นักวิจัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พบว่าสถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้
ไม่มีผลกระทบต่อการอพยพย้ายถิ่นและประชาชนทั้งชาวไทยพุทธ มุสลิม ยังมีการพบปะ มีความรักในถิ่นฐาน พร้อมทั้ง
ย้ำให้มีการนำเสนอข้อเท็จจริงการอพยพย้ายถิ่น เพื่อป้องกันการหวาดระแวง ความไม่ไว้ใจ
ผศ. ปิยะ กิจถาวร หัวหน้าโครงการวิจัยผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงด้านความปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สิน กรณีศึกษาการอพยพย้ายถิ่นในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้และแนวทางแก้ไข มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้มีพื้นที่หนึ่งหมื่นกว่าตารางกิโลเมตร มีประชากร
ประมาณสองล้านคน โดยเป็นผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ ๘๐ ศาสนาพุทธร้อยละ ๒๐ ภายใต้สถานการณ์
ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ๒๕๔๙ มีข่าวสารและประเมินว่าชาวไทยพุทธอพยพ
ย้ายถิ่นไปแล้วเป็นจำนวนมาก จึงมีการศึกษาผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ต่อชุมชนและชาวบ้านด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ศึกษากรณีอพยพย้ายถิ่นและแนวทาง
แก้ไขขึ้น
ผลการประเมินสถานการณ์ในพื้นที่โดยกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในพื้นที่ ๑๖๐ คน ใน ๙ อำเภอ สรุปว่าเจ้าหน้าที่รัฐ
ยังไม่สามารถลดอิทธิพลและการเคลื่อนไหวของกลุ่มก่อความไม่สงบในหมู่บ้านได้ รวมทั้งยังไม่เชื่อมั่นต่อมาตรการ
เจ้าหน้าที่รัฐในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ชาวบ้านหวาดกลัวกลุ่มก่อความ
ไม่สงบมากขึ้น แต่ก็ไม่เห็นด้วยกว่าครึ่งว่าพื้นที่เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงได้ขยายตัวออกไป ขณะเดียวกันก็เห็นว่าชาวบ้านทั้ง
ไทยพุทธและมุสลิม สามารถปฏิบัติศาสนกิจ รักษาวิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรมของตนเองได้ ต้องการร่วมสร้าง
สันติสุข และอยากให้โรงเรียนของรัฐเปิดการเรียนการสอนตามปกติ แม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ก็ตาม
และผลกระทบที่สำคัญจากเหตุการณ์ความไม่สงบคือ การประกอบอาชีพของชาวบ้านมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ผลผลิตยางพารา ลดลงร้อยละ ๓๐ เพราะต้องเปลี่ยนเวลาในการออกไปตัดยาง แต่ผลผลิตด้านไม้ผลมีมากและ
ออกสู่ตลาดในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม แต่ไม่มีพ่อค้ามารับซื้อทำให้ราคาตกต่ำ
สำหรับการย้ายเข้าย้ายออกมีจำนวนไม่แตกต่างกันมากนักและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่
ยืนยันได้ว่าตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ มิถุนายน ๒๕๕๐ มีชาวไทยพุทธอพยพย้ายออกจากพื้นที่รวม ๓๑๙ คนเท่านั้น และ
ประชาชนในพื้นที่ทั้งชาวไทยพุทธและมุสลิมไม่มีความคิดที่จะอพยพออก ถึงแม้ว่าเหตุการณ์มีความรุนแรงมากขึ้น เพราะ
รักในถิ่นฐาน อยู่อาศัยมานาน มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก
ผศ. ปิยะ กิจถาวร กล่าวอีกว่าการศึกษาวิจัยดังกล่าวเป็นเพียงการศึกษาเบื้องต้น เพื่อนำเสนอให้เห็นถึงภาพรวม
ของสถานการณ์ความรุนแรงใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ และข้อมูลเกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่นในพื้นที่ที่ทำการศึกษา
ซึ่งพบว่าการอพยพย้ายถิ่นในพื้นที่ที่ทำการศึกษามีไม่มากนัก แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ที่มีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นอย่าง
ต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ จนถึงปัจจุบัน ที่น่าสนใจคือทั้งชาวไทยพุทธไทยมุสลิมได้ตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยร่วมกันมานาน
ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม เมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ ความหวาดกลัว และไม่ไว้ใจกันบ้าง แต่ยังมีการไป
มาหาสู่กันและต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ผลงานวิจัยดังกล่าวมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ศูนย์อำนวยการ
บริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ สถาบันการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนภาคเอกชน สามารถนำผลการประเมิน
สถานการณ์ความรุนแรง ข้อมูลการอพยพย้ายถิ่น และข้อเสนอแนะในการลดผลกระทบ กรณีการอพยพย้ายถิ่นไปใช้
เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดมาตรการการแก้ไขปัญหาของประชาชนในพื้นที่
********************************
|