คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส. ) เปิดเวทีสมานฉันท์ ณ มหาวิทยาลัย
สงขลานครนิทร์ วิทยาเขตปัตตานี รับฟังปัญหาประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประสบผล
สำเร็จระดับหนึ่ง พบปัญหาที่ต้องรอการแก้ไขและการเยียวยาโดยอาศัยโครงสร้างของกระทรวงสาธารณสุข
และแต่งตั้งอดีตแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นประธานคณะทำงานในพื้นที่ พร้อมทั้งมีมติให้เปิดเผยรายงานกรณีกรือเซะ
และตากใบ
นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส. ) ได้เปิด
แถลงข่าวผลการประชุมคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2548 ณ ห้องมะเดื่อ
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อวันที่ 24
เมษายน 2548 ว่า ตลอดการประชุมคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติที่จังหวัดปัตตานี
เมื่อวันที่ 22 24 เมษายน 2548 ได้มีการประมวลข้อมูลต่าง ๆ จากการที่ได้ลงพื้นที่พบปะกับประชาชน
ญาติผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลที่ได้จากการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า สิ่งใดที่ควรจะต้องมีการปรับปรุงเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่บ้าง
แต่ประเด็นการหารือดังกล่าวยังไม่มีข้อสรุปใด ๆ เนื่องจากจะต้องมีการหารือกันอีกหลายครั้ง นอกจากนี้
คณะกรรมการฯ ยังได้หารือเกี่ยวกับโครงสร้างการทำงานของคณะกรรมการและแนวทางในการปฏิบัติ
งานต่าง ๆ มีการนำเสนอแต่งตั้งคณะอนุกรรมการในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีพลเอกณรงค์ เด่นอุดม
อดีตแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นประธานคณะอนุกรรมการ ทำหน้าที่ให้คำแนะนำในการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ
รวมทั้งเผยแพร่ข่าวสารของคณะกรรมการฯ สู่ประชาชนในพื้นที่
กระแสพระราชเสวนีย์ที่ทรงย้ำการไม่ใช้ความรุนแรงและทุกคนต้องช่วยกัน ทำให้ตนเองมีความคิดว่า
ในอนาคตจะต้องกองทุนเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน นักธุรกิจเข้ามามีส่วนร่วมในการเยียวยาประชาชน ไม่ใช่การ
เยียวยาเฉพาะด้านวัตถุอย่างเดียว แต่จะต้องคำนึงถึงมิติอื่น ๆ ด้วย โดยไม่คำนึงถึงว่าเป็นฝ่ายใด นายอานันท์
ปันยารชุน กล่าว
สำหรับผลการสอบสวนกรณีการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบในมัสยิดกรือเซะ จังหวัดปัตตานี และการ
สลายผู้ชุมนุมหน้าสถานีตำรวจภูธรอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส นั้น คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาข้อมูลและ
เนื้อหาที่ระบุในรายงานของคณะกรรมการอิสระไต่สวนข้อเท็จจริงจำนวนกว่า 58 หน้า ซึ่งจากการพิจารณา
แล้วเห็นว่าข้อมูลในรายงานสามารถเปิดเผยได้ จึงได้มอบเอกสารดังกล่าวให้กับสื่อมวลชน เพื่อทำความเข้าใจ
ที่ตรงกันและนำไปสู่ความสมานฉันท์ต่อไป แต่คณะกรรมการฯ ไม่สามารถให้คำตอบได้ว่าข้อมูลการสอบสวนผิด
หรือถูก เนื่องจากคณะกรรมการฯ ไม่ได้เป็นผู้สอบสวนเอง
ในรายงานดังกล่าวได้มีการปกปิดชื่อของบุคคลที่ระบุไว้ในขั้นตอนการสอบสอน ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย
ของพยานที่ได้ให้การกับเจ้าหน้าที่ แต่ไม่ได้มีการตัดข้อมูลและข้อเท็จจริงแต่อย่างใด และจะมีการนำเสนอเรื่อง
ดังกล่าวต่อรัฐบาลให้จัดตั้งหน่วยงานที่จะติดตามเรื่องดังกล่าวอย่างเป็นระบบและให้การเยียวยาผู้สูญเสีย ซึ่งจะใช้วัตถุ
อย่างเดียวคงไม่ได้
ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี รองประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ
(กอส.) กล่าวว่าจากการลงพื้นที่พบปะกับประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นพบว่า ยังคงมีปัญหาอีก
หลายด้านที่ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน โดยเฉพาะผู้สูญเสียที่ยังไม่ได้รับการเยียวยายังมีอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะต้อง
มีการใช้โครงสร้างของกระทรวงสาธารณสุขเข้ามาดำเนินการช่วยเหลือ นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกองทุนขึ้นเพื่อ
ช่วยเหลือผู้สูญเสียจากสถานการณ์ ประเด็นใหญ่ที่คณะกรรมการฯ ต้องดำเนินการคือด้านความยุติธรรม โดย
เสนอให้กระทรวงยุติธรรมดูแลให้ความเป็นธรรมกับประชาชนในทุกระบบ นอกจากนี้จะต้องมีการปรับกระบวนการ
พิจารณาแต่งตั้งข้าราชการที่จะมาทำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งคณะกรรมการฯ จะนำข้อเสนอ
ของสำนักจุฬาราชมนตรีเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลามที่จุฬาราชมนตรีได้เสนอตั้งแต่ปี 2523
ให้รัฐบาลรับไปพิจารณาซึ่งนายกรัฐมนตรีมีความเห็นชอบให้พิจารณาข้อเสนอดังกล่าวแล้ว และจะนำเสนอให้
รัฐบาลเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการใหญ่ ๆ ของรัฐบาลด้วย
************************************
|