คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ตระหนักถึงบทบาทของ
ข่าวสารและสื่อที่มีต่อชีวิตประจำวัน เปิดสอนรายวิชาความรู้ทางสื่อและข่าวสาร เป็นรายวิชาศึกษาทั่วไป
กลุ่มสังคมศาสตร์ หรือจัดเป็นรายวิชาเลือกเสรี ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2546 นี้เป็นต้นไป
ผศ. อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ คณบดีคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต
ปัตตานี กล่าวว่าด้วยในสังคมปัจจุบันมีข้อมูลข่าวสารทั้งที่มีคุณค่าไร้ค่าและเป็นโทษ ไหลเวียนอยู่อย่าง
ท่วมท้นในหลากหลายช่องทางการสื่อสาร ทั้งในรูปแบบดั้งเดิมและรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่องทาง
ที่เรียกว่า สื่อมวลชน ซึ่งกลายเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้สำหรับเยาวชนและผู้คนในสังคม และนอกจากสื่อ
เหล่านี้จะเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดข้อมูล ข่าวสาร และความบันเทิงแล้ว ยังได้กลายเป็นแหล่ง
บ่มเพาะและขัดเกลาทางสังคม โดยการถ่ายทอดค่านิยมวัฒนธรรม แบบแผนการดำรงชีวิตที่มีอิทธิพล
อย่างยิ่งต่อผู้คนในสังคม โดยเฉพาะเยาวชนซึ่งยังด้อยทางภูมิรู้ในการเลือกรับและพิจารณาเนื้อหาจากสื่อ
ประเภทต่าง ๆ ดังนั้นการศึกษาเพื่อที่จะ เรียนรู้ ข่าวสารและสื่อในแง่มุมต่าง ๆ ในฐานะผู้บริโภคจึงเป็น
สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเยาวชน เพื่อที่การเรียนรู้เหล่านี้จะสามารถพัฒนาไปสู่ ทักษะ ที่จะสามารถ
คัดเลือกข่าวสาร ข้อมูล และความบันเทิงได้อย่างมีสติ โดยคำนึงถึงประโยชน์และผลกระทบที่จะ
เกิดขึ้นกับตนเอง คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ตระหนักถึง
ความสำคัญดังกล่าว จึงได้เปิดสอนรายวิชาความรู้ทางสื่อและข่าวสาร (News and Media Literacy)
เป็นรายวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มสังคมศาสตร์ หรือจัดเป็นรายวิชาเลือกเสรี ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2
ปีการศึกษา 2546 นี้เป็นต้นไป โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญและ
บทบาทของข่าวสารและสื่อต่าง ๆ ที่มีต่อชีวิตประจำวัน ตระหนักถึงผลกระทบของข่าวสารและสื่อ
ที่มีต่อบุคคล สังคมและวัฒนธรรม นอกจากนี้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ทัศนคติ ค่านิยม และวัฒนธรรม
ที่แฝงเร้นในเนื้อหา อันเป็นผลจากการใช้กลวิธีต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตสื่อ
คณบดีคณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวอีกว่ารายวิชา
ความรู้ทางสื่อและข่าวสาร (News and Media Literacy) เป็นรายวิชาที่ศึกษาถึงความหมาย ความสำคัญ
บทบาทและอิทธิพลของข่าวสารและสื่อที่มีต่อชีวิตประจำวัน แนวคิดเกี่ยวกับสังคมสารสนเทศ และความรู้
ทางสื่อ รูปแบบและเทคนิคการนำเสนอเนื้อหาผ่านสื่อดั้งเดิมและสื่อยุคใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเตอร์เน็ต
และการสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ ผลกระทบต่อเนื้อหาสื่อมวลชนอันเป็นผลจากรูปแบบการเป็นเจ้าของและ
การบริหารองค์กร สื่อมวลชน กฎหมายและการควบคุม ซึ่งเป็นรายวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มสังคมศาสตร์
หรือจัดเป็นรายวิชาเลือกเสรี โดยเปิดสอนตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2546 นี้เป็นต้นไป
**********************************
|