: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 6 ฉบับที่ 04 ประจำเดือน 04 2546
หัวข้อข่าว : มหาสงกรานต์ ณ ม.อ. ปัตตานี
รายละเอียด :
         สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  จัดงานประเพณีสงกรานต์  

เมื่อวันที่  10  เมษายน  ที่ผ่านมา  โดยมี  ผศ.ดร.อนันต์  ทิพยรัตน์  รองอธิการบดี  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขต

ปัตตานี  เป็นประธาน  ซึ่งมีกิจกรรมประกอบด้วยรดน้ำผู้สูงอายุโดยร่วมกับชมรมผู้สูงอายุจังหวัดปัตตานี  สรงน้ำพระพุทธรูป  เล่นน้ำ

สงกรานต์และการละเล่นพื้นบ้าน  ตลอดจนสาธิตและจำหน่ายอาหารพื้นบ้าน

         ตำนานเทศกาลสงกรานต์

         คำว่า  “สงกรานต์”  มาจากภาษาสันสกฤต  แปลว่า  การผ่าน  หรือการย้าย  โดยการนับระยะเวลาที่เส้นทางของดวงอาทิตย์

โคจรผ่านกลุ่มดาวฤกษ์จักราศีทั้ง  12  กลุ่ม  ประกอบด้วยกลุ่มดาวราศีเมษ  พฤษภ  เมถุน  กรกฎ  สิงห์  กันย์  ตุลย์  พิจิก  ธนู  มังกร  

กุมภ์  และมีน  การโคจรผ่านกลุ่มดาวแต่ละกลุ่ม  จะใช้ระยะเวลาประมาณ  30  วัน  เมื่อดวงอาทิตย์โคจรผ่านกลุ่มดาวเหล่านี้ครบทั้ง  

12  กลุ่ม  ก็จะได้ระยะเวลา  1  ปีพอดี  เป็นวิธีการนับเดือนที่ใช้กันในประเทศอินเดียและกลุ่มประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  

ซึ่งรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจากอินเดีย  เช่น  ไทย  พม่า  เขมร  ลาว  เป็นต้น  วันที่  13  เมษายน  เป็นวัน  “มหาสงกรานต์”  หรือ

วันเริ่มต้นปีใหม่  ทั้งนี้เพราะเป็นจากช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์โคจรผ่านจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษนั้น  โลกโคจรเป็นมุมฉากกับดวงอาทิตย์  

จึงมีกลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันพอดี  วันสงกรานต์เป็นวันทำบุญใหญ่ประจำปี  มี  3  วันคือวันมหาสงกรานต์หรือวันส่งท้ายปีเก่า  

(วันที่  13  เมษายน)  วันกลางหรือวันเนา  (วันที่  14  เมษายน)  วันขึ้นปีใหม่หรือวันเถลิงศก  (วันที่  15  เมษายน)

         ตำนานเกี่ยวกับนางสงกรานต์

         เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดในแต่ละปี  ก็จะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้น  ๆ  นางสงกรานต์มีชื่อดังนี้  วันอาทิตย์ชื่อ

นางทุงษ  วันจันทร์ชื่อนางโคราค  วันอังคารชื่อนางรากษส  วันพุธชื่อนางมณฑา  วันพฤหัสชื่อนางกิริณี  วันศุกร์ชื่อนางกิมิทา  วันเสาร์

ชื่อนางมโหทร  นางสงกรานต์เป็นธดาของท้าวมหาสงกรานต์  หรือท้าวกบิลพรหม  มีหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันดูแลเศียรของท้าว

กบิลพรหม  ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพานแว่นฟ้า  เนื่องจากท้าวกบิลพรหมแพ้พนันการตอบปัญหาแก่ธรรมบาลกุมาร  จึงต้องตัดเศียรของ

ตนบูชาแก่ธรรมบาลกุมาร  ก่อนจะตัดเศียรท้าวกบิลพรหมได้เรียกธิดาทั้ง  7  ซึ่งเป็นนางฟ้าบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา  ให้เอา

พานมารองรับเนื่องจากเศียรของท้าวกบิลพรหมเป็นที่รวมแห่งความร้อนทั้งปวง  ถ้าวางไว้บนแผ่นดินไฟจะไหม้โลก  ถ้าโยนขึ้นไป

บนอากาศฝนจะแล้ง  ถ้าทิ้งลงในมหาสมุทรน้ำจะแห้ง  ธิดาทั้ง  7  จึงผลัดเปลี่ยนกันถือพานรองเศียรของท้าวกบิลพรหมไว้คนละ  

1  ปี  คุณค่าและความสำคัญประเพณีสงกรานต์ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณ  

ช่วงวันสงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร  ความรัก  ความผูกพันที่มีต่อกันทั้งครอบครัว  ชุมชน  สังคม  และศาสนา  ทำให้

สมาชิกของครอบครัวได้มีโอกาสมาอยู่ร่วมกัน  เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตาเช่น  ลูกหลานนำสิ่งของมาเยี่ยมเยียนและรดน้ำ

ขอพรจากบิดา  มารดา  ปู่  ย่า  ตา  ยาย  รวมทั้งแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วด้วยการทำบุญอุทิศ

ส่วนกุศลไปให้การสร้างความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน  ได้แก่  การร่วมกันทำบุญให้ทาน  การก่อพระเจดีย์ทรายและเป็นการ

ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา  การเล่นสาดน้ำเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงร่วมกัน  นอกจากนี้ยังสร้างความรู้สึกผูกพันกลมเกลียวต่อ

บุคคลในสังคมเดียวกันและสร้างความรู้สึกหวงแหนในสาธารณสมบัติของสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยการช่วยกันทำความ

สะอาดบ้านเรือน  วัดวาอาราม  ตลอดจากอาคารสถานที่ต่าง  ๆ  



                                                                      ********************************





โดย : 192.168.148.54 * [ วันที่ 2005-11-14 15:41:44 ]