: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ฉบับที่ 54 ประจำเดือน 09 2551
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี เปิดหลักสูตรนานาชาติด้านอิสลามศึกษา
รายละเอียด :
          วิทยาลัยอิสลามศึกษา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  เปิดหลักสูตรนานาชาติศิลปศาสตรบัณฑิต  
สาขาอิสลามศึกษา มุ่งผลิตบัณฑิตศาสตร์ด้านอิสลามศึกษาควบคู่กับความสามารถด้านสมรรถนะสากล
           รศ. ดร. อิสมาแอ  อาลี  ผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามศึกษา   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี
กล่าวว่าปัจจุบันหลักสูตรอิสลามศึกษาเป็นที่น่าสนใจของบุคคลทั่วไปทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล  จะเห็นได้จาก
มีมหาวิทยาลัยชั้นนำต่าง  ๆ  ทั้งในตะวันออกกลาง  ยุโรป   และอเมริกา  ต่างเปิดหลักสูตรดังกล่าวและมีนักศึกษาไทย
จำนวนไม่น้อยในแต่ละปี ได้เดินทางไปศึกษาอิสลามศึกษาในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคตะวันออกกลาง
จากการวิจัยความต้องการที่แท้จริงของประชาชนใน  ๓  จังหวัดชายแดนภาคใต้  ด้านการศึกษาพบว่าประชาชนใน  
๓  จังหวัดชายแดนภาคใต้  มีความต้องการด้านการศึกษาอยู่ในระดับมาก  โดยให้รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้จังหวัด
ชายแดนภาคใต้เป็นศูนย์กลางการศึกษาอิสลามศึกษาและจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษานานาชาติ  ซึ่งสอดคล้องกับ
แผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดชายแดนใช้ที่ต้องการให้จังหวัดปัตตานีเป็นศูนย์กลางการศึกษาอิสลามศึกษาระดับ
นานาชาติ
         วิทยาลัยอิสลามศึกษา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว
ประกอบกับได้เปิดการเรียนการสอนด้านอิสลามศึกษามาตั้งแต่ปี  ๒๕๓๒ จนถึงปัจจุบัน โดยมีสาขาวิชาอิสลามศึกษา
ทั้งในระดับปริญญาตรี  โท  และเอก  จนได้มีการพัฒนาหลักสูตรดังกล่าวให้มีความเป็นสากล สามารถรองรับนักศึกษา
ต่างชาติได้และพร้อมที่จะแข่งขันในระดับนานาชาติ ทั้งนี้เพื่อสนองตอบทั้งแผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดชายแดนใต้  
จึงได้เปิดหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต  สาขาอิสลามศึกษา หลักสูตรนานาชาติ เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีองค์ความรู้
ในศาสตร์อิสลามอย่างครอบคลุมและเป็นสากล   มีความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศ  มีคุณธรรม  จริยธรรม  
มีจิตสำนึกสาธารณะ  สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและสังคมอย่างสมดุลและสามารถอยู่ในสังคมอย่างมี
ความสุข  ปัจจุบันมีนักศึกษาหลักสูตรนานาชาติ  จำนวน  ๓๐  คน  และเป็นนักศึกษาต่างชาติ  จำนวน  ๕  คน  หลักสูตร
ดังกล่าวเปิดรับสมัครเข้าศึกษาตลอดทั้งปี  แต่ทั้งนี้นักศึกษาที่เข้าศึกษาในหลักสูตรดังกล่าว  จะต้องผ่านการสอบ
วัดระดับความสามารถทางภาษาอาหรับและอังกฤษ  โดยได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ  ๗๕  จึงสามารถลงทะเบียนเรียน  
ยกเว้นเจ้าของภาษาหรือมีผลการสอบอย่างอื่นที่สามารถเทียบเคียงได้
                รศ. ดร. อิสมาแอ  อาลี  กล่าวถึงโอกาสและความก้าวหน้าของนักศึกษาหลักสูตรดังกล่าวว่าผู้สำเร็จการศึกษา
จะได้รับวุฒิศิลปศาสตรบัณฑิต  มีความสามารถในด้านภาษาต่างประเทศ  สามารถเข้าทำงานในองค์กรของภาครัฐ  
เอกชน  และศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นทั้งในและต่างประเทศ  และมีโอกาสเข้าศึกษาบางรายวิชาในต่างประเทศอีกด้วย


                                                            ********************************
โดย : * [ วันที่ ]