มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในฐานะที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่สังคมชนบทที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ มีขนบธรรมเนียมประเพณี
วิถีชีวิต ความต้องการ และปัญหาแตกต่างจากท้องถิ่นอื่น ๆ ในประเทศไทย กอปรกับการได้ศึกษาวิถีวัฒนธรรม ความ
ต้องการและปัญหาของท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จึงเห็นสมควรเข้ามามีส่วนร่วมในการ
สร้างสรรค์พัฒนาและปฏิรูปการศึกษาให้แก่ชุมชนหรือสังคม โดยได้ร่วมมือกับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน
คุณภาพการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา และมูลนิธิเพื่อการพัฒนาการศึกษาไทย ได้จัดโครงการรวมพลัง
เพื่อปฏิรูปการศึกษาไทย เมื่อวันที่ 22 23 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ณ โรงแรม ซี. เอส. ปัตตานี โดยมีครู ผู้บริหาร
บุคลากรทางการศึกษา หน่วยงานทุกสังกัด องค์กรเอกชนระดับท้องถิ่น สื่อมวลชน และบุคคลทั่วไปในจังหวัดปัตตานี
ยะลา นราธิวาส สตูล และภูมิภาคอื่นที่สนใจ ทั้งนี้โดยมี ดร. รุ่ง แก้วแดง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนัก
นายกรัฐมนตรี ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการสัมมนาและบรรยายพิเศษเรื่อง การปฏิรูปการศึกษากับการพัฒนา
ประเทศตามแนวทางบูรณาการ
ดร. รุ่ง แก้วแดง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง การปฏิรูป
การศึกษากับการพัฒนาประเทศตามแนวทางบูรณาการว่า เรื่องการศึกษามีเรื่องที่เกี่ยวข้อง 4 เรื่องที่มีความสำคัญได้แก่
การศึกษา การปฏิรูปการศึกษา การพัฒนาประเทศ และการประเมินคุณภาพทางการศึกษา
การศึกษา คือการเรียนรู้ เป็นการเรียนรู้ของบุคคล การเรียนรู้ของสังคม ที่สามารถจัดการศึกษาได้ฝ่ายขึ้น
มีทิศทางที่ชัดเจน ซึ่งการจัดการศึกษาจะต้องให้ทุกคนได้เกิดการเรียนรู้ตามศักยภาพของแต่ละคน
การปฏิรูปการศึกษา ปัจจุบันใช้การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งสิ่งที่
กล่าวถึงกันมากคือ การปฏิรูปการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้ที่สมบูรณ์คือการเรียนในลักษณะที่เรียกว่า สุตตะ กล่าวคือ
การเรียนรู้จากบริบทภายนอก สุตตะปัญญา เป็นการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานที่ใช้หู ตา มือ และเป็นการเรียนรู้เบื้องต้นที่เรียนรู้
ได้ แต่ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ดังนั้นเราจำเป็นต้องปฏิรูปการศึกษาหรือปฏิรูปการเรียนรู้โดยใช้ศักยภาพของ
แต่ละคน
การพัฒนาประเทศ คือการพัฒนาคน หากทุกคนได้รับการพัฒนาและคนมีคุณภาพจะส่งผลให้เกิดการพัฒนา
ประเทศ ในปัจจุบันเรามักแยกเรื่องการประกอบอาชีพหรือการทำมาหากินออกจากการเรียนรู้ ทำให้การปฏิรูปการศึกษา
ไม่สมบูรณ์ ถ้าเราทำงานด้วยการเรียนรู้และใช้หลักการวิจัย มีการนำองค์ความรู้มาใช้จะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นและผลงาน
มีคุณภาพนำไปสู่การพัฒนา
การประเมินคุณภาพ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้กำหนดให้มีการประกันคุณภาพ ซึ่งแบ่งออกเป็น
2 ส่วนคือ การประเมินภายในและการประเมินภายนอก เมื่อกฎหมายกำหนดถึงเรื่องการประเมินการศึกษา เราให้ความ
สำคัญกับการประเมินภายใน แต่ปัจจุบันเรากลับให้ความสำคัญกับการประเมินคุณภาพภายนอกมากเกินไป ทำให้โรงเรียน
สร้างภาพลักษณ์เฉพาะหน้าเท่านั้น การประกันคุณภาพภายในเป็นการประกันคุณภาพส่วนที่เป็น สมอง ของโรงเรียน
ส่วนแรกคือผู้เรียน ต่อมาคือครูและผู้บริหาร กล่าวคือการที่ผู้เรียนประเมินผลกากรเรียนของตนเอง ครูประเมินผลการสอน
ของตนและผู้บริหารประเมินผลการบริหารของตนเอง และจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ทั้ง 3 ส่วนเรียกว่าการประเมิน
คุณภาพภายใน ซึ่งเป็นการประเมินที่ถูกต้องและสำคัญที่สุดที่ควรจะต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ คิดเป็นร้อยละ 80 ของ
การประเมินทั้งหมด สำหรับการประเมินภายนอกเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
สิ่งที่ได้กล่าวมาทั้งหมดในเรื่องการศึกษา การปฏิรูปการศึกษา การพัฒนาประเทศ และการประเมินคุณภาพ
การศึกษา ก็คือเรื่องการปฏิรูปการเรียนรู้นั่นเอง ดร. รุ่ง แก้วแดง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
กล่าว
ผศ. ดร. อำภา บุญช่วย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต
ปัตตานี กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการว่าเพื่อรายงานผลความก้าวหน้าและเปิดโอกาสให้ครู ผู้บริหาร บุคลากร
ทางการศึกษาทุกระดับ องค์กรท้องถิ่น องค์กรเอกชน สื่อมวลชนและประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีโอกาส
รับทราบความก้าวหน้าของการดำเนินการปฏิรูปการศึกษาและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการประกันคุณภาพ
การศึกษา การเตรียมการเพื่อพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก ตลอดจนเผยแพร่และผลักดันให้การปฏิรูปการศึกษา
สำเร็จตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อให้เกิดพลังสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และเกิดวัฒนธรรม
คุณภาพ
มหาวิทยาลัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดโครงการรวมพลังเพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาไทยครั้งนี้ ทำให้
ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญในการร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพและปฏิรูปการศึกษา
เพื่อนำไปสู่การพัฒนาสถานศึกษาให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการและเป็นแบบอย่างของสังคมแห่งการเรียนรู้แก่ชุมชนใน
ท้องถิ่นต่อไป รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิเทศสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าว
************************************
|