: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 6 ฉบับที่ 12 ประจำเดือน 12 2546
หัวข้อข่าว : ครบรอบ 37 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รายละเอียด :
         ปี  2547  เป็นปีที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  จะมีอายุครบ  37  ปี  ในขณะเดียวกันก็เป็นปีที่  2  แห่งวาระ
การดำรงตำแหน่งของคณะผู้บริหารชุดปัจจุบัน  โดยการนำของ  รศ. ดร. ประเสริฐ  ชิตพงศ์  อธิการบดีมหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์
         -  ปี  2547  เป็นวาระครบ  37  ปี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  36  ปีที่ผ่านมา  ม.อ.  ได้ดำเนินงาน
สำเร็จตามภารกิจต่าง  ๆ  ที่ได้ตั้งไว้เพียงใด
         การผลิตบัณฑิต  เป็นภารกิจสำคัญของมหาวิทยาลัย  เริ่มต้นเราเน้นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียน
ในภาคใต้ได้เข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษา  พร้อม  ๆ  กับเปิดโอกาสให้นักเรียนภาคอื่น  ๆ  เข้ามาเรียน  เพื่อให้นักศึกษา
จากภูมิภาคต่าง  ๆ  ได้คุ้นเคยกันและนักศึกษาจากภาคอื่นได้รู้จักภาคใต้มากขึ้น
         ภารกิจด้านนี้มหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญมาตลอด  แม้ในเบื้องต้นจะมีเพียงระดับปริญญาตรีและในบางสาขา
เท่านั้น  แต่เมื่ออายุมหาวิทยาลัยย่างเข้าประมาณปีที่  15  เราเปิดปริญญาโทและในประมาณปีที่  25  เรามีหลักสูตรใน
ระดับปริญญาเอก  ปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี  106  สาขา  ประกาศนียบัตรบัณฑิต  3  สาขา  
ปริญญาโท  76  สาขา  และปริญญาเอก / เทียบเท่า  23  สาขา  รวม  208  สาขา
         เรื่องการวิจัย  จะควบคู่กับการผลิตบัณฑิต  โดยเฉพาะในระดับบัณฑิตศึกษา  ในระยะ  10  ปีแรก  ยังไม่ได้ให้เน้น
งานวิจัยมากนัก  เพราะจะต้องสร้างความเข้มแข็งในการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี  พร้อมกับการส่งบุคลากรไปศึกษาต่อ
ปริญญาโทและเอก  แต่เมื่อย่างเข้า  10  ปีที่  2  ก็เริ่มมีการวิจัยมากขึ้น  โดยนักวิจัยได้ทำการวิจัยในสิ่งที่เขาเห็นว่าควร
จะทำหรือตามสาขาที่เล่าเรียนมา  ซึ่งค่อนข้างจะเป็นลักษณะที่ต่างคนต่างทำ
         ช่วงปลาย  ๆ  ของ  10  ปีที่  2  มหาวิทยาลัยเริ่มมีแนวทาง  ระบบ  และวิธีการส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยที่เด่นชัด
มากขึ้น  อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการมากขึ้นและเริ่มทำวิจัยเป็นทีม  นำศักยภาพและปัญหาสำคัญ  ๆ  ของภาคใต้มาทำ
การวิจัยเช่น  เรื่องยางพารา  ปาล์มน้ำมัน  อาหารทะเล  และด้านสุขภาพ  หลังปี  2538  มหาวิทยาลัยมีนโยบายว่างานวิจัย
และบัณฑิตศึกษาต้องไปด้วยกัน  มีแผนงานและโครงการที่จะสร้างความพร้อมเรื่องการวิจัยโดยการจัดตั้งศูนย์เครื่องมือ
วิทยาศาสตร์  เพื่อสนับสนุนให้นักวิจัยได้รับผลการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องจากเครื่องมือที่มีมาตรฐานสูง  เพราะ
