รัฐหนุนให้ ม.อ.ปัตตานี เป็นสถาบันพี่เลี้ยงให้ชุมชน ผลพวงจากโครงการเรียนรู้ร่วมกัน
สรรค์สร้างชุมชนจัดทำแผนพัฒนาชุมชน โครงการบูรณาการตัวอย่างตามแผนยุทธศาสตร์ 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้
พลโทพิศาล วัฒนวงศ์คีรี แม่ทัพกองทัพภาคที่ 4 เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการโครงการ
เรียนรู้ร่วมกัน สรรค์สร้างชุมชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ณ ตำบลทรายขาว
อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เมื่อวันที่ 21 เมษายน ที่ผ่านมา โดยเป็นกิจกรรมโครงการเชิง
บูรณาการตัวอย่าง ทรายขาว มุมมองใหม่สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วยโครงการต่างๆ เช่น
โครงการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ส้มแขก โครงการชุมชนทรายขาวก้าวสู่โลกกว้างผ่าน
ทางอินเตอร์เน็ต โครงการทรายขาวสะอาด โครงน้ำดื่มสะอาดสู่สุขภาพดี โครงการวิถีชีวิต
ชุมชนไทยใช้สมุนไพรอย่างคุ้มค่า โครงการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยสองมือเรา โครงการเขียน
โครงการแบบพื้นฐาน และการบริการตรวจสุขภาพโดยหน่วยแพทย์สนามทหารค่ายเขต
อุดรศักดิ์ อ.เมือง จ.ชุมพร
รศ.ผดุงยศ ดวงมาลา รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต
ปัตตานี กล่าวว่าโครงการเรียนรู้ร่วมกัน สรรค์สร้างชุมชน เป็นความต้องการของรัฐบาล
ที่จะเปิดโอกาสให้นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ได้ใช้เวลาช่วงปิดภาคการศึกษาทำกิจกรรม
ที่สร้างสรรค์ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ก่อเกิดรายได้หรือเพิ่มทักษะด้านอาชีพพร้อมทั้ง
ได้รับรู้ปัญหาและจัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับชุมชนเพื่อให้ชุมชนได้มี
การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยร่วมกันวางแผนกับคนในชุมชนและทำรายงานข้อคิดเห็น
ข้อเสนอแนะรัฐบาล จากความสำเร็จของการดำเนินงานโครงการ 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้รัฐได้
จัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินงานโครงการเพิ่มขึ้นเป็น 168 ล้านบาท กำหนดเป้าหมาย
ดำเนินงานจังหวัดละ 3 ตำบลหรือ รวมมีพื้นที่ปฏิบัติงานทั้งประเทศจำนวน 288 ตำบล กำหนด
ให้ 2 ตำบลเป็นพื้นที่เคยมีการดำเนินงานเมื่อปี 2545-2546 เพื่อดำเนินการในลักษณะ
ขยายผลหรือต่อยอดงานที่ได้วางแผนหรือดำเนินการไว้แล้วให้บรรลุผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
โดยเน้นการบูรณาการกิจกรรมทั้ง 8 ด้าน คือกิจกรรมหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ กิจกรรม
อินเตอร์เน็ตตำบล กิจกรรมผังเมืองหรือชุมชนหรือหมู่บ้าน กิจกรรมทัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม กิจกรรมสุขภาพชุมชนหรือสาธารณะสุข กิจกรรมสมุนไพรและอาหารเสริม
กิจกรรมศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น และกิจกรรมท่องเที่ยวจากพื้นที่ 228 ชุมชน
ใน 76 จังหวัด ที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมภาคสนาม ในปี 2547 ทีตำบลทรายขาว
อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี รับผิดชอบ โดยมีนักศึกษาจากสถาบันมหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
สถาบันราชภัฎสงขลา สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครใต้ มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี สถาบันราชภัฎยะลา มหาวิทยาลัยทักษิณ และสถาบัน
เทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตตรัง จำนวน 40 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรมดำเนินงานในการ
ศึกษาสำรวจหาข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทั่วไป สภาพปัญหา และความต้องการ ศักยภาพ
ชุมชนตำบลทรายขาวและนำเสนอข้อเสนอแนะโครงการเกี่ยวกับกิจกรม 8 ด้านดังกล่าว
นายสมบัติ ศรีสมบัติ นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ชั้นปีที่ 2
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งเข้าร่วมโครงการเป็นปีที่ 2 บอกว่า
