รายละเอียด :
|
ภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นวิธีการจัดการ วิธีการชี้นำ และการริเริ่มเสริมต่อของนักปราชญ์ในท้องถิ่นหรือ
ในกลุ่มชน สั่งสมงอกงามขึ้นจากความรอบรู้ ประสบการณ์ ผนวกด้วยญาณทัศนะ (ความเฉียบคมในการ
หยั่งเห็นหยั่งรู้ที่ลุ่มลึกกว่าวิสัยทัศน์เป็นรากฐาน)
ภูมิปัญญาชาวบ้านจึงมีขึ้นเพื่อการปรับเปลี่ยนสภาพทรัพยากรและองค์ความรู้ที่มีอยู่เดิมให้เพิ่มพูนคุณค่า
ขึ้นอย่างสอดประสานและเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ของสังคมหรือชุมชนของตน ทั้งด้านระบบนิเวศ ทรัพยากร
ธรรมชาติ ทรัพยากรบุคคล และทรัพยากรวัฒนธรรม และรวมทั้งปัจจัยและข้อจำกัดทั้งมวลที่เผชิญอยู่ รากเหง้า
ของภูมิปัญญาชาวบ้านมักเกี่ยวเนื่องกับการนำ สภาวะ ตามธรรมชาติที่อยู่ในวิสัยที่จะจัดการได้หรือ ภาวะ
ที่เกิดจากการกระทำ การเสาะสร้างของคนรุ่นก่อน ๆ เข้าสู่วิถีดำเนินชีวิตได้อย่างมีระบบและมีพลัง ภูมิปัญญา
ชาวบ้านที่ทรงคุณค่ายิ่งและสืบทอดต่อกันยาวนานจะค่อย ๆ ซึมซาบเข้าสู่นิสัยการคิดและการกระทำ โดยการ
ปรับเปรอ / ปรับปรนให้เกื้อกูลแก่การดำรงชีพขั้นพื้นฐาน อันเป็นขนบนิยมหรือจริยวัตรปกติของคนรุ่นหลัง ๆ
ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรคภัยไข้เจ็บ
ในยุคปัจจุบันนี้ผู้คนหันมาสนใจระบบการรักษาสุขภาพแบบธรรมชาติชีวจิต หรือแมคโครไบโอติคกันมากมาย
ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษรุ่นปู่ย่าตายายของเรา ดั่งที่ปราชญ์ชาวบ้านหลายท่านได้ศึกษา
และถ่ายทอดให้พวกเราได้เรียนรู้ รับทราบกันอยู่เพื่อให้ซึมซับกับวิถีชีวิตความเป็นจริงของสังคมยุคนี้
ในการนี้ขอกล่าวถึงภูมิปัญญาชาวบ้านเกี่ยวกับธาตุเจ้าเรือน ซึ่งองค์ความรู้เรื่องธาตุเจ้าเรือนหรือธาตุ 4 เป็นองค์
ความรู้ที่สำคัญที่คนไทยในอดีตนำมาอธิบายการเกิดและการแตกดับของสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกและจักรวาล
คนไทยในสมัยก่อนได้นำความไม่สมดุลของธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ในร่างกายของคน หลักสำคัญในการรักษาคือ
การปรับธาตุ 4 ในร่างกายให้อยู่ในสภาวะสมดุลและขณะเดียวกันความสมดุลนี้ต้องสัมพันธ์สอดคล้องกับจักรวาล
ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับในทฤษฎีการแพทย์แผนไทย เชื่อว่าการเกิดชีวิตใหม่จะเกิดขึ้นได้ต้องมีพ่อมีแม่ที่มีลักษณะ
