รายละเอียด :
|
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้คณะผู้บริหารวิทยาเขตปัตตานีชุดใหม่
รองรับและพัฒนากิจการมหาวิทยาลัยตามวิสัยทัศน์และพันธกิจที่จะเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งสร้าง
องค์ความรู้ ประยุกต์เทคโนโลยี เพื่อชี้นำและพัฒนาสังคมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ
เน้นการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ใกล้ชิดกับชุมชน รองรับนโยบายแผนยุทธศาสตร์กลุ่ม 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมปอง ทองผ่อง รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผยว่านโยบายและแผนพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2546 2549
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิทยาเขตให้เข้มแข็ง สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างคล่องตัว ยืดหยุ่น และ
เกื้อหนุนกันระหว่างวิทยาเขตปัตตานี และกำหนดเป็นกลยุทธ์ให้มีแผนพัฒนาวิทยาเขต ในการจัดทำ
แผนพัฒนาวิทยาเขตปัตตานี ได้ดำเนินการวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ศึกษาและวิเคราะห์สภาพ
แวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นกรอบและแนวทางจัดทำแผน สภาพปัจจุบันของวิทยาเขตปัตตานี มีพื้นที่
ทั้งหมด 1,368 ไร่ กระจายอยู่ใน 6 พื้นที่ของ 3 จังหวัดคือ ปัตตานี ยะลา และสงขลา ประกอบ
ด้วยพื้นที่ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี เป็นบริเวณที่ดั้งเดิมของมหาวิทยาลัย มีพื้นที่
ทั้งสิ้นประมาณ 922 ไร่ พื้นที่ตำบลคลองเปี๊ยะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ประมาณ 24 ไร่ และ
พื้นที่ตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ เป็นสถานีบริการวิชาการแก่
ชุมชน ให้บริการแก่ประชาชนชนบทในจังหวัดภาคใต้ เน้นแบบให้เปล่าโดยอาศัยกระบวนการฝึกอบรม
พัฒนาอาชีพรายได้และคุณภาพชีวิต และสถานีเพาะฟักสัตว์น้ำ พื้นที่ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัด
ปัตตานีมีพื้นที่ประมาณ 17 ไร่ ใช้เป็นสถานที่บริการวิชาการแก่ชุมชนโดยเน้นแบบให้เปล่าทางด้านการ
เกษตร สมุนไพรการแพทย์แผนไทยและอาสาสมัครมัคคุเทศก์ท้องถิ่น โครงการสาธิตพืชสมุนไพร
และพันธุ์ไม้ชายเลน โครงการนำร่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตชนบท จังหวัดปัตตานี พื้นที่ตำบลท่าธง
อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เป็นพื้นที่ตั้งโครงการขยายงานใหม่ของมหาวิทยาลัย มีพื้นที่
ทั้งสิ้นประมาณ 400 ไร่ ซึ่งจะดำเนินการพัฒนาเป็นสถานีวิจัยและฝึกงานเทคโนโลยีการเกษตร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมปอง ทองผ่อง กล่าวเพิ่มเติมว่าการพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายประการ แต่ที่นำมาพิจารณาคือทิศทางหลักของ
แผนมหาวิทยาลัยประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ การเป็นมหาวิทยาลัยเน้นวิจัยอย่าง
ต่อเนื่อง เตรียมพร้อมในการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับและเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ องค์กรแห่ง
ธรรมาภิบาล สร้างความใกล้ชิดกับชุมชน และการตอบสนองการปฏิรูปการเรียนการสอนตาม พ.ร.บ.
การศึกษาใหม่ นอกจากนี้ยังต้องรองรับนโยบายแผนยุทธศาสตร์กลุ่ม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ในการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล การค้าชายแดนและการท่องเที่ยว ศูนย์กลางอิสลาม
ศึกษานานาชาติ และการเสริมสร้างความมั่นคง
ดังนั้นแนวคิดในการพัฒนามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จะต้อง
เสริมสร้างความมั่นคง โดยวิทยาลัยอิสลามศึกษา จะต้องเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาคด้าน
อิสลามศึกษาและของนักเรียนจากประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย บังคลาเทศ ปากีสถาน และรวม
ทั้งชุมชนชาวไทย คณะศึกษาศาสตร์ต้องเป็นต้นแบบของการปฏิรูปการเรียนการสอน ในสภาวะ
ที่ระบบการศึกษาปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงเร็วมาก คณะศึกษาศาสตร์ต้องเน้นผลิตบัณฑิตในระดับ
ปริญญาโทและปริญญาเอก และเป็น Research Faculty คณะมนุษยศาสตร์และสังคม
ศาสตร์ เป็นคณะที่เป็นชุมชนของการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โครงการนำร่องคือพัฒนาหลักสูตร
ภาษาฝรั่งเศส ภาษาจีน ให้เป็นที่หนึ่งของประเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เน้นความเป็น
เลิศทางด้านเทคโนโลยียางและโครงการอาหารฮาลาล การเป็นผู้รู้จริงเกี่ยวกับภูมิภาคเอเซีย
ตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนมหาวิทยาลัยต้องมีบทบาทต่อสันติศึกษา (Peach Study) ซึ่งมี
แนวทางการดำเนินการ 3 เรื่องคือ Islamic Studies Development , Reflexive Education
และ Conflict Resolution วิทยาเขตปัตตานีโดยวิทยาลัยอิสลามศึกษา เป็นแกนดำเนินการเรื่อง
Islamic Studies Development
แนวทางการพัฒนาวิทยาเขตปัตตานีให้เข้มแข็ง มีแนวทางหลักโดยการปรับระบบของวิทยาเขต
ปัตตานี จากความรู้สึกว่าเป็น Provincial Campus ขึ้นไปสู่การเป็น National Campus และ
เป็น Regional Campus รองรับการเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาค ขนาดของวิทยาเขตปัตตานี
ต้องเป็นขนาดใหญ่ มีจำนวนนักศึกษาประมาณ 14,000 16,000 คน ภายใน 56 ปีข้างหน้า
โดยจัดตั้งคณะใหม่เพื่อรองรับการเพิ่มจำนวนนักศึกษา เพิ่มหน่วยงานสนับสนุน เพิ่มสาขาวิชาใหม่
และสร้างความเข้มแข็งจากสาขาวิชาเดิม ปรับหลักสูตรเดิมให้เปิดกว้างขึ้น การพัฒนารูปแบบวิธีการ
ในการบริหารจัดการ ทั้งในส่วนที่เป็นความเฉพาะของวิทยาเขตและการเชื่อมโยงระหว่างวิทยาเขต
กับส่วนกลางของมหาวิทยาลัย พัฒนา Infrastructure ให้มีความพร้อม สามารถสนับสนุนการเจริญ
เติบโตอย่างเหมาะสม ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมปอง ทองผ่อง กล่าว
********************************
|