สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี สถานเอกอัครราชทูต
สาธารณรัฐเชกประจำประเทศไทย สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม สมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย ได้จัด
นิทรรศการภาพถ่ายประวัติศาสตร์ไทยชุด มองสยามผ่านสายตาสองนักเดินทางอย่างเอ็นริเก้ สตังโก้ วรัส และ
โจเซฟ โกเรนสกี้ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 18 สิงหาคม 2547 ณ หอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ทั้งนี้เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 28 กรกฎาคม 2547 โดย ฯพณฯ HE. Dr. Jiri
Sitler เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเชกประจำประเทศไทย และนายบุรี แก้วเล็ก ผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม
ได้ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิด
รองศาสตราจารย์ระวีวรรณ ชอุ่มพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่าการจัดนิทรรศการภาพถ่ายหากยากครั้งนี้ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
ได้รับเกียรติจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเชกประจำประเทศไทย สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้ประสาน
ภาพถ่ายจากพิพิธภัณฑ์สถาน Naprstek ณ กรุงปราก ประเทศสาธารณรัฐเชก ภาพที่จัดแสดงมีจำนวนทั้งสิ้น 70 ภาพ
เป็นภาพถ่ายประวัติศาสตร์สยามที่เอ็นริเก้ สตังโก้ วรัส และโจเซฟ โกเรนสกี้ ชาวเชก ได้ถ่ายไว้เมื่อสมัยที่ได้
เดินทางมาประเทศไทยในปี ค.ศ. 1895 และ ค.ศ. 1901 เป็นภาพถ่ายเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ธรรมชาติ
วัด และวิถีชีวิต เป็นต้น ภาพเหล่านี้มีคุณค่ายิ่งสำหรับประเทศไทย การจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่ายครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่
28 กรกฎาคม 18 สิงหาคม 2547 ณ หอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
เพื่อเผยแพร่ภาพถ่ายที่หากยากที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทยให้แก่นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจ และร่วมเฉลิม
พระเกียรติ 72 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ฯพณฯ HE. Dr. Jiri Sitler เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเชกประจำประเทศไทย กล่าวว่าภาพถ่ายที่จัดแสดง
ครั้งนี้มาจากผลงานการเก็บรวบรวมของพิพิธภัณฑ์ Naprstek ที่กรุงปราก ประเทศสาธารณรัฐเชก พิพิธภัณฑ์นี้ก่อตั้งขึ้น
เพื่อสนับสนุนวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ของชาวยุโรป โดยผู้ใจบุญชาวเชกที่มั่งคั่งในศตวรรษที่ 20 และยังคงอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้
มิสเตอร์ Naprstek ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังคงส่งเสริมการเดินทางของนายเอ็นริเก้ สตังโก้ วรัส ผู้ถ่ายภาพชุดนี้