ของหญิงชายครบถ้วนคือ พ่อมีลักษณะของชายครบและแม่มีลักษณะของหญิงครบ โดยให้ความหมายของชีวิต
ไว้ว่า ชีวิตคือขันธ์ 5 อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ
รูป ได้แก่ รูปร่าง ร่างกาย หรือสิ่งที่เป็นรูปธรรม ซึ่งในพระไตรปิฎกได้อธิบายไว้ว่า รูปมีมหาภูตรูป 4
ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ และรูปที่เกิดจากมหาภูตรูป เรียกว่า อุปทายรูป ได้แก่ อากาศ ประสาททั้ง 5 ได้แก่
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดรูป รส กลิ่น เสียง เป็นอาภรณ์ 4
เวทนา ได้แก่ ความรู้สึกต่าง ๆ ซึ่งเกิดจากประสาททั้ง 5 เป็นต้น
สัญญา ได้แก่ ความจำต่าง ๆ การกำหนดรู้อาการ จำได้หมายรู้
สังขาร หมายถึง การปรุงแต่งของจิต ความคิดเป็นผูกเป็นเรื่องเป็นราว
วิญญาณ หมายถึง ความรู้เจ็บของอารมณ์ เช่น วิญญาณนักต่อสู้ หมายถึงเป็นผู้มีอารมณ์บากบั่น ตั้งมั่น
ต้องสู้สุดใส ผู้มีวิญญาณเป็นนักสู้ เป็นต้น ชีวิตคือขันธ์ 5 ซึ่งก็คือร่างกายและจิตใจนั่นเอง มนุษย์ที่เกิดมาต่าง
ก็มีชีวิตแตกต่างกันไป มีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกัน มีความรู้สึกนึกคิดและจิตสำนึก ความรู้เจ็บทางอารมณ์หรือที่
เรียกว่า วิญญาณที่แตกต่างกันไปทางการแพทย์แผนปัจจุบันเชื่อว่า การที่มีความแตกต่างและความเหมือนกันถูก
กำหนดโดยสายพันธุกรรมที่เรียกว่า ดีเอ็นเอ เป็นรหัสของชีวิตที่มนุษย์ได้รับการถ่ายทอดจากมารดาและบิดา
เป็นลักษณะทั่ว ๆ ไปของมนุษย์ ทางการแพทย์ไทยมีความเชื่อในเรื่องนี้ว่า การเกิดรูปครั้งแรกในครรภ์มารดา
มีขนาดเล็กมาก ขนาดเท่ากับหยดน้ำมันงาที่ติดอยู่ปลายขนจามรีหลังจากที่ถูกสะบัดถึง 7 ครั้ง และด้วยอิทธิพล
ของธาตุไฟก่อน จึงเกิดธาตุอื่นตามมาจนครบธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม และไฟ แล้วจึงเกิดเวทนา สัญญา
สังขาร และวิญญาณจนครบขันธ์ 5 เมื่อครรภ์ครบ 5 เดือน และนั่นคือชีวิตได้เกิดแล้วและด้วยอิทธิพลธรรมชาติ
ได้แก่ ความร้อน ความเย็นของภูมิอากาศตามฤดูกาล ได้ทำให้ธาตุทั้ง 4 ของแต่ละคนจึงแตกต่างกันไปและ
เริ่มมีอิทธิพลในครรภ์มารดา ดังพระคัมภีร์ปฐมจินดากล่าวไว้ว่า เมื่อตั้งครรภ์ในฤดูใด ให้เอาธาตุของฤดูนั้น
เป็นที่ตั้งของธาตุกำเนิดกุมารกุมารี เช่น 1. ตั้งครรภ์ในเดือน 2,3,4 ซึ่งจะเกิดในเดือน 11,12,1 เป็นลักษณะ
