: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ฉบับที่ 10 ประจำเดือน 04 2551
หัวข้อข่าว : เปิดสถานวิจัยความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยียางพาราที่ ม.อ. ปัตตานี หวังเป็นที่พึ่งทางวิชาการด้านเทคโนโลยียางพาราแก่สังคม
รายละเอียด :
         ภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขต
ปัตตานี  เปิดสถานวิจัยความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยียางพารา  เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตผลิตภัณฑ์
ยางพาราและเป็นที่พึ่งทางวิชาการด้านเทคโนโลยียางพาราแก่สังคม
         รศ.ดร. เจริญ นาคะสรรค์  ผู้อำนวยการสถานวิจัยความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยียางพารา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  
วิทยาเขตปัตตานี  กล่าวว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ตั้งอยู่ในภาคใต้  
ซึ่งเป็นแหล่งปลูกยางใหญ่ที่สุดของประเทศ  มีนักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์  ซึ่งมีศักยภาพในการ
วิจัยด้านยางพาราอยู่จำนวนมากและได้มีการวิจัยและพัฒนาด้านยางพาราเป็นเวลานานกว่า 20 ปี โดยเฉพาะนักวิจัย
จากภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ในสภาวะปัจจุบันนักวิจัยด้าน
เทคโนโลยียางพาราคาของภาควิชายังมีงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง  และมีการขยายขอบเขตงานวิจัยในเรื่องการดัดแปลง
โมเลกุล  การเตรียมยางธรรมชาติ  เทอร์โมพลาสติก  และการพัฒนากระบวนการผลิตน้ำยางในระดับกลุ่มเกษตรกร  
เป็นต้น  ดังนั้นการจัดตั้งสถานวิจัยความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยียางพารา  (Center  of  Excellence  in  Natural  
Rubber  Technology)  จึงมีความจำเป็นทั้งนี้เพื่อจะได้พัฒนางานวิจัยให้มีทิศทางที่เหมาะสมภายใต้การสนับสนุน
ที่เพียงพอ และได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่มีความเหมาะสม  ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมและกลุ่มเกษตรกร
หรือหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง  เพื่อการผลิตยางพาราในทุกรูปแบบให้มีประสิทธิภาพ  เพิ่มมูลค่า  ขยายขอบเขต
การใช้งานยางพารา  เพื่อนำไปสู่รายได้ต่อหน่วยของยางพาราที่มากขึ้น  มูลค่าการส่งออกที่มากขึ้น  และพัฒนา
ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย  หน่วยงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ  โดยสร้างเครือข่ายนักวิจัยและการผลิตนักวิจัย
ใหม่  ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการพัฒนาประเทศในภาพรวม
         รศ.ดร. เจริญ นาคะสรรค์  กล่าวเพิ่มเติมว่าคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  
วิทยาเขตปัตตานี  มีเป้าหมายเพื่อสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมที่นำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่  ทรัพย์สินทาง
ปัญญาที่นำไปประยุกต์ใช้งานได้  โดยผลิตงานวิจัยที่เน้นท้องถิ่น  ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้  มีการผลิตและเข้าร่วม
แข่งขันผลงานสร้างสรรค์ระดับชาติและนานาชาติ พร้อมทั้งส่งเสริมงานวิจัยที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์เผยแพร่ใน
วารสารระดับนานาชาติและสร้างความร่วมมือให้เกิดเครือข่ายกับการวิจัยกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ  ดังนั้น
การจัดตั้งสถานวิจัยเพื่อให้คณะเป็นหน่วยบริการวิชาการเฉพาะทาง  นับเป็นองค์กรแห่งการวิจัยเฉพาะทางที่มีความ
เป็นเลิศระดับชั้นนำ  โดยยึดงานวิจัยเป็นฐานและเป็นที่พึ่งทางวิชาการด้านเทคโนโลยียางพาราแก่สังคม  โดยมี
แผนกลยุทธ์ศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียางพารา  เพื่อสร้างขีดความสามารถ
ในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน  รวมทั้งการขยายขอบเขตและพัฒนาการผลิตผลิตภัณฑ์การใช้งาน
ยางธรรมชาติ  เพื่อเพิ่มมูลค่าและการใช้ยางพาราคาแทนวัสดุอื่น  ๆ  จะเห็นว่าในปี  2550  สถานวิจัยดังกล่าวได้ผลิต
งานวิจัยที่สำคัญ  อาทิ  การศึกษาการเตรียมฟองน้ำจากยางธรรมชาติด้านเชื้อรา  การเตรียมฟองน้ำทนไฟจาก
ยางธรรมชาติเบลนต์ร่วมกับยางคลอโรพรีน  และการศึกษาสารด้านออกซิเดชันแบบจับกับยาง  :  ยางธรรมชาติ
กราฟต์อนุพันธ์มาลิอิไมด์  โดยมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย  ได้แก่  เครื่องแปรรูปยาง  เครื่องตรวจสอบลักษณะ
ของพอลิเมอร์  เครื่องทดสอบพลาสติก  เครื่องแปรรูปพลาสติก  และเครื่องทดสอบยาง  เป็นต้น
         ผู้ประสงค์จะขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับความรู้ด้านเทคโนโลยียาง    สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ภาควิชา
เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  อำเภอเมือง  จังหวัดปัตตานี  
94000  โทร. 0 7331 2213  โทรสาร  0 7333 1099


                                                                 ***********************************
โดย : * [ วันที่ ]