รายละเอียด :
|
หมากเป็นพืชในวงศ์ PALMAE มีแพร่หลายในทวีปเอเชียเขตร้อน เช่น อินเดีย พม่า ไทย เขมร ลาว จีนใต้
และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก สำหรับในประเทศไทยมีหมากในภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช
พัทลุง และนราธิวาส
ใช่ว่าวัฒนธรรมการกินหมากจะมีอยู่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น หากแต่การกินหมากมีแพร่หลายในอินเดียมา
ไม่น้อยกว่า 2,000/หลักฐานของกลุ่มคนยุโรป ในเอกสารของมาร์โคโปโล ซึ่งอยู่ในช่วงสมัยสุโขทัย เขียนไว้ว่า ผู้คน
ส่วนใหญ่ต่างกินหมากพลูวาสโกดากามา กล่าวถึงคนอาหรับที่เอาหมากไปจากอินเดียว่า คนอินเดียสมัยนั้นจะมีหมาก
อยู่ในมือและกินหมากกันในหมู่เพื่อนฝูง ตามความเชื่อของชาวฮินดู เชื่อว่าพระพิฆเนศแปรงร่างเป็นผลหมาก หมาก
จึงเป็นพืชผลของพระเจ้า ในพิธีกรรมต่างๆ ของพราหมณ์จึงขาดหมากไม่ได้
ศาสนาฮินดู เชื่อกันว่าหมากเป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ คนอินเดียจึงนิยมใช้หมากในการบูชาเทพยดาและ
พระผู้เป็นเจ้าแม้แต่ในปัจจุบันคนอินเดียก็ยังคงมีวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับการกินหมากอยู่ เช่นในพิธีแต่งงานครอบครัวของ
เจ้าสาวจะต้องส่งหมากไปให้ครอบครัวของเจ้าบ่าว แขกเหรื่อที่มาในงานก็มีความสนุกสนานกับการกินหมาก เมื่อขบวน
ของเจ้าสาวเดินทางไปถึงบ้านเจ้าบ่าว ก็จะต้องแจกจ่ายหมากแก่สมาชิกครอบครัวของเจ้าบ่าวและไม่ควรลืมที่จะให้
เจ้าบ่าวด้วยในพิธีเลี้ยงเดียวกันนี้ก็จะเริ่มพิธีด้วยการกินหมากและสูบบุหรี่
นอกจากอินเดียแล้วก็ยังมีชาติอื่นๆ ที่กินหมาก เช่น เนปาล ศรีลังกา บังคลาเทศ ปากีสถาน ต่างก็มีวัฒนธรรม
การกินหมากที่แตกต่างกัน
สำหรับชาวเอเชียตะวันออกแล้วมีชาวไต้หวันและชาวจีนตอนใต้บางส่วนเท่านั้นที่กินหมาก แต่ทุกวันนี้มีการกินหมาก
น้อยลง เมื่อเทียบกับชาวอินเดียที่ยังคงวัฒนธรรมการกินหมากไว้ค่อนข้างเหนียวแน่น
กลุ่มประเทศใกล้บ้านเรา เช่น เขมร ลาว เวียดนาม ก็ยังกินหมากกันอยู่ โดยเฉพาะพม่าชอบเคี้ยวหมากมาเป็นเวลา
ช้านาน คนพม่ามีข้อห้ามไม่ให้กินชานหมากของผู้หญิงถือว่าจะทำให้ยากจนลง แต่ผิดกับคนไทยในวรรณคดีเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน
ก็มีการขอชานหมากจากคู่รักถือว่าเป็นการแสดงความรักอย่างหนึ่ง
มากล่าวถึง หมากในแถบบ้านเราอย่างคนมาเลเซียเรียกหมากว่า ปีนัง หรือ ปีนังซีรี คนมาเลย์น่าจะรับวัฒนธรรม
