: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 6 ฉบับที่ 05 ประจำเดือน 05 2546
หัวข้อข่าว : มหาวิทยาลัยนอกระบบ : ความคืบหน้าของ ม.อ.
รายละเอียด :
         แนวคิดที่จะเปลี่ยแปลงมหาวิทยาลัยในระบบราชการให้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาลหรือมหาวิทยาลัย

นอกระบบ  ที่คนทั่วไปคุ้นเคยกันได้ถูกจุดประกายมานานเกือบ  30  ปี  และเริ่มเด่นชัดขึ้นเมื่อได้มี  พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ  2542  

ซึ่ง  “ตามมาตรา  36  กำหนดให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคลและอาจจัดเป็นส่วนราชการหรือเป็น

หน่วยงานในกำกับของรัฐ  ยกเว้นสถานศึกษาเฉพาะทางตามมาตรา  21  ให้สถานศึกษาดังกล่าวดำเนินกิจการได้โดยอิสระ  สามารถ

พัฒนาระบบบริหารและการจัดการที่เป็นของตนเอง  มีความคล่องตัว  มีเสรีภาพทางวิชาการ  และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ

สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้น  ๆ “

         คำถามที่อยู่ในใจของชาวสงขลานครินทร์เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัย

ในกำกับของรัฐมีมากมาย

         รศ.ดร.บุญสม  ศิริบำรุงสุข  รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ได้กล่าวถึงการออกนอก

ระบบราชการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่า  การออกนอกระบบนั้นมีปัจจัยในเรื่องการบริหาร  3  ประการคือ  เรื่องของเสรีภาพ

ความเป็นอิสระทางวิชาการ  ความมีอิสระในเรื่องงบประมาณ  และความมีอิสระในเรื่องการบริหารจัดการและการบริหารบุคลากร

ด้วย  ซึ่งถ้ามีความคล่องตัวดังกล่าวก็สามารถที่ตัดปัญหาเรื่องระบบราชการออกไปได้  คาดว่าการทำงานก็จะเร็วขึ้น  มีประสิทธิภาพ

มากขึ้น  มหาวิทยาลัยก็จะก้าวหน้าไปได้ด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น  อีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องที่จะต้องปรับตัว  เพราะว่าเมื่อเป็นมหาวิทยาลัย

นอกระบบแล้ว  ก็จะมีความยืดหยุ่นต่อการปรับตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วได้มากขึ้น  เพราะฉะนั้นศักยภาพของการแข่งขัน

ของเราก็จะสูงขึ้น

         “เมื่อมองประเด็นความประหยัด  น่าจะคุ้มค่าเพราะว่าสามารถบริหารจัดการเรื่องคุณภาพของคนให้มีประสิทธิภาพมาก

ขึ้น  เราจะใช้อัตรากำลังคนอย่างคงที่  หากบุคลากรเลือกเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยก็จะได้รับค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นประมาณ  1.7  หรือ  1.5  

เท่าของเงินเดือนระบบเดิม  โดยแต่ละคนจะมีงานทำมากขึ้น  ซึ่งเทียบกับผลลัพธ์น่าจะคุ้มค่ามากกว่าระบบเดิม”

         จากผลสำรวจความคิดเห็นบุคลากรของสภาอาจารย์เมื่อเดือนกันยายน  2545  พบว่าบุคลากรกว่าร้อยะ  90  ต้องการมี

สถานภาพเป็นข้าราชการมหาวิทยาลัย  ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรมหาวิทยาลัยของรัฐ  15  แห่ง  จำนวน  

12,750  คน  ต้องการมีสถานภาพดังกล่าวถึงร้อยละ  87.65

         รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  กล่าวว่าการที่บุคลากรของมหาวิทยาลัยต้องการ

เปลี่ยนสถานภาพหรือไม่ต้องการก็ไม่เป็นไร  ถ้าเขารู้ว่าระบบการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยดีกว่าสามารถถ่ายโอนกันได้  แต่ถ้า  พ.ร.บ.

ไม่ออกมาเราก็จะแย่ตรงที่องค์กรของเรายังอยู่ในระบบราชการ  แต่คนเริ่มเป็นพนักงานมากขึ้น  ตอนนี้มีพนักงาน  500  กว่าคน  ก็

าณกว่าร้อยละ  11  ของข้าราชการ  คาดว่าอีก  10  ปีข้างหน้า  เราจะมีพนักงาน  2,000  กว่าคน  ดังนั้นเมื่ออัตรากำลังเกือบครึ่งหนึ่ง

ขององค์กรอยู่นอกระบบ  ในขณะที่เรายังอยู่ในระบบราชการ  ปัญหาในวันข้างหน้าจึงเป็นเรื่องที่น่าห่วง

         “สำหรับความคืบหน้าของการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ฉบับใหม่นั้น  มหาวิทยาลัย

ได้ส่งร่าง  พ.ร.บ. ดังกล่าวไปที่ทบวงมหาวิทยาลัยแล้ว  จากนั้นทบวงฯ  จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา  ขณะนี้อยู่ในขั้นตอน

ของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่าง  พ.ร.บ. ไปสอบถามความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้แก่  กระทรวงศึกษาธิการ  

ระทรวงการคลัง  กรมบัญชีกลาง  สำนักงาน  ก.พ.  สำนักงานงบประมาณ  ฯลฯ”  รศ.ดร.บุญสม  ศิริบำรุงสุข  กล่าว



                                                                          **********************************



โดย : 192.168.148.54 * [ วันที่ 2005-11-14 16:07:03 ]