: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ฉบับที่ 51 ประจำเดือน 08 2549
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี เปิดเสวนาเครือข่ายป่าเพื่อพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการป่าอย่างยั่งยืน
รายละเอียด :
         คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  จัดเสวนา
เครือข่ายป่าเรื่องบทบาทของนักวิชาการ  นักศึกษา  ม.อ. ปัตตานี  และองค์กรพัฒนาเอกชน  ในการ
สนับสนุนพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการป่าอย่างยั่งยืน   ในวันศุกร์ที่  18  สิงหาคม  2549  เนื่องใน
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติและงาน  ม.อ. วิชาการ  ประจำปี  2549  เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วม
หาแนวทางการทำงานในการสนับสนุนพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการป่าอย่างยั่งยืน
         ผศ. นุกูล  รัตนดากุล  ประธานโครงการเสวนาเครือข่ายป่า  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขต
ปัตตานี  กล่าวว่าภาคใต้ของประเทศไทยมีป่าหลายประเภทกระจายอยู่ในระบบลุ่มน้ำ  บริเวณพื้นที่ชายฝั่ง
จะพบป่าชายหาด  ป่าสันทรายเก่า  ป่าพรุ  ป่าชายเลน  บริเวณพื้นที่รับน้ำจะเป็นป่าพรุน้ำจืดและระบบทุ่งหญ้า  
ส่วนบริเวณต้นน้ำจะเป็นพื้นที่ป่าดิบเขา ในพื้นที่จะพบป่าเหล่านี้กระจายอยู่ตามชุมชน วัด  โรงเรียน  สถาบัน
การศึกษา  และอื่น  ๆ  แต่ส่วนใหญ่จะเป็นป่าที่มีเอกสารสิทธิ์  บางแห่งเป็นป่าสงวน  และเป็นป่าในพื้นที่
สาธารณประโยชน์  มีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่รอบ  ๆ  ผสมผสานใช้ประโยชน์จากป่าร่วมกัน  2  วัฒนธรรม  
ระหว่างมุสลิมกับพุทธ  แต่ส่วนใหญ่เป็นชุมชนมุสลิม ชุมชนทั้ง  2 วัฒนธรรม  มีประวัติศาสตร์ของ
การอยู่ร่วมกันโดยใช้หลักการทางศาสนาและระบบความเชื่อ    แต่การใช้ประโยชน์จากป่าจะแตกต่างกัน
ตามสภาพภูมิศาสตร์และที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ  ชุมชนมีการจัดการอย่างไรจึงไม่เกิดความขัดแย้ง มีหลาย
กรณีที่ชาวไทยพุทธพึ่งพาทรัพยากรในป่าที่เป็นกรรมสิทธิ์ของไทยมุสลิม   ซึ่งมีสาระที่น่าสนใจและสมควร
ถอดบทเรียนให้เป็นตัวอย่างเพื่อส่งเสริมสู่การขยายผลให้กว้างขวางต่อไป    และสามารถนำบทเรียน
มาเป็นตัวอย่างในการจัดการทรัพยากรในพื้นที่อื่น  ๆ  ได้  เป็นตัวช่วยในการกระบวนแก้ปัญหาความขัดแย้ง
ภายใน   3  จังหวัดชายแดนภาคใต้  และสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นได้
         ด้วยศักยภาพของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขต
ปัตตานี  ซึ่งเป็นสถาบันทางการศึกษาในท้องถิ่นที่มีนักวิชาการ  นักศึกษา  และอาจารย์  มีความหลากหลาย
ในสาขาวิชา  ประกอบกับมีบุคลากรและนักศึกษาที่ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง  โดยผ่านกระบวนการสอน
งานวิจัย และกิจกรรมบริการความรู้ทางวิชาการต่าง   ๆ   ร่วมกับเครือข่ายชาวบ้านในพื้นที่ต่าง  ๆ  ใช้ยุทธวิธี
ในการทำงานแบบเข้าถึง  เข้าใจ  แบบบูรณาการ  และเน้นให้เห็นความสำคัญขององค์รวมในทุกฐาน
ทรัพยากรที่เกื้อกูลจากทุกกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป้าหมายในการรักษาความมั่นคงที่ยั่งยืนของท้องถิ่น
ที่มีฐานมาจากความเข้าใจบนพื้นฐานทรัพยากรที่เหมือนกัน  จากความสำคัญดังกล่าว  คณะวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี   จึงได้จัดเสวนาเครือข่ายป่าเรื่อง   บทบาท
ของนักวิชาการ   นักศึกษา  ม.อ. ปัตตานี  และองค์กรพัฒนาเอกชน  ในการสนับสนุนพัฒนาศักยภาพ
ของชุมชนในการจัดการป่าอย่างยั่งยืน  ในวันศุกร์ที่  18  สิงหาคม  2549  ณ  อาคาร  51  B   คณะวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี   เนื่องในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติและงาน  ม.อ. วิชาการ  ประจำปี   2549    เพื่อเป็นเวที
แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อร่วมหาแนวทางการทำงานในการสนับสนุนพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดการป่า
อย่างยั่งยืน

                                                     *********************************
โดย : * [ วันที่ ]