. John Wedman ผู้อำนวยการ School of Information Science & Learning Technologies มหาวิทยาลัยมิซซูรี่ โคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา คุณพรทิพย์ กาญจนนิยต ผู้อำนวยการบริหารมูลนิธิการศึกษาไทย-อเมริกัน (ฟลูไบร์ท) และศาสตราจารย์ ดร.เกรียงศักดิ์
เจริญวงศ์ศักดิ์ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ (มีผลงานด้านการเขียนหนังสือมากมาย ในหลากหลายสาขา เช่น เศรษฐกิจ นโยบายการศึกษา การต่างประเทศ สังคม การเมือง การศึกษา ความสำเร็จ การดำเนินชีวิต โดยมีหนังสือมากกว่า 170 เล่ม และมีผลงานบทความตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นประจำมากกว่า 300 เรื่อง) โดยมีนักวิชาการทั้งจากในประเทศ และจากต่างประเทศ รวมประมาณ 300 คน เข้าร่วมประชุม และมีนักวิชาการจากนานาชาติส่งผลงานวิจัยและผลงานวิชาการมานำเสนอในที่ประชุม188โครงการ
การจัดประชุมวิชาการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีการนำเสนอผลงานวิจัย ตลอดจน
เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนในระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างกัน การสร้างความเข้าใจร่วมกัน และเป็นการพัฒนาระบบการศึกษาทั้งการศึกษา โดยเฉพาะการอุดมศึกษา การศึกษาตามอัธยาศัย และการศึกษาระบบเปิด เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ใหม่ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจ ฐานความรู้สามารถสร้างงานวิจัยและความร่วมมือในระดับต่าง ๆ ต่อไป ทั้งนี้นักวิชาการที่ประสงค์จะเข้าฟังการประชุมเพิ่มเติม สอบถามรายละเอียดและสมัครได้ที่ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 073-331300 e-mail : oaric@psu.ac.th
|