เพื่อนๆ ที่ร่วมทำงานด้วยกันในพื้นที่นี้มาจากหลายสถาบันการศึกษาซึ่งแม้ระยะแรกจะ
ไม่ค่อยจะคุ้นเคยกันแต่ด้วยความสำนึกในการทำกิจกรรม เพื่อการพัฒนา จึงทำให้สามารถ
อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และสนุกกับการทำงานที่ได้รับมอบหมาย การทำงานจะแบ่งกลุ่ม
กิจกรรมออกเป็น 8 กลุ่มๆ ละ 5 คน นักศึกษาจะเข้าไปหาข้อมูลจากชาวบ้านและหน่วยงาน
ในชุมชนในเรื่องที่ตนรับผิดชอบ ซึ่งแต่ละชุมชนจะมีปัญหาที่แตกต่างกัน ชาวตำบลทรายขาว
มีความรู้สึกที่ดีและมีความเข้าใจในการทำงานของนักศึกษา เนื่องจากมหาวิทาลัยสงขลานครินทร์
ได้มีการประสานงานไปยังนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในการช่วยกระจายข่าวการเข้าทำ
กิจกรรมในพื้นที่ตัวนักศึกษาเอง กิจกรรมเรียนรู้ร่วมกัน สรรค์สร้างชุมชน คนในชุมชน
จึงไม่มีความกังวลในการให้ข้อมูลและมีความไว้วางใจเป็นอย่างดี
สำหรับนักศึกษาแม้ว่าจะมีค่าตอบแทนส่วนหนึ่งจากการเข้าร่วมโครงการนี้ หลายคน
อาจคิดเช่นนี้ในระยะแรก แต่ความรู้สึกจะเปลี่ยนไปเมื่อมาอยู่ร่วมกันหลายวัน เพื่อนเขาได้อยู่
ร่วมกับเพื่อนต่างสถาบัน ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกัน ได้เรียนรู้จากชุมชน ซึ่งเป็น
ประสบการณ์ชีวิตที่เงินไม่สามารถ จะซื้อได้ นายสมบัติ ศรีสมบัติกล่าว
นายมะซอและ ปาลีมอ ประธานโครงการเรียนรู้ร่วมกันสรรค์สร้างชุมชน ปี 2547
กล่าวถึงข้อเสนอแนะโครงการบูรณาการว่าจากการสำรวจและศึกษาเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่
ทั่วไปในชุมชน สภาพปัญหาภายในชุมชนและความต้องการของชุมชนของกิจกรรมทั้ง 8 ด้าน
พบว่าชุมชนทรายขาวเป็นชุมชนทีค่อนข้างเข้มแข็งในทุกๆด้าน ตั้งแต่ทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อม มรดกทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งการอยู่รวมกันอย่างสันติ
ผสมผสานกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชุมชน 2 ศาสนาคือไทยพุทธ-มุสลิม และ
ใช้แนวทางการมีส่วนร่วมรวมกลุ่มกันในการจัดการบริหารงานด้านต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม
ในบางชุมชนหรือหมู่บ้าน ยังคงมีจุดอ่อนให้เห็น เช่นแบ่งกลุ่มไม่ประสบผลสำเร็จในการจัดตั้ง
กลุ่มกิจกรรมต่างๆ ด้านสาธารณูปการ สาธารณูปโภค บางส่วนยังไมเพียงพอ ดังนั้นเพื่อให้
เกิดการแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของชุมชนทั้งระบบ จึงควรใช้การแก้ปัญหาเชิง
บูรณาการเพื่อให้ชุมชนมีการเติบโตพัฒนาอย่างยั่งยืน
ผศ.ดร.วรวิทย์ บารู รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและชุมชน มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวเพิ่มเติมว่านิสิตนักศึกษาโครงการเรียนรู้ร่วมกัน
สรรค์สร้างชุมชนปี 2547 ได้จัดทำแผนพัฒนาชุมชน เอกสารท้องถิ่นและโครงการบูรณาการ
ตัวอย่างขึ้นจากการศึกษายุทธศาสตร์ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ยุทธศาสตร์จังหวัดปัตตานี
แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนยุทธศาสตร์สาธารณะสุข และได้ทำการลงพื้นที่
ทุกหมู่บ้านในตำบลทรายขาว เพื่อทำการสำรวจข้อมูล ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ
ของชุมชน จากนั้นได้นำข้อมูลทำการวิเคราะห์โดยใช้หลักการ swot หาจุดเด่น จุดด้อย
โอกาส และอุปสรรคต่างๆ ทำให้ได้ข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนพัฒนาชุมชน ซึ่งทาง
นิสิตนักศึกษาโครงการเรียนรู้ร่วมกัน สรรค์สร้างชุมชนปี 2547 ได้จัดทำแผนพัฒนาตำบล
ทรายขาว และคิดโครงการที่สมารถจัดทำได้เป็นรูปธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพ
ปัญหาอย่างแท้จริง การดำเนินงานโครงการในปีนี้นอกจากจะให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
แล้ว ทำให้สถาบันการศึกษาที่รับผิดชอบมีข้อตกลงร่วมกับชุมชนว่าด้วยการให้ชุมชนเข้ามา
เป็นเครือข่ายของสถาบันให้ชุมชนมั่นใจว่าถ้าชุมชนมีปัญหาสถาบันพร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือ
แนะนำวิทยาการสมัยใหม่จะมีกิจกรรมไปดำเนินการในชุมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
************************************
|