แห่งดินและเป็นธาตุเจ้าเรือนด้วยเช่นกัน 2. ตั้งครรภ์ในเดือน 11,12,1 ซึ่งจะเกิดในเดือน 8,9,10 เป็นลักษณะ
แห่งน้ำและเป็นธาตุเจ้าเรือน 3. ตั้งครรภ์ในเดือน 8,9,10 ซึ่งจะเกิดในเดือน 5,6,7 เป็นลักษณะแห่งลมและ
เป็นธาตุเจ้าเรือนด้วยเช่นกัน 4. ตั้งครรภ์ในเดือน 5,6,7 ซึ่งจะเกิดในเดือน 2,3,4 เป็นลักษณะแห่งไฟและ
เป็นธาตุเจ้าเรือน
- ลักษณะเจ้าเรือน
เป็นองค์ประกอบของธาตุที่รวมกันอยู่อย่างปกตินั้น จะมีธาตุอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่าอย่างหนึ่งเรียกว่า
เจ้าเรือน ซึ่งจะมีลักษณะแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยแต่ละธาตุหลักทั้ง 4 จะมีลักษณะที่แสดงออกเป็น
เจ้าเรือนดังนี้
1. ธาตุดินเจ้าเรือน จะมีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวค่อนข้างคล้ำ ผมดกดำ เสียงดังฟังชัด ข้อกระดูกแข็งแรง กระดูก
ใหญ่ น้ำหนักตัวมาก ล่ำสัน อวัยวะสมบูรณ์
2. ธาตุน้ำเจ้าเรือน จะมีรูปร่างสมบูรณ์ อวัยวะสมส่วน ผิวพรรณสดใสเต่งตึง ตาหวาน น้ำในตามาก ท่าทาง
เดินมั่นคง ผมดกดำงาม กินช้า ทำอะไรชักช้า ทนหิว ทนร้อน ทนเย็นได้ดี เสียงโปร่ง มีลูกดกหรือมีความรู้สึก
ทางเพศดี แต่มักเฉื่อยและค่อนข้างเกียจคร้าน
3. ธาตุลมเจ้าเรือน จะมีผิวหนังหยาบแห้ง รูปร่างโปร่ง ผอม ผมบาง ข้อกระดูกลั่นเมื่อเคลื่อนไหว ขี้อิจฉา
ขี้ขลาด รักง่าย หน่ายเร็ว ทนหนาวไม่ค่อยได้ นอนไม่ค่อยหลับ ช่างพูด เสียงต่ำ ออกเสียงไม่ชัด มีลูกไม่ดก
ความรู้สึกทางเพศไม่ค่อยดี
4. ธาตุไฟเจ้าเรือน มักขี้ร้อน ทนร้อนไม่ค่อยได้ หิวบ่อย กินเก่ง ผมหงอกเร็ว มักหัวล้าน หนังย่น ผม ขน
หนวดค่อนข้างนิ่ม ไม่ค่อยอดทน ใจร้อน ข้อกระดูกหลวม มีกลิ่นตัวแรง ความต้องการทางเพศปานกลาง
- ถิ่นที่อยู่อาศัย
ที่อยู่อาศัยหรือสิ่งแวดล้อมเรียกว่า ประสมุฎฐาน ย่อมมีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่และสุขภาพ ได้แก่
1. ประเทศร้อน สถานที่ที่เป็นภูเขาสูง เนินผา มักเจ็บป่วยด้วยธาตุไฟ เช่น คนภาคเหนือ จะเจ็บป่วยด้วย
โรคเกี่ยวกับไข้ต่าง ๆ
2. ประเทศเย็น สถานที่ที่เป็นน้ำฝนโคลนตม มีฝนตกชุก มักเจ็บป่วยด้วยธาตุลม เช่น คนภาคกลาง จะเจ็บป่วย
ด้วยโรคเกี่ยวกับลมต่าง ๆ
3. ประเทศอุ่น สถานที่ที่เป็นน้ำฝนกรดทราย เป็นที่เก็บน้ำไม่อยู่ มักเจ็บป่วยด้วยธาตุน้ำ เช่น คนภาคอีสาน
จะเจ็บป่วยด้วยธาตุดิน เช่น ภาคใต้ จะเจ็บป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับฝี
