สถาบันสมุทรรัฐเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เผยถึงผลการ
ดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่าได้เน้นโครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค
มากกว่าพัฒนาอาชีพและเสริมรายได้แก่ชุมชน โยภาครัฐควรต่อยอดด้านภูมิปัญญา พัฒนาสินค้าและลดขั้นตอนระบบ
ราชการ ซึ่งสำคัญยิ่งต่อการรองรับโครงการ IMT-GT
รศ.ดร.ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์ ผู้ศึกษาตามแผนดำเนินงานของชุมชน อบต.ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อรองรับ
การพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน จำเป็น
ต้องมีการวางแผนและพัฒนาตั้งแต่ระดับรากหญ้าที่ครอบคลุมด้านทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาทางสถาบันทางสังคมและ
สิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี พร้อมที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงและความ
เจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ กระแสความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและการศึกษาทำให้
รัฐบาลพยายามหามาตรการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้มีความพร้อมในการรองรับการพัฒนาเพื่อประเทศชาติ อย่างไร
ก็ตามการพัฒนาที่ผ่านมาก่อให้เกิดทุนทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นจุดแข็งของประเทศสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็น
จังหวัดที่อยู่ติดกับชายแดนประเทศมาเลเซียและโดยลักษณะทางสังคม มีประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม การศึกษา
อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ดังนั้นคณะกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบลยังมีความรู้เกี่ยวการวางแผนและโครงการยังไม่เพียงพอ
การบริหารโครงการต้องอาศัยกระบวนการนำเอาระบบการบริหารมาใช้ซึงประกอบด้วย การวางโครงการ การดำเนินโครงการ
และการติดตามประเมินผล ยังมีปัญหาในการโครงการซึ่งต้องพัฒนาศักยภาพผู้นำและคณะกรมการองค์การบริหาร
ส่วนตำบลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงได้มีการศึกษาวิจัยผลการดำเนินงานตามแผนของชุมชน อบต. ในสามจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ เพื่อรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนและโครงการของ
ชุมชนในการสร้างความเข้มแข็ง และเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามแผนของชุมชนที่สอดคล้องกับนโยบาย
รัฐและความต้องการของท้องถิ่น ในการวิจัยดังกล่าวคณะผู้ศึกษาวิจัยมีความสนใจศึกษาว่าผลการดำเนินงานตาม
โครงการของชุมชนองค์บริหารส่วนตำบลในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการดำเนินโครงการอะไรบ้างที่ตอบสนองนโยบาย
การพัฒนาเศรษฐกิจสามฝ่าย มีประสิทธิภาพอย่างไร มีแนวทางในการพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็ง
ของชุมชนอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบลต่อไป
รศ.ดร.ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์ เปิดเผยถึงขอสรุปจากการศึกษาว่า การดำเนินงานตามแผนและโครงการบริหารส่วน
ตำบล ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญโครงการที่เกี่ยวกับการก่อสร้างและสาธารณูปโภคมากที่สุด รองลงมาคือโครงการ
พัฒนาอาชีพและเสริมสร้างรายได้ ได้แก่โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การจัดการกองทุนหมุนเวียนให้
เกษตรกรในชุมชน การส่งเมการเลี้ยงสัตว์และโครงการส่งเสริมความสะอาดแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งเป็นโครงการที่สนับสนุนการ
พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษสามฝ่าย จำเป็นอย่างยิ่งต้องได้รับการพัฒนาขีดความสามารถทางการผลิตเพื่อการแข่งขัน
โดยเฉพาะโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ให้มีความสามารถดำเนินงานที่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกรและ
ชุมชนมากขึ้น ซึ่งภาครัฐต้องให้การสนับสนุนต่อยอดภูมิปัญญา การพัฒนาสินค้าและปรับบทบาทของภาครัฐให้มีความ
คล่องตัวโดยลดขั้นตอนและกฎระเบียบส่วนหนึ่งจากการวิจัยได้ระบุว่าประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามแผนและ
โครงการด้านการวางแผน ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากภาค
ประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นผู้ศึกษาผลการดำเนินงานตามแผนของชุมชนองค์การบริหารส่วนตำบล ในสามจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ เพื่อรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย ได้ให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญที่
ต้องให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่และผู้รับผิดชอบโครงการในเรื่องการจัดทำแผน โครงการ การดำเนินงานตามแผน โดยเฉพาะ
การประเมินโครงการ ส่วนศักยภาพด้านงบประมาณควรจัดให้มีการผลิตและการจำหน่ายเพื่อให้มีงบประมาณขององค์การ
บริหารส่วนตำบลเพิ่มขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ส่วนด้านสิ่งอำนวย
ความสะดวกอื่น ๆ อยู่ที่ศักยภาพของผู้นำหรือนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งต้องมีความรู้และทักษะในการบริหาร
งานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
***********************************
|