การกินหมากมาจากอินเดีย เข้าใจว่ามากับพิธีกรรมและศาสนาไม่ต้องสงสัยเลยว่า คำว่าเกาะปีนังว่านั้นคนไทยในสมัยปู่เรียกว่า
เกาะหมาก ซึ่งเต็มไปด้วยหมาก
พิธีแต่งงานของชาวมาเลย์จะต้องมีการเตรียมขันหมากเช่นเดียวกับชาวไทย การนำหมากพลูเข้าไปร่วมในขบวนแต่งงาน
ถือว่าเป็นการเชื่อมสันถวไมตรี
คนชวาก็นิยมกินหมากกันมาจนถึงปัจจุบันและเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสชวา
พระองค์ได้บันทึกว่า มีหมากดิบอ่อนๆ ผ่าทั้งเปลือก ฝานบางๆ ใส่ไว้ในไส้พลู สำหรับหมากในเมืองไทย น่าจะได้รับการ
ถ่ายทอดวัฒนธรรมมาจากกพราหมณ์ในศิลาจารึก หลักที่ 1 ซึ่งเป็นหลักของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ด้านที่ 1 ได้กล่าวถึง
หมากว่าป่าหมากป่าพลูพ่อเชื้อมันไว้แก่ลูกมันสิ้น
ด้านที่ 2 จารึกว่า สร้างป่าหมากพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่งมีป่าหมาก ป่าพลู มีไร่ มีนา มีถิ่นตาน สมัยอยุธยา
หมากยังเป็นสื่อรักของท้าวศรีสุดาจันทร์ได้ให้นางข้าหลวงเอาหมากห่อผ้าไปให้พันบุตรศรีเทพ จนทั้งสองได้รักกัน ในสมัย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช หมากเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่ทำรายได้ถึงปีละ 75,000 เหรียญ คิดเป็นเงินไทยสมัยนั้นก็ถือว่า
มากโข
พิธีกรรมต่าง ๆ ของไทยปัจจุบันก็ยังมีหมากเป็นส่วนประกอบ เช่น พิธีทำขวัญเด็ก จะใช้หมากพลู 3 คำ พิธีอุปสมบท
ผู้บวชจะต้องเตรียมเครื่องสักการะเป็นการแสดงความเคารพต่อพระอุปชฌาอาจารย์ และจะต้องมีหมากอยู่ด้วย
ในพิธีขันหมากแต่งงานแบบไทย ๆ ก็ไม่ขาดหมาก ในพิธีวางศิลาฤกษ์ เครื่องสังเวยบูชาฤกษ์ก็มีหมากวางรวมอยู่
กระทั่งพิธีศพก็จะเตรียมหมากพลูไว้หนึ่งคำเมื่อเวลาทำตราสังข์เสร็จแล้ว จึงนำกรวยหมากมาสอดไว้ในมือผู้ตายเพื่อจะได้นำไป
สักการะพระจุฬามณีเจดียสถานในชั้นดาวดึงส์แม้ว่าหลายสิบปีมานี้ การกินหมากของคนไทยลดน้อยลงจะพบเห็นได้ก็แต่ผู้เฒ่า
ผู้แก่ในชนบท คนรุ่นใหม่ๆ บางกลุ่มเท่านั้น
เหตุผลบางประการที่พอจะวิเคราะห์ๆได้ว่าคนไทยนิยมกินหมากน้อยลง ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี เมื่อหลายสิบปีก่อนได้ประกาศห้ามไม่ให้มีการกินหมากและค้าขายหมาก ด้วยเห็นว่าการบ้วนน้ำหมากในราชการ
จะทำให้พื้นสกปรก และการมีฟันดำทำให้ดูไม่ดี เป็นการมองและทำตามความนิยมแบบชาวตะวันตกที่มีฟันขาวเพราะ
ไม่กินหมาก
อย่าไรก็ตามหมากก็ยังคงมีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนไทยและวัฒนธรรมไทยอยู่นับแต่เกิดจนกระทั่งตาย
***********************************
|