อีกด้วย วรัสได้มาถึงสยามเมื่อเดือนมีนาคม 1897 ส่วนนายโจเซฟ โกเรนสกี้ ได้มาถึงสยามในปี 1901 นายวรัส
เป็นช่างภาพที่มีความกระตือรือร้นเป็นอย่างมาก เห็นได้จากการที่เขาแบกกล้องอันหนักไปตลอดการเดินรอบโลก
พร้อมกับนำรูปภาพอันวิเศษกลับมาด้วย หนังสือที่เขาเขียนก็เป็นหนังสือที่อ่านง่ายและได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่ง
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ชาวเชกมีความสนใจในประเทศอันน่าพิศวงและความมีมิตรไมตรีของประเทศท่านเป็น
อย่างมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นกษัตริย์ที่มีชื่อเสียงในการวางรากฐานความสัมพันธ์อันเหนียวแน่นระหว่าง
ไทยและยุโรป สิ่งเหล่านี้เห็นได้จากงานของนายวรัสที่ฉายพระรูปของพระองค์ท่านครั้งที่เสด็จประพาสยุโรปในปี
1897
กระผมใคร่ที่จะแสดงความขอบคุณพิพิธภัณฑ์ Naprstek ต่อการเตรียมการในงานนิทรรศการชุดนี้ กระทรวง
วัฒนธรรม และสถานเอกอัครราชทูตอเมริกา ที่ได้มอบพลังและความอุตสาหะอันมากมายในการจัดงานครั้งนี้
กระผมรู้สึกขอบคุณกระทรวงวัฒนธรรมที่ได้มีนิทรรศการภาพถ่ายครั้งนี้ซึ่งได้จัดแสดงมาแล้ว 2 ครั้ง ที่หอศิลป์สิริกิติ์
และศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี่ กรุงเทพฯ อีกทั้งยังจัดแสดงที่หอจดหมายแห่งชาติสุพรรณบุรี เชียงใหม่ และ
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติขอนแก่นอีกด้วย สถานทูตสาธารณรัฐเชก ยังมีความมุ่งหมายที่จะผลิตหนังสือที่รวบรวม
ภาพถ่ายและข้อความจากหลาย ๆ ช่วงระยะเวลาที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสาธารณรัฐเชกและประเทศไทย
เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเชกประจำประเทศไทยกล่าว
เอ็นริเก้ สตังโก้ วรัส (1860 1932)
เอ็นริเก้ สตังโก้ วรัส เกิดในปี ค.ศ. 1860 ที่บัลแกเรีย อันเป็นสถานที่ที่บิดาของเขาทำหน้าที่ทูตอยู่
วรัสได้เริ่มต้นออกเดินทางในปี ค.ศ. 1880 โดยมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่แอฟริกา เขาได้ท่องเที่ยวไปถึงโมรอคโค
และแกมเบีย และใช้เวลาอยู่ที่ Ivory Coast เพื่อรักษาตัวจากโรคมาเลเรีย ช่วงเวลานั้นเองที่วรัสได้เริ่มต้น
การเป็นช่างภาพเป็นครั้งแรก ซึ่งอาชีพนี้ได้ติดตัวเขาไปตลอดการเดินทางในภายหลังและทำให้เขามีรายได้เพิ่มขึ้น
ด้วยการขายภาพ ในช่วงเวลาดังกล่าวเขาได้เริ่มส่งภาพที่บันทึกไว้ระหว่างการเดินทางไปที่พิพิธภัณฑ์ Naprstek
ในกรุงปราก พิพิธภัณฑ์นี้ก่อตั้งขึ้นโดยนาย Vojta Naprstek บุคคลสำคัญที่มีความสนใจอย่างแรงกล้าในเรื่อง
ของวัฒนธรรมเอเชียและแอฟริกา พิพิธภัณฑ์ Naprstek นี้ยังเป็นพิพิธภัณฑ์ในสาธารณรัฐเชกแห่งเดียวที่มี
ความสนใจและศึกษาเป็นพิเศษในเรื่องของศิลปวัตถุและโบราณวัตถุที่ไม่ได้อยู่ในประเทศแถบยุโรป
ในปี 1895 วรัสได้เดินทางมาที่เอเชีย โดยออกเดินทางมาจากอเมริกาเหนือมาถึงญี่ปุ่น สิงคโปร์
บอร์เนียว นิวกินี และประเทศไทย เขามาถึงกรุงเทพฯ ในเดือนมีนาคม 1897 ช่วงเวลาที่เขาอยู่ที่นี่เขาได้บรรยาย
