: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 6 ฉบับที่ 04 ประจำเดือน 04 2546
หัวข้อข่าว : สุริยุปราคา : มืดกลางวันที่โคกโพธิ์
รายละเอียด :
         สุริยุปราคาคือ  อุปราคาที่เกิดขึ้นมองเห็นบนโลกโดยดวงจันทร์โคจรผ่านดวงอาทิตย์  และทอดเงามาบนพื้นผิวโลก  

ทำให้เกิดปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์มืดไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง  ซึ่งในประเทศไทยเราตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า

เจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่  4  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมาจนกระทั่งถึงรัชกาลปัจจุบันได้เกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคาแบบ

วงแหวนและแบบเพียงบางส่วน  แต่มืดแบบหมดดวง  ในประเทศไทยมีเพียง  4  ครั้ง  ที่นับได้ว่ามืดมากที่สุดคือครั้งที่  1  

ที่ตำบลหว้ากอ  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  เมื่อเดือนสิงหาคม  2411  ครั้งที่  2  ที่ตำบลโคกโพธิ์  จังหวัดปัตตานี  เมื่อวันที่  

9  พฤษภาคม  2472  ครั้งที่  3  ที่พระราชวังบางปะอิน  กรุงเทพฯ  เมื่อวันที่  20  มิถุนายน  2498  และครั้งที่  4  

ที่อำเภอท่าวุ้ง  จังหวัดลพบุรี  เมื่อวันที่  24  ตุลาคม  2538

         Sir  F.W.Dyson  นายกกรรมการร่วมประจำในเรื่องสุริยุปราคาของสมาคมนักดาราศาสตร์ในประเทศอังกฤษ  

ได้มีหนังสือแจ้งว่าสมาคมนักดาราศาสตร์ได้คำนวณและพยากรณ์ว่าในวันที่  9  พฤษภาคม  2472  จะเกิดสุริยุปราคาเป็น

บูรณคราสเห็นได้ในบางตำบลในมณฑลปัตตานี  โดยได้พยากรณ์ว่าจะเกิดปรากฏการณ์ทำให้เกิดเงามืดขึ้นบนพื้นโลก  

เป็นสุริยุปราคาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งมาก  มืดมากจนต้องจุดตะเกียง  ผู้คนที่ยืนอยู่ห่างกันสองถึงสามวามองหน้าแล้วจำกันไม่ได้  

เมื่อแหงนมองดูท้องฟ้าเห็นดาวระยิบระยับเป็นมืดกลางวัน  เหตุการณ์ลักษณะนี้คาดว่าประมาณ  400  ปี  จะเกิดขึ้นใน

ตำแหน่งเดิมอีกครั้งหนึ่ง  สุริยุปราคาที่เกิดขึ้นในลักษณะทางวิชาการเรียกว่าสุริยุปราคาหมดดวง  ดวงอาทิตย์จะถูก

ดวงจันทร์เคลื่อนตัวมาปิดบังจนมืดมิดไปหมดทั้งดวง

         เรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มนักดาราศาสตร์

         จากแฟ้มเอกสารเรื่อง  “จดหมายเหตุการรองรับคณะนักดาราศาสตร์อังกฤษและเยอรมัน”  ซึ่งมาติดตั้งเครื่อง

ส่องสุริยุปราคาบูรณคราสที่ปัตตานีและโคกโพธิ์  ณ  วันที่  9  พฤษภาคม  2472  เป็นเอกสารแนบประกอบวิชาการของ

นายพลเรือตรีพระยาราชสัน  (ซึ่งเป็นประธานกรรมการการจัดการรับรองนักดาราศาสตร์)  สรุปเหตุการณ์ได้ว่าเมื่อเดือน

กรกฎาคม  2469  สมาคมดาราศาสตร์ในประเทศอังกฤษ  ได้มีหนังสือถึงรัฐบาลไทยเพื่อขอทราบข้อมูลที่จะทำการตั้ง

กล้องสุริยุปราคา  ทางรัฐบาลไทยจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อเตรียมการรับรองคณะนักดาราศาสตร์  

ซึ่งได้จัดการเหมาก่อสร้างเรือนพักรับรองขึ้น  6  หลัง  โดยการออกแบบของอำมาตย์เอกพระยาสฤษดิการบรรจง  

ส่วนกลุ่มนักดาราศาสตร์เยอรมันแห่งมหาวิทยาลัยเมืองคีล  โดยศาสตราจารย์  ดร.โรเสนเบอร์ก  (Profressor  Dr.

Resenbery)  เป็นหัวหน้าคณะนักดาราศาสตร์  มีนักดาราศาสตร์ร่วมคณะ  6  คน  ได้เลือกบริเวณที่ตั้งกล้องบนเนินเขาเตี้ย  

(เรียกว่าเขาบูน)  อยู่หลังที่ว่าการอำเภอโคกโพธิ์ในปัจจุบันไปทางทิศเหนือประมาณ  200  เมตร  และอยู่ห่างจากสถานี

รถไพโคกโพธิ์ประมาณ  400  เมตร

         การเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่มณฑลปัตตานี

         ในเหตุการณ์รับรองนักดาราศาสตร์อังกฤษและเยอรมันได้กล่าวดังนี้  “กำหนดการการเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร

สุริยุปราคาที่จังหวัดปัตตานี”  พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี  เสด็จพระราชดำเนิน

ประพาสมณฑลปัตตานีทางเรือ  เพื่อเยี่ยมพสกนิกรและทอดพระเนตรสุริยุปราคา  โดยประทับค้างแรมในเรือพระที่นั่ง  ในขณะ

