ถ้าครูไม่ห่วงประโยชน์ที่ควรจะห่วง หันไปห่วงอำนาจ ห่วงตำแหน่ง ห่วงสิทธิ์ และห่วงรายได้กันมากเข้า ๆ แล้ว
จะเอาจิตใจที่ไหนมาห่วงความรู้ ความดีความเจริญของเด็ก ความห่วงในสิ่งเหล่านั้นก็จะค่อย ๆ บั่นทอนทำลายความเป็นครู
ไปจนหมดสิ้น จะไม่มีอะไรเหลือไว้พอที่ตัวเองจะภูมิใจหรือผูกใจใครไว้ได้ ความเป็นครูก็จะไม่มีค่าเหลืออยู่ให้เป็นที่เคารพบูชาอีก
ต่อไป
(พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ครูอาวุโส เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2521 ณ พระตำหนักสวนจิตรลดา)
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จัดกิจกรรมวันครูเป็นปีที่ 36 เมื่อวันที่ 16
มกราคม 2546 เพื่อร่วมรำลึกถึงพระคุณของครูทั้งที่เป็นครูปัจจุบันและในอดีต และเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา และ
คณาจารย์ ตลอดจนบุคลากรได้ร่วมกันแสดงความกตัญญูรู้คุณครู ร่วมกันสืบทอดประเพณีและวัฒนธรรมด้านนี้ให้ยั่งยืนควบคู่กับ
วิชาชีพครูและสังคมไทย โดยมี รศ.ดร.ประเสริฐ ชิตพงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นประธานใน
พิธีเปิด กิจกรรมประกอบด้วยการทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ สวดคำฉันท์รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ มอบเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ
แด่อาจารย์ตัวอย่างและนักศึกษาตัวอย่าง มอบรางวัลและเกียรติบัตรแก่ผู้ชนะการประกวดบทกลอนและผู้ชนะการจัดป้าย
นิทรรศการวันครู มอบทุนการศึกษา และการบรรยายพิเศษเรื่องวิชาชีพครูในบริบทของการปฏิรูปการศึกษา โดยนายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
รศ.ดร.ประเสริฐ ชิตพงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประธานในพิธีวันครูได้กล่าวโอวาทเนื่องใน
วันครูปี 2546 ว่า เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าภาระหน้าที่ของครูคือ การสร้างศิษย์ให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและเป็นพลเมืองดี
ของชาติ ไม่เพียงแต่ครูจะต้องแนะนำอบรมสั่งสอนศิษย์ให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพหรือการศึกษาต่อในระดับ
ที่สูงขึ้น ครูยังต้องอบรมศิษย์ให้เป็นผู้มีวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรักและศรัทธาในชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
รวมทั้งยึดมั่นในหลักประชาธิปไตยอีกด้วย งานของครูจึงเป็นงานสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่ ไม่ว่าสังคมจะเปลี่ยนไปในทางใด สังคม
ยังคงยึดมั่นศรัทธาในตัวครูว่า ครูเป็นบุคคลที่ควรเคารพและต้องเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม ดังนั้น ครูทั้งหลายจึงจำเป็นต้อง
รักและศรัทธาในวิชาชีพของตน ยึดธรรมะเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ครูต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
มีความรอบรู้ในศาสตร์สาขาวิชาต่าง ๆ อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง สามารถถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวแก่ศิษย์ได้อย่างแจ่มแจ้ง มี
ความเมตตากรุณา และประการสุดท้าย ครูควรมีความอดทน
รศ.ดร.สุวิมล เขี้ยวแก้ว คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และประธานจัดงาน
วันครู ปี 2546 ได้กล่าวว่าวันที่ 16 มกราคม ของทุกปี เป็นวันครู ผู้อยู่ในวิชาชีพครูทุกคนและแม้แต่ผู้ที่ประกอบอาชีพอื่น
ก็ล้วนแต่ได้รับการอบรมสั่งสอนมาจากครูทั้งสิ้น จึงกล่าวได้ว่าไม่มีใครที่ไม่มีครู ผลของการปฏิรูปการศึกษาในสังคมไทย สะท้อน
ให้เห็นว่าการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่สุดในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ และครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการให้การศึกษา
อบรมและปลูกฝังจิตสำนึกต่าง ๆ แก่ผู้เรียน เพื่อจะได้เป็นบุคคลที่มีศักยภาพของชาติบ้านเมือง ดังนั้นครูจึงอยู่ในฐานะปูชนีย
บุคคลที่พึงเคารพและยังเป็นกัลยาณมิตรที่นำความเจริญงอกงามมาสู่ผู้เรียน วันครูจึงเป็นวันที่เราควรน้อมรำลึกถึงพระคุณของ
ครูอาจารย์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน พร้อมทั้งตั้งปณิธานอันแน่วแน่ที่จะดำรงเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นครูตลอดไป
กิจกรรมวันครู ประจำปี 2546 ประกอบด้วยการทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ สวดคำฉันท์รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ มอบ
เกียรติบัตรเชิดชูเกียรติแด่อาจารย์ตัวอย่างและนักศึกษาตัวอย่าง มอบรางวัลและเกียรบัตรแก่ผู้ชนะการประกวดบทกลอนและผู้ชนะ
การจัดป้ายนิทรรศการวันครู มอบทุนการศึกษา และการบรรยายพิเศษเรื่อง วิชาชีพครูในบริบทของการปฏิรูปการศึกษา โดย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
อาจารย์ตัวอย่าง ได้แก่ ผศ.ดร.อนันต์ ทิพยรัตน์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี
นักศึกษาตัวอย่าง
ระดับปริญญาโทด้านวิชาการ ได้แก่ นางสาวงามศิริ ทองจินดา นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาปฐมวัยศึกษา และนางสาว
บาลินท์ ท้ามติ้น นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการวัดผลและวิจัยทางการศึกษา
ระดับปริญญาโทด้านพัฒนาสังคม ได้แก่ นายดันนียาล สารี นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการปฐมวัยศึกษา
ระดับปริญญาโทด้านคุณธรรม ได้แก่ นางสาวยุพา ศรีสุข นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการปฐมวัยศึกษา
ระดับปริญญาตรีด้านวิชาการ ได้แก่ นายรัฐ มโนธัม นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาฟิสิกส์ และนางสาวปริศนา ประชุมพันธ์
นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาไทย
ระดับปริญญาตรีด้านพัฒนาสังคม ได้แก่ นางสาวณัฐวรรณ ศิลปรัตน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาชีววิทยา และนายสันติ
เส็นหมาน นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาประถมศึกษา
ระดับปริญญาตรีด้านคุณธรรม ได้แก่ นายบุญญฤทธิ์ รัตนรัต นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาไทย และนางสาวสุภาภรณ์
คงโส นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาประถมศึกษา
ผลการประกวดบทกลอนหัวข้อ ถ้าฉันเป็นครู
ระดับประถมศึกษา
ชนะเลิศ ได้แก่ ด.ญ.อาซียัม สือรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมุจลินทวาปีวิหาร อ.หนองจิก จ.ปัตตานี
รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ด.ญ.ปรียภัสร์ สิปปกรณ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี
รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ด.ญ.ชนนาทร หัตถา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี
ระดับอุดมศึกษา
ชนะเลิศ ได้แก่ นายรัตนศักดิ์ ก้อนเพ็ชร สาขาวิชาภาษาไทย
รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ นางสาววราลี พิศประดิษฐ์ สาขาวิชาภาษาไทย
รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นายกิตติศักดิ์ รอดเริง สาขาวิชาฟิสิกส์
********************************
|