- การวินิจฉัยโรคต่าง ๆ
นำอาการที่ได้จากการบอกเล่าและตรวจพบมาประมวลจะสามารถบอกถึงสภาวะสุขภาพของผู้ป่วย โดยยึด
หลักเกณฑ์เกี่ยวกับตัวสุขภาพหรือตัวควบคุมธาตุทั้งสี่ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ
- การเลือกอาหารให้เหมาะสมกับธาตุ
ธาตุแต่ละคนไม่เหมือนกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. ธาตุดิน ควรรับประทานอาหารรสฝาด หวาน มัน เค็ม ได้แก่ มังคุด ฝรั่งดิบ ฟักทอง เผือก ถั่วต่าง ๆ
เงาะ น้ำนม น้ำอ้อย เกลือ ฯลฯ และมีสิ่งสำคัญในการควบคุมสุขภาพ 3 อย่างคือ หทัยวัตถุ มีที่ตั้งที่หัวใจ ควบคุม
ความสมบูรณ์ของหัวใจ อุทริยะ อาหารใหม่คือ อาหารที่รับประทานเข้าไปใหม่ ๆ กีรสิง อาหารเก่าคือ กากอาหารใน
ลำไส้ใหญ่ที่จะออกมาเป็นอุจจาระ ลักษณะของอุจจาระเป็นตัวบ่งบอกสุขภาพโบราณว่าไว้สุขภาพจะดีหรือไม่ ขึ้น
อยู่กับกรีสะ (อุจจาระหรืออาหารเก่า) เป็นตัวควบคุม
2. ธาตุน้ำ ควรรับประทานอาหารรสเปรี้ยว รสขม ได้แก่ มะกรูด มะนาว ส้ม สับปะรด มะเขือเทศ มะระ
สะเดา ฯลฯ มีสิ่งสำคัญในการควบคุมสุขภาพ 3 อย่างคือ ศอเสมหะ การควบคุมน้ำบริเวณคอขึ้นไป อุระเสมหะ
ควบคุมน้ำบริเวณอกเหนือกลางตัวจากคอมาถึงบริเวณลิ้นปี่เหนือสะดือ คูถเสมะ ควบคุมน้ำช่วงล่างจากสะดือลงไป
3. ธาตุลม ควรรับประทานอาหารรสเผ็ดร้อน ได้แก่ ขิง ข่า ตะไคร้ กระชาย พริกไทย โหระพา กะเพราะ ฯลฯ
มีสิ่งสำคัญในการควบคุมสุขภาพ 3 อย่างคือ สัตถกะวาตะ ลมที่คมเหมือนอาวุธ หมายถึงเมื่อเกิดอาการจะมี
อาการฉับพลัน หทัยวาตะ ลมที่ควบคุมอารมณ์จิตใจ การเต้นของหัวใจ ความหวั่นไหว ความกังวล สุมนาวาตะ ลม
ที่ควบคุมพลังที่อยู่เส้นกลางลำตัวตามแนวดิ่งในการตำราการนวดไทย เส้นสุมนาถูกจัดเป็นเส้นสำคัญในเส้นสิบ
4. ธาตุไฟ ควรรับประทานอาหารรสขม เย็น จืด ได้แก่ ผักบุ้ง ตำลึง แตงโม บัวบก ขี้เหล็ก ฯลฯ มีสิ่งสำคัญ
ในการควบคุมสุขภาพ 3 อย่างคือ พัทธปิตตะ ดีในฝักคือ ภาวการณ์ผลิตน้ำดีของตับผิดปกติ ตับอักเสบ เกิดอาการ
ตัวเหลือง ตาเหลือง เกิดถุงน้ำดีอักเสบเป็นนิ่ว อพัทธะปิตตะ ดีนอกฝักหมายถึง การทำงานของน้ำดี ในลำไส้ การ
ย่อยอาหาร อาการคือจุกเสียด อืดเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ดีนอกฝักพิการ กำเดา องค์แห่งความร้อน เป็นตัวควบคุม
ความร้อนในร่างกาย
*******************************
|