สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สำรวจความคิดเห็นของประชาชน
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่าประชาชนกว่าร้อยละ60 มีความเชื่อมั่นไว้วางใจรัฐบาลอภิสิทธิ์ในระดับสูง แต่ไม่แน่ใจว่าจะแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง
และปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ ส่วนปัญหาของชุมชนภาคใต้คือการว่างงาน ยาเสพติดและความไม่สงบตามลำดับ
ผศ. ดร. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการสถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
กล่าวว่า สถานวิจัยความขัดแย้งและความหลากหลายทางวัฒนธรรมภาคใต้ สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและความมั่นคงของประชาชน
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา จากโครงการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์เฉพาะหน้าทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสำรวจความคิดเห็น เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลความเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ด้านความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจและสังคม อันจะเป็นตัวชี้วัด
ความเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นและจิตวิทยาสังคมของประชาชนในสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผศ. ดร. ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี กล่าวถึงผลการสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ 88.2 และศาสนาพุทธ ร้อยละ 10.7
ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลประชากรจริงในพื้นที่ โดยสะท้อนให้เห็นว่าประชานส่วนใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้แม้ประสบกับปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจและความไม่สงบ
ในพื้นที่ แต่ยังมีความมั่นใจว่าตนองมีสภาพเศรษฐกิจที่ยังเพียงพอเลี้ยงตนเองได้และมีความอยู่รอดได้ทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ประชาชนส่วนใหญ่มองว่าปัญหาที่สำคัญ
ที่สุดที่เกิดขึ้นในพื้นที่คือปัญหาการว่างงาน รองลงมาคือปัญหายาเสพติด และปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ สภาพทัศนคติดังกล่าวสะท้อนว่าปัญหาปัญหา
ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปัจจุบันคือปัญหาเศรษฐกิจว่าด้วยการว่างงาน รองลงมาคือปัญหาการแพร่ระบาดอย่างหนักของยาเสพติด ส่วนปัญหาที่คุกคาม
พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นลำดับที่สามคือการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ แม้ปัญหาความไม่สงบจะหนัก แต่ก็ไม่ถูกเน้นหนักมากเท่ากับปัญหาเศรษฐกิจโดยเฉพาะการว่างงานและยาเสพติด
ต่อข้อถามที่ว่าในสถานการณ์ปัจจุบันความไว้วางใจต่อรัฐบาลอภิสิทธิ์ ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังมีความเชื่อมั่นไว้วางใจรัฐบาลอภิสิทธิ์ในระดับสูง
คิดเป็นร้อยละ 60.8 แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่ารัฐบาลนี้จะแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศที่กำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน และประการสำคัญยังไม่แน่ใจว่าจะแก้ปัญหา
สถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ โดยคิดว่าสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดความไม่สงบในพื้นที่เกิดจากกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ การก่อการร้ายเป็นสาเหตุหลัก
แต่ในขณะเดียวกันปัจจัยที่ต้องให้ความสนใจจากรัฐคือปัญหาความไม่เป็นธรรมหรือความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมในด้านต่างๆซึ่งต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนเช่นเดียวกัน
ถึงแม้ว่าประชาชนในพื้นที่ประสบกับปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจระดับชาติและความไม่สงบในพื้นที่ แต่ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังรู้สึกว่าตนเองมีสภาพเศรษฐกิจ
เพียงพอเลี้ยงตนเองได้ หรือมีความอยู่รอดได้ทางเศรษฐกิจ.
|