ถึงกรุงเทพฯ และอยุธยา ในหนังสือของเขาที่ชื่อว่าอาณาจักรแห่งช้างเผือก (In the Country of the White
Elephant) เขาได้จับเอาความสวยงามของธรรมชาติ วัฒนธรรม และชีวิตที่เรียบง่ายของผู้คนมานำเสนอในรูปแบบที่
น่าสนใจและเรื่องราวที่น่าทึ่ง วรัสยังเป็นผู้ที่ได้เห็นการออกเดินทางประพาสยุโรปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
อีกด้วย มีหลายครั้งหลายตอนด้วยกันที่เขานำรูปภาพที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ไปลงในหนังสือที่เขาเขียน วรัสได้เดินทาง
ออกจากประเทศไทยและกลับยุโรปในปีต่อมา เขาได้แต่งงานและมีบุตร 2 คน ซึ่งในภายหลังเขาได้แยกทางกับ
ภรรยาและนำบุตรสาวมาอยู่กับเขาด้วยที่เชกโกสโลวาเกีย วรัสยังคงความเป็นนักเดินทางอยู่เสมอ แต่แล้วในปี 1921
สุขภาพที่ย่ำแย่ของเขาเป็นตัวบังคับให้เขาต้องหยุดการเดินทางลง วรัสได้ตั้งรกรากอยู่ที่กรุงปราก สถานที่นี้เองที่เขา
ได้มอบสไลด์และคำบรรยายการเดินทางของเขา วรัสยังคงยึดมั่นการเขียนบทความและหนังสืออยู่ จนช่วงปลายของ
ชีวิตเขาได้ดำเนินรายการวิทยุจนกระทั่งเสียชีวิตลงในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1932 ณ กรุงปรากนั่นเอง
พิพิธภัณฑ์ Naprstek เป็นสถานที่ที่เก็บฟิล์ม สไลด์ และรูปภาพหลายพันชิ้นของเขา อีกทั้งยังมีการจัดตั้ง
กองทุนพิเศษขึ้น ตั้งแต่ที่เขาได้นำรูปภาพเข้ามา วรัสเป็นชาวเชกเพียงคนเดียวในช่วงเวลานั้นที่ได้เดินทางไปในหลาย
ประเทศพร้อมด้วยกล้อง เขาเป็นบุคคลแรก ๆ ที่ถ่ายภาพไว้พร้อมกับการเดินทาง ภาพถ่ายของเขารับเอาสถาปัตยกรรม
ธรรมชาติ และทิวทัศน์มานำเสนอ เรื่องราวที่เขาพรรณนาในหนังสือก็เป็นเรื่องที่อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย จึงไม่น่าแปลก
ที่หนังสือของเขาจะเป็นที่นิยมและถูกพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีกตลอด 50 ปีที่ผ่านมา
โจเซฟ โกเรนสกี้ (1847 1938)
โจเซฟ โกเรนสกี้ เป็นครูโรงเรียนมัธยมที่เดินทางมากกว่า 30 เที่ยว ในช่วงระหว่างที่โรงเรียนปิดภาค
ในระหว่างปี 1893 1894 เขาเป็นชาวเชกคนแรกที่เดินทางรอบโลกและในปี 1900 1901 เขาได้เริ่มเดินทางไปทั่ว
เอเชีย ออสเตรเลีย ทัสมาเนีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะแปซิฟิค เขาได้ตีพิมพ์เรื่องราวและประสบการณ์ของเขาใน
หนังสือพิมพ์ บทความในนิตยสารและหนังสือ ผู้อ่านที่ติดตามผลงานของเขามีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โกเรนสกี้มาถึงกรุงเทพฯ
ในเดือนพฤษภาคม ปี 1901 และได้ตีพิมพ์หนังสือที่เกี่ยวข้องกับการสังเกตการณ์ของเขาที่ชื่อว่า To the Antipodes
ด้วยความที่เป็นครู เขาสนใจในธรรมชาติ ชีวิต และขนบธรรมเนียมของผู้คน เขาได้นำชิ้นงานอันน่าตรึงใจกลับสู่
พิพิธภัณฑ์ Naprstek รวมไปถึงภาพถ่ายที่นำมาจากการเดินทางรอบโลก ซึ่งเขาได้ใช้มันควบคู่ไปกับงานบรรยายด้วย
***************************************
|