: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ฉบับที่ 01 ประจำเดือน 01 2551
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนการจัดตั้งบริษัทครอบคลุม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
รายละเอียด :
               คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะ
ธุรกิจเทคโนโลยีครอบคลุม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นที่รวมความรู้ด้านเทคโนโลยีกับความรู้ด้านธุรกิจ  
การบริหาร  การให้คำปรึกษาทางด้านบุคลากร  การวิจัยและพัฒนา  ให้กับหน่วยงานที่สนใจทั้งภาครัฐและ
เอกชน  นำมาซึ่งการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีความเข้มแข็ง  ยกระดับเทคโนโลยีของผู้ประกอบการ
ในภาคใต้
         ผศ. สมปอง  ทองผ่อง  รองอธิการบดี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  กล่าวว่ามหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์  ได้รับมอบหมายจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ให้ดำเนินการจัดตั้งอุทยาน
วิทยาศาสตร์ภาคใต้  เพื่อนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปขยายผลในเชิงพาณิชย์
ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ  สำหรับอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้จะเน้นนวัตกรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
ภาคใต้เป็นหลัก  เช่น  อาหารฮาลาล  อาหารทะเล  ยางพารา  ปาล์มน้ำมัน  เป็นต้น  ทั้งนี้องค์ประกอบหลักที่มี
ความสำคัญต่อการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะในระยะเริ่มต้นคือ  ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี  (Technology  
Business  Incubator  หรือ  TBI)  ซึ่งทำหน้าที่สร้างผู้ประกอบรายใหม่ให้มีความเข้มแข็ง  สามารถดำเนินธุรกิจ
ได้ด้วยตนเอง  โดยศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีจะเข้ามาทำหน้าที่ตั้งแต่อำนวยความสะดวก  จัดหาพื้นที่
และสาธารณูปโภคให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาเพื่อทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และผลิตสินค้าเชิงพาณิชย์  
ให้คำปรึกษาในการจัดทำแผนธุรกิจ รวมทั้งให้ความรู้ในการประกอบธุรกิจ จนกระทั่งผู้ประกอบการมีความเข้มแข็ง  
ศูนย์ฯ  จะผลักดันให้ดำเนินธุรกิจได้ด้วยตนเอง
         สำหรับพื้นที่  3  จังหวัดชายแดนภาคใต้  ประกอบด้วยจังหวัดยะลา  ปัตตานี  และนราธิวาส  เป็นพื้นที่ที่มี
ความหลากหลายในด้านวัฒนธรรมและการนับถือศาสนา  จึงถือเป็นพื้นที่ที่มีความพิเศษแตกต่างจากภาคอื่น ๆ
โดยกลุ่มผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะประกอบธุรกิจประเภทอาหาร เกษตร ประมง     และเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา  
ที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุดโดยเฉพาะในเรื่องของการพัฒนาสินค้า  ระบบคุณภาพ  และมาตรฐาน  รวมถึง
การปรับตัวของภาคธุรกิจให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตลาดโลก  เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ
ของตลาด
               ผศ. สมปอง  ทองผ่อง  กล่าวอีกว่าศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี  มีภาระสนับสนุนการทำวิจัย  การพัฒนาคน
และการถ่ายทอดเทคโนโลยี  โครงสร้างขั้นพื้นฐาน  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม  ผลักดัน  และสนับสนุนผลงาน
การวิจัย  ผลงานวิชาการ  นวัตกรรมและผลงานสร้างสรรค์ของสถาบันที่เข้าร่วมโครงการให้แก่เอกชนที่สนใจ
นำมาดำเนินการ  เพื่อยกระดับการแข่งขันให้กับธุรกิจในภาคใต้กับนานาประเทศได้  นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์
ที่จะช่วยสนับสนุนเอกชนในการทำการวิจัยทางธุรกิจ  เพื่อช่วยให้ธุรกิจมีความอยู่รอด  เป็นการร่วมมือจาก
สถาบันการศึกษากับภาคเอกชน  พร้อมการให้การสนับสนุน  การให้บริการพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก
ขั้นพื้นฐานสำหรับเอกชนที่สนใจ  ในระยะยาวเมื่อมีการจัดตั้งอย่างสมบูรณ์แบบ  จะเป็นกลไกการปรับโครงสร้าง
อุตสาหกรรมในภาคใต้จากระบบเศรษฐกิจฐานแรงงานไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้  เป็นแหล่งผลิตและ
พัฒนาบุคลากรที่มีความรู้สูงในสาขาเทคโนโลยี  ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการในระบบอุตสาหกรรม  เป็นแหล่ง
บ่มเพาะและพัฒนาศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในภาคใต้  และจะมีส่วนสำคัญในการ
สนับสนุนการแก้ไขปัญหาพื้นฐานและการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้มีความก้าวหน้าและพร้อมที่จะเป็น
ส่วนหนึ่งของยุคเศรษฐกิจฐานความรู้อย่างมั่นคงและยั่งยืน


                                                              **********************************
โดย : * [ วันที่ ]