ผลการวิจัยจะต้องนำไปสู่การตีพิมพ์เผยแพร่และใช้ประโยชน์ทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ
         เข้าสู่ช่วง  10  ปีที่  3  ผลงานวิจัยหลายเรื่องได้รับการยอมรับและสามารถนำไปแปรเปลี่ยนเป็นการผลิตในเชิง
อุตสาหกรรมและสามารถดำเนินการในเชิงพาณิชย์  งานวิจัยได้ดำเนินงานโดยนักวิจัยอาวุโสร่วมกับนักวิจัยรุ่นใหม่และ
นักศึกษาปริญญาโทและเอก  มีเครื่องมือที่มีมาตรฐานสูง  เป็นการรับรองว่าเมื่อเอกชนนำผลงานนี้ไปใช้จะเป็นผลงานที่มี
ความถูกต้อง  สามารถอ้างอิงในทางวิชาการได้ในกรณีที่ต้องการส่งสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายในต่างประเทศที่มี
ความเข้มงวดเรื่องเกณฑ์มาตรฐานต่าง  ๆ  ขณะนี้ผลงานวิจัยของ  ม.อ.  ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติมีจำนวน
มากเป็นลำดับ  2  รองจากมหาวิทยาลัยมหิดล
         ในขณะเดียวกัน  การมีระบบการวิจัยที่เข้มแข็ง  จะทำให้บัณฑิตศึกษามีความเข้มแข็งตามไปด้วย  และด้วย
เหตุนี้เมื่อผมเข้ามารับตำแหน่งในเดือนมิถุนายน  2543  ก็ได้ประกาศเป็นนโยบายที่สำคัญว่า  ม.อ.  จะต้องพัฒนาเป็น
มหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัย  (Research – oriented – University)  โดยตั้งเป้าหมายการดำเนินงานให้เกิดความชัดเจนใน
การเป็นมหาวิทยาลัยตามความหมายนี้ภายในปี  2549
         ส่วนการบริการวิชาการนั้น  ได้เน้นว่าผู้ที่จะให้บริการวิชาการ  ควรจะมีการทำการวิจัยไปพร้อม  ๆ  กันด้วย  เพราะ
จะเป็นการให้บริการวิชาการที่เป็นการใช้ความรู้ที่เราสร้างขึ้นมาจริง  ๆ  ไม่ใช่เป็นการถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาจากการ
ศึกษาเล่าเรียนเพียงอย่างเดียว
         เรื่องศิลปวัฒนธรรม  ในช่วงแรกจะเห็นว่าเป็นเรื่องของการสร้างความพร้อมทางศิลปวัฒนธรรม  โดยจะเน้นในเรื่อง
ของการจัดกิจกรรมตามภาวะปกติ  เช่น  งานลอยกระทง  สงกรานต์  แต่ในช่วงหลังจะทำเป็นระบบมากขึ้นเช่น  วิทยาเขต
ปัตตานี  จะเน้นไปในเรื่องการทำงานเชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม  มีการเก็บรวบรวมข้อมูล  ศิลปวัตถุเก่าแก่  ยังไม่ได้เน้น
วิชาการมากนัก  แต่เมื่อมหาวิทยาลัยมีอายุ  25 – 30  ปี  ก็ได้เริ่มให้มีการศึกษารายละเอียดเก็บรวบรวมข้อมูลทาง
วัฒนธรรมเป็นการเฉพาะ  สิ่งที่ได้เคยเก็บรวบรวมไว้ในเชิงวัตถุก็ให้นำมาจัดทำในเชิงสาระทางวิชาการ  มีการอธิบายความ
ถึงที่มาและความสำคัญต่อวิถีชีวิตผู้คน  เป็นการเน้นสาระทางวัฒนธรรมที่เป็นวิชาการมากขึ้น
         ที่วิทยาเขตหาดใหญ่จะแตกต่างออกไป  โดยจะไม่เน้นการสะสมทางวัตถุแต่จะเน้นวัฒนธรรมร่วมสมัยและเป็น
วิถีชีวิตของผู้คนเช่นเรื่องผ้าทอ  ไม่ได้เก็บรวบรวมผ้าทอไว้ในมหาวิทยาลัย  แต่จะไปช่วยส่งเสริมในพื้นที่ที่เป็นแหล่งผลิตเช่น  
ผ้าทอนาหมื่นศรีที่จังหวัดตรัง  ขณะเดียวกันคำว่า  ศิลปวัฒนธรรม  ในความหมายนี้ไม่ได้หมายถึงเฉพาะในส่วนของภาคใต้
