หอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จุดเริ่มต้นของศูนย์
ศิลปะภาคใต้และเป็นศูนย์กลางด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น นำไปสู่การสร้างแนวคิดด้านวัฒนธรรมแห่งภูมิภาค
รศ. ผดุงยศ ดวงมาลา รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า
สภาพทางสังคมและวัฒนธรรมพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น มีการผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรม
กลุ่มชนชาวไทยพุทธ ไทยมุสลิม และไทยเชื้อสายจีน ประกอบกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็น
มหาวิทยาลัยแห่งแรกของภาคใต้ ที่ได้ดำเนินภารกิจทางการศึกษาและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมาร่วม 37 ปี
ตลอดจนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และงานนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการกระจาย
ความเจริญสู่ภูมิภาคต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รัฐบาลจึงได้อนุมัติให้จัดสร้างหอศิลปวัฒนธรรม
ขึ้นภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี โดยสนับสนุนงบประมาณ 70 ล้านบาท ในการ
ดำเนินการจัดสร้างในปีงบประมาณ 2544 2545 ทั้งนี้เพื่อเป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการทางศิลปกรรมทุก
รูปแบบของภาคใต้และนิทรรศการในรูปแบบพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา เป็นแหล่งศึกษาการศึกษานอกห้องเรียน
แหล่งปฏิบัติของนักศึกษาสาขาวิชามานุษยวิทยา สังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ ศิลปโบราณคดี พัฒนา
สังคม การท่องเที่ยว ด้านภาษาและด้านศิลปกรรมของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตลอดจนเป็น
ศูนย์กลางการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น อันจะนำไปสู่แนวคิดด้านวัฒนธรรมแห่งภูมิภาค และนับเป็น
การสนับสนุนที่มีประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยเป็นอย่างยิ่ง ที่จะได้ดำเนินภารกิจด้านการทำนุบำรุงและสืบทอด
ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติอย่างมุ่งมั่นและเข้มแข็งต่อไป
รศ. ระวีวรรณ ชอุ่มพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวต่อไปว่าโครงการหอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้ ประกอบด้วยอาคาร 2 ชุด ได้แก่
อาคารหอศิลป์ภาคใต้และอาคารหอวัฒนธรรมภาคใต้ ทั้งนี้อาคารหอศิลป์ภาคใต้จะเป็นที่จัดแสดงผลงานศิลปกรรม
ร่วมสมัย โดยเป็นเวทีแสดงงานศิลปะของศิลปินในภูมิภาค เอกชน นักเรียน นักศึกษา รวมถึงศิลปินรับเชิญ
จากภูมิภาคอื่นของประเทศไทยและนานาประเทศ นอกจากนั้นหอศิลป์ภาคใต้จะเป็นที่ให้การศึกษาที่มีประโยชน์
ในการยกระดับคุณภาพมนุษย์ทางความคิด สติปัญญา และเป็นเครื่องมือสำคัญในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทั้ง
ในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ โดยได้ดำเนินการก่อสร้างในปีงบประมาณ 2544 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น
30 ล้านบาท รูปแบบการก่อสร้างเป็นลักษณ์สถาปัตยกรรมภาคใต้ สำหรับอาคารหอวัฒนธรรมภาคใต้ ได้
ดำเนินการก่อสร้างในปีงบประมาณ 2545 ใช้งบประมาณ 40 ล้านบาท ซึ่งจะจัดเป็นสถานที่แสดงเรื่องราวทาง
วัฒนธรรมของภาคใต้ตอนล่างที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ มีการจัดหมวดหมู่เรื่องราว จัดแสดง
ในรูปแบบนิทรรศการและสื่อเทคนิคต่าง ๆ เป็นแหล่งศึกษานอกห้องเรียนของนักเรียน นักศึกษา ประชาชน
ทั่วไป รวมถึงนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ จะได้เรียนรู้และเข้าใจลักษณะวัฒนธรรมของคนใน
ภูมิภาคแถบนี้ หอศิลปวัฒนธรรมภาคใต้จะเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่วัฒนธรรม ศิลปกรรม หัตถกรรม
ท้องถิ่น อันจะเป็นการสร้างแนวคิดเรื่องวัฒนธรรมแห่งภูมิภาคให้อยู่ในความตระหนักของทุกคน ซึ่งจะก่อให้เกิด
ความเข้าใจและความสัมพันธ์ นำไปสู่การรณรงค์ให้มิติทางวัฒนธรรมเป็นแนวทางในการพัฒนาทุก ๆ ด้านของ
สังคม เป็นการสกัดกั้นการหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมที่ไม่พึงประสงค์และอยู่ภายใต้กรอบของวัฒนธรรม
อย่างมีระบบ
*******************************
|