มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับโครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้ ดับบ้านดับเมือง : เรียนรู้ที่ปากใต้
ได้จัดเวทีเสวนาว่าด้วยกระบวนทัศน์อิสลามกับการพัฒนา เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ที่ผ่านมา โดยมีการนำเสนอเรื่อง
กระบวนทัศน์อิสลามเพื่อการพัฒนาชุมชนที่เป็นสุข บทนำเสนอด้านวัฒนธรรมและการจัดการ เรื่องศาสนธรรม
กับการพัฒนา เรื่องอิสลามศึกษากับสังคมปัจจุบันและอนาคต บทนำเสนอด้านเศรษฐกิจ
นายมานะ ช่วยชู หัวหน้าโครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้ ดับบ้านดับเมือง : เรียนรู้ที่ภาคใต้ กล่าวว่า
โครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้ ดับบ้านดับเมือง : เรียนรู้ที่ปากใต้ ภายใต้แผนงานพัฒนาชุมชนเป็นสุขของ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้ดำเนินกิจกรมพัฒนาชุมชนเป็นสุข ตั้งแต่มีนาคม 2546 โดยเครือข่าย
ชุมชนมุสลิม 10 ชุมชนในจังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาชุมชนตามหลักการศาสนาอิสลาม
ด้วยการกำหนดหลักการ แนวทาง ตัวชี้วัด และกิจกรมที่กำลังดำเนินการต่อเนื่องในระยะเวลา 3 ปี ถึง 2549 โดยมีการ
นำเสนอผ่านสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ
จากกรณีเกิดเหตุการณ์รุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ต้นปี 2547 ได้มีการแสวงหาแนวทางแก้ปัญหา
อย่างหลากหลาย โดยมีข้อเสนอว่าด้วยกระบวนทัศน์อิสลามกับการพัฒนาได้รับความสนใจจากหลายฝ่าย เช่นข้อเสนอของ
ศ.นพ.ประเวศ วะสี นายธีรยุทธ์ บุญมี นายสุชาติ บำรุงสุข นายวรศักดิ์ มหันธโนบล นายจรัญ มะลูลีม นายชัยวัฒน์
สถาอานันท์ นายสุจิตต์ หงษ์เทศ นายพิชัย รัตนพล นายธงชัย วินิจจะกูล เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของเครือข่าย
ชุมชนมุสลิมในโครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้ ต่างแต่ของโครงการเน้นที่ระดับชุมชนหมู่บ้านในขณะที่ข้อเสนอต่าง ๆ
มีความหลากหลาย โครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้ ดับบ้านดับเมือง : เรียนรู้ที่ปากใต้ จึงเห็นว่าหากได้จัดกิจกรรม
ประมวลแนวคิด เรื่องกระบวนทัศน์อิสลามกับการพัฒนา บนฐานความคิดที่มีการนำเสนอน่าจะประโยชน์ต่อพัฒนาการแก้
ปัญหาต่างๆ
นายเซ็ง มะลี ผู้อำนวยการโรงเรียนโรงเรียนมุสลิมวิทยา อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี หนึ่งในวิทยากร
การเสวนากระบวนทัศน์อิสลามกับการพัฒนา เปิดเผยว่าถึงแม้ว่าจะมีผู้เห็นความสำคัญของศาสนาควบคู่กับการพัฒนา
แต่บทบาทที่ดำเนินการอยู่นั้นจะเห็นว่าเป็นเพียงบทบาทเสริมเสียมากกว่า รัฐเองได้ให้ความสนใจที่จะดำเนินการโดยตรง
เกี่ยวกับเรื่องนี้น้อยมาก ที่ผ่านมาจะปล่อยให้เป็นเรื่องขององค์กรศาสนาแต่ละองค์กรดำเนินการเพียงลำพัง งานที่รัฐได้
ดำเนินการในด้านพัฒนาชุมชนส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน สะพาน อ่างเก็บน้ำ สถานี
อนามัย การจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์และกลุ่มอาชีพต่างๆ การพัฒนาจิตใจมีอยู่บ้างแต่จะมีความสำคัญในอันดับสุดท้าย ซึ่งถ้า
ไม่เกี่ยวกับการสร้างถาวรวัตถุก็จะเชิญโต๊ะครูไปบรรยายซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าจะบรรลุเป้าหมายของการพัฒนาชุมชนหรือไม่
ในอดีตเป้าหมายของการพัฒนาชุมชนจะมุ่งเน้นไปที่การทำให้ชุมชนมีการกินดีอยู่ดี ต่อมาได้มีการตั้งเป้าว่าจะต้องแก้
ปัญหาความยากจน โดยมีการกำหนดเส้นบ่งความยากจนเพื่อที่จะทราบว่าคนมีรายได้ระดับใดจึงจะเรียกว่าคนจน
สังคมไทยในปัจจุบันมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง ความเจริญทางวัตถุมีอัตราสูง การพัฒนาเศรษฐกิจใน
รูปแบบของการพัฒนาอุตสาหกรรมมีความเจริญก้าวหน้า แต่สภาพทางสังคมกลับมีความรุนแรงมากขึ้น ปัญหาเด็กและ
เยาวชน ปัญหายาเสพติด ปัญหาโสเภณีที่เพิ่มขึ้น นับวันจะยิ่งรุนแรงนับว่าเป็นความผิดพลาดของการพัฒนา ดังนั้นการ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ขาดการพัฒนาจิตใจควบคู่นั้น นอกจากจะทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจและเศรษฐกิจเป็นไป
อย่างมีระบบ ไม่อาจบรรลุผลไปตามเป้าหมายยังก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมทางศีลธรรม จรรยา การละเลยขาด
ความจริงจัง ขาดศรัทธาในหลักคำสอนของศาสนา นับว่าเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วง ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพจิตใจให้เป็น
คนที่มีคุณธรรม มีศีลธรรมอันดีตามหลักคำสอนแห่งศาสนาจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการแก้ปัญหาทางสังคมอย่างแท้จริง
นายเซ็ง มะลี เปิดเผยถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
***************************************
|