หรือชูจุดเด่นของภาคใต้เท่านั้น  ความหมายในเชิงศิลปวัฒนธรรมคือ  ความเข้าใจต่อวัฒนธรรมของผู้คนที่หลากหลาย  ได้มี
การเชิญผู้มีความเกี่ยวข้องหรือสันทัดด้านศิลปวัฒนธรรมทั้งในและต่างประเทศ  มาช่วยในเรื่องการสร้างความเข้าใจและ
จิตสำนึก  การมีส่วนร่วมทั้งภายในมหาวิทยาลัยเองและชุมชนที่มหาวิทยาลัยเชื่อมโยงด้วยค่อนข้างจะมาก
         ขณะนี้ได้พยายามนำเอาเรื่องของศิลปวัฒนธรรมไปผสมผสานกับงานวิจัยและการที่จะนำนักศึกษาเข้ามาร่วมด้วย  
แต่การนำนักศึกษาเข้ามาร่วมกระบวนการนี้ไม่ใช่เน้นเฉพาะเรื่องการแสดง  แต่ต้องการให้เข้ามาร่วมบนพื้นฐานของการนำ
เอาวิถีชีวิตไทย  ภูมิปัญญาไทย  เข้ามาสู่กระบวนการเรื่องการเรียนรู้และมองว่าศิลปวัฒนธรรมต้องเป็นเรื่องของพลวัต  
มีความร่วมสมัยจึงจะเข้าไปสู่คนรุ่นใหม่ได้  ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทาย
         -  การปฏิรูประบบราชการของรัฐบาลในปัจจุบันมีผลกระทบต่อมหาวิทยาลัยและบุคลากรอย่างไร
         การปฏิรูประบบราชการ  มีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของมหาวิทยาลัยสมควร  แต่เป็นการกระทบใน
ทางบวก  ทั้งต่อมหาวิทยาลัยและต่อส่วนรวม  เราจะทำงานในรูปแบบเดิม  ๆ  ไม่ได้อีกแล้ว  ตัวอย่างเช่นการใช้จ่าย
งบประมาณ  ขณะนี้รัฐจะมีมาตรการออกมามากมาย  เช่น  การเร่งรัดในการใช้จ่ายงบประมาณ  การรายงานผลและการ
ประกันคุณภาพ  หลายเรื่องที่รัฐบาลเร่งรัดมา  ขณะนี้ยังทำอะไรไม่ได้มาก  เพราะระเบียบราชการที่ทำให้สิ่งที่เร่งรัดมากับ
การปฏิบัติไปด้วยกันไม่ค่อยได้  ส่วนเรื่องโครงสร้างมหาวิทยาลัยไม่กระทบ  แม้แต่การรวมกระทรวงก็ไม่กระทบ
มากนักเพราะมหาวิทยาลัยเป็นนิติบุคคล
         -  ในวาระการดำรงตำแหน่งที่ผ่านมามีงานที่ภาคภูมิใจอะไรบ้าง
         ผมมองว่าพัฒนาการของมหาวิทยาลัยเป็นความต่อเนื่อง  เชื่อมโยงและเป็นผลงานของทีมหรือส่วนรวมมากกว่าผลงาน
ส่วนบุคคล  ผมให้ความสำคัญกับงานต่อเนื่อง  แต่ขณะเดียวกันต้องคิดและทำงานใหม่บนพื้นฐานของภาวการณ์ใหม่ทั้งใน
ปัจจุบันและอนาคต  ซึ่งการมองภาวการณ์ในอนาคตไม่ใช่เรื่องง่าย  ๆ  เลย  ต้องศึกษาติดตามและคิดอย่างหนักและ
ต่อเนื่องทั้งในลักษณะปัจเจกและเป็นทีม
         งานต่อเนื่องที่สำคัญมี  2  เรื่อง  เรื่องแรกคือการประกันคุณภาพซึ่งได้เริ่มไว้เมื่อวาระที่แล้ว  แต่มาถึงช่วงที่
จะต้องสร้างความชัดเจนและเข้าสู่ช่วงที่จะต้องรับการประเมินในวาระของผมพอดี  ผมจึงต้องทำให้ได้และทำให้ทัน  เรื่องที่  2  
คือเรื่องพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ซึ่งได้เริ่มต้นโดยตั้งกรรมการยกร่าง  พ.ร.บ.  ไว้เมื่อสมัยที่แล้วและ
ผมต้องทำให้สำเร็จเช่นเดียวกัน  ซึ่งผมดีใจว่าทั้ง  2  เรื่อง  ได้เสร็จตามกำหนดเวลา  แต่ต้องให้เวลาและทุ่มเทกันอย่างหนัก  
ผมต้องจัดระบบเพื่อสร้างความพร้อมเรื่องการประกันคุณภาพให้เป็นไปทั้งองค์กร  เพื่อให้ผู้ประเมินจาก  สมศ. สามารถ
ยอมรับได้ว่ามหาวิทยาลัยได้ดำเนินภารกิจอย่างมีประสิทธิภาพ  นอกจากทั้งสองเรื่องแล้วในช่วงเริ่มต้นดำเนินการบริหาร  