ที่เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมค่ายนักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันที่ตำบลโคกโพธิ์  โดยก่อนถึงวันรับเสด็จทางอำเภอ

โคกโพธิ์โดยพระทำนุ  นายอำเภอได้มอบท่านขุนอัคนี  นายสถานีรถไฟโคกโพธิ์ในขณะนั้นให้เป็นผู้ออกแบบพลับพลา  และได้

จัดหาไม้ของการรถไฟหลวงมาสมทบร่วมกับของทางอำเภอให้พระครูมนัสสมณคุณ  (สีพุด)  ซึ่งเป็นเจ้าคณะอำเภอใน

ขณะนั้นเป็นหัวหน้าช่างในการก่อสร้างโดยให้พระลูกวัดร่วมกับชาวบ้านดำเนินการสร้างพลับพลาที่ประทับ  หน้าที่ว่าการ

อำเภอโคกโพธิ์  มีพสกนิกรคอยรับเสด็จและในการเสด็จครั้งนี้ได้ทรงปลูกต้นโพธิ์ไว้ต้นหนึ่ง  บริเวณหลังสถานีรถไพโคกโพธิ์  

และในวันที่  9  พฤษภาคม  2472  ตามจดหมายเหตุรับรองนักดาราศาสตร์อังกฤษและเยอรมันว่า  เวลา  09.00  นาฬิกา  

เสด็จจากเรือพระที่นั่งไปขึ้นท่าศุลกสถานและเสด็จไปประทับที่จวนเทศา  เสวยพระกระยาหารกลางวัน  เวลา  11.30  นาฬิกา  

เวลา  13.00  นาฬิกา  เสด็จค่ายนักดาราศาสตร์อังกฤษ  คณะดาราศาสตร์อังกฤษได้จัดกล้องส่องดาวตั้งไว้เป็นพิเศษหน้าปรำ

ที่ฝ่ายบ้านเมืองได้สร้างไว้  โดยจะมีนายโคเฮนกับท่านเอกอัครราชทูตอังกฤษคอยรับเสด็จและนำเสด็จไปยังปรำและคอย

ประจำกราบบังคมทูลเหตุการณ์ต่าง  ๆ  ตามที่จะมีได้  หลังจากทอดพระเนตรกีฬาชนวัวที่ขบวนรับเสด็จโดยที่ทางจังหวัด

ปัตตานีร่วมกับประชาชนถวายให้

         เหตุการณ์ที่ประชาชนในตำบลโคกโพธิ์และในจังหวัดปัตตานีประทับใจและบอกเล่าลูกหลานสืบต่อกันมา

         ในช่วงที่ใกล้จะมีเหตุการณ์สุริยุปราคา  จังหวัดปัตตานีมีผู้คนพลุกพล่าน  มีคนแปลกหน้าเข้ามาเป็นจำนวนมาก  

ทั้งคนชาติเดียวกันและต่างชาติ  ทางการได้เรียกนายอำเภอประชุมและแจ้งให้กำนันผู้ใหญ่บ้านแจ้งให้ลูกบ้านของตนทราบ  

เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกและเตรียมความพร้อมในการรับเสด็จและการต้อนรับแขกจากที่อื่น

         วันที่  9  พฤษภาคม  เวลาเที่ยงกว่า  บนท้องฟ้ามีก้อนเมฆเคลื่อนตัวเรื่อย  ๆ  เข้ามาบังดวงตะวันและแสงตะวัน

ค่อย  ๆ  มืดลงเรื่อย  ๆ  ทำให้รู้สึกเย็น  พอมืดมากเข้า  นกเอี้ยง  นกบินหลา  ร้องทักกันลั่นเหมือนกับว่า  นกชุมรัง  (นกจะร้อง

ก่อนเข้ารังนอนตอนพลบค่ำ)  พวกสัตว์ต่าง  ๆ  ร้องหาที่นอนมองบนท้องฟ้าก็มืดจนเห็นดวงดาว  ประมาณ  2 – 3  ดวง  

มีพวกฝรั่งเยอรมันใช้กล้องใหญ่ส่องกล้องเลือกบริเวณจุดตั้งกล้องให้กับคณะดาราศาสตร์อังกฤษที่บริเวณสนามหญ้าใกล้ศาลา

รัฐบาล  มณฑลปัตตานี  เมืองปัตตานีในการรับรองคณะนักดาราศาสตร์  ทางประธานจัดการรับรองได้มอบให้สมุหเทศภิบาล

มณฑลปัตตานี

         ประชาชนได้มีโอกาสเฝ้ารับเสด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีนาถ  พร้อมด้วยเชื้อพระวงศ์และข้าราชการ

ชั้นผู้ใหญ่อย่างใกล้ชิด  เป็นมิ่งขวัญและมิ่งมงคลอย่างยิ่ง  และในวันที่มีเหตุการณ์ที่ไม่เคยพบเห็นมาชั่วชีวิต  ซึ่งเหตุการณ์

ในครั้งนี้ได้ครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัดปัตตานีหมดทั่วทั้งจังหวัด  แต่จุดที่มืดมากที่สุดเกิดขึ้นที่ตำบลโคกโพธิ์  เพราะอยู่ใน

แนวรัศมีเวคเตอร์เส้นเดียวกันระหว่างโลก  ดวงจันทร์  และดวงอาทิตย์



                                                                               *********************************



โดย : 192.168.148.54 * [ วันที่ 2005-11-14 15:30:12 ]