ทีมบริหารจะต้องพัฒนาทางวิชาการโดยได้กำหนดให้มีการพัฒนาสาขาความเป็นเลิศและสาขาความเข้มแข็ง  ขณะนี้ได้
ดำเนินการแล้วในสาขาความเป็นเลิศคือสาขาชีวเคมีและสาขาอุตสาหกรรมเกษตร  ส่วนสาขาความเข้มแข็งคืออิสลาม
ศึกษา  ทางด้านการจัดการเรียนการสอน  มีการเปิดหลักสูตรเป็นกรณีพิเศษคือหลักสูตรนิติศาสตร์และหลักสูตร  IT  ทั้ง
ระดับปริญญาตรีและปริญญาโท  เป็นหลักสูตรกลางวิทยาเขตต่าง  ๆ  สามารถนำไปเปิดสอนได้  การเพิ่มจำนวน
นักศึกษาอย่างรวดเร็ว  เนื่องจากเรามีวิทยาเขตที่สามารถรองรับนักศึกษาได้มาก  ปี  2546  มีนักศึกษาประมาณ  26,000  คน  
และปี  2549  จะมีนักศึกษาตามแผนถึงประมาณ  35,000  คน  การเพิ่มจำนวนนักศึกษาดังกล่าวนี้  มีเรื่องที่ต้องทำ
ล่วงหน้าและต้องแก้ปัญหาอย่างมากมาย  เช่น  เรื่องผู้สอน  ที่เรียน  ที่กิน  ที่พัก  ห้องสมุด  สื่อการเรียน  การจัดการเรียน
การสอนระดับบัณฑิตศึกษา  กำหนดให้งานบัณฑิตศึกษาและงานวิจัยต้องไปด้วยกัน  ได้เพิ่มจำนวนนักศึกษาระดับ
ปริญญาโทและปริญญาเอกอย่างรวดเร็ว
         รศ.ดร. ประเสริฐ  ชิตพงศ์  อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  กล่าวถึงแผนพัฒนามหาวิทยาลัย  ปี  2546
ถึงปี  2549  ว่าหลังจากที่ได้รับโปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เป็นวาระที่  2  
ได้มีนโยบาย  6  แผนหลักในการกำหนดทิศทางไปสู่ความสำเร็จ  โดยตั้งเป้าหมายให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นที่พึ่ง
ของชุมชนคือ  ประการที่  1  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  จะเน้นการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยเพื่อการพัฒนาภูมิภาคและประเทศ  
ประการที่  2  ผลิตบัณฑิตที่มีความเข้มแข็ง  คิดเป็น  ทำเป็น  มีโลกทัศน์  เป็นสากลเน้นความรู้ภาษาต่างประเทศและ
คอมพิวเตอร์  ประการที่  3  จะสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน  นำบริการวิชาการสู่พื้นที่  จัดหลักสูตรพัฒนาความรู้แก่
ท้องถิ่น  ประการที่  4  จะมีการสร้างความเข้มแข็งให้กับวิทยาเขตต่าง  ๆ  ของมหาวิทยาลัย  ประการที่  5  เป็นองค์กร
ที่ยึดหลักการ  มีส่วนร่วม  มีความโปร่งใส  สามารถตรวจสอบได้  และประการที่  6  เน้นการพัฒนาบุคลากร
         “ม.อ. ต้องสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับชุมชน  เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นที่พึ่งทางวิชาการได้อย่างแท้จริง  
โดยจะเน้นสาขาที่มีความจำเป็นต่อการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภูมิภาค  สอดคล้องกับศักยภาพของภาคใต้และการพัฒนา
ประเทศ  มุ่งเป็นเลิศในสาขาระบาดวิทยา  ชีวเคมี  เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์  อิสลามศึกษา  ปาล์มน้ำมัน  อุตสาหกรรม
เกษตร  พลังงาน  และเภสัชศาสตร์”  รศ.ดร. ประเสริฐ  ชิตพงศ์  กล่าว

                                                                 *******************************

โดย : * [ วันที่ ]