รายละเอียด :
|
บัณฑิต ม.อ. กว่าร้อยละ 70 ได้งานทำโดยเพิ่มจากปีที่แล้วร้อยละ 3 พยายามและการโรงแรมยังคงครองแชมป์ได้งานทำ
สูงสุด ส่วนใหญ่ทำงานภาคเอกชนและทำงานในภาคใต้ บัณฑิตวิศวะฯ ได้เงินเดือนมากที่สุด
กองแผนงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้สำรวจภาวะการหางานทำของบัณฑิตปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
รุ่นปีการศึกษา 2544 ซึ่งเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2545 จำนวน 2,876 คน หรือร้อยละ 94.2
ของบัณฑิตผู้เข้ารับปริญญาทั้งหมดพบว่า บัณฑิตระดับปริญญาตรีได้งานทำจำนวนทั้งสิ้น 2,022 คน หรือร้อยละ 70.3 (ปี 2544
ร้อยละ 67.4) ศึกษาต่อ 434 คน หรือร้อยละ 15.1 (ปี 2544 ร้อยละ 13.9) และยังไม่ได้งานทำ 420 คน หรือร้อยละ 14.6
(ปี 2544 ร้อยละ 18.6) โดยหากไม่นับคณะที่บัณฑิตได้งานทำทุกคน เนื่องจากมีข้อผูกพันในการปฏิบัติงานให้กับราชการหลังจบการ
ศึกษาเช่น คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์แล้ว กลุ่มคณะที่บัณฑิตมีงานทำมากที่สุดตั้งแต่ร้อยละ
80 ขึ้นไปคือ คณะพยาบาลศาสตร์และคณะอุตสาหกรรมบริการ (การโรงแรมและการท่องเที่ยว) รองลงมาคือกลุ่มคณะที่บัณฑิตมี
งานทำระหว่างร้อยละ 71 77 ได้แก่ คณะศึกษาศาสตร์ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตตรัง และคณะอุตสาหกรรมเกษตร และกลุ่ม
คณะที่บัณฑิตมีงานทำระหว่างร้อยละ 50 66 ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะวิศวกรรม
ศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ และวิทยาลัยอิสลามศึกษา
ส่วนสาขาที่ได้งานทำสูงสุดของแต่ละคณะคือ สาขาเทคโนโลยียาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้งานทำทุกคน
สาขาภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ ได้งานทำร้อยละ 92.9 และสาขาเทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ได้งาน
ทำร้อยละ 90.9
คณะที่บัณฑิตได้รับเงินเดือนเฉลี่ยมากที่สุดอันดับแรกคือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 13,283 บาท (13,205 บาท ในปี
2543) คณะอุตสาหกรรมบริการ (คณะการโรงแรมฯ ) 12,084 บาท (9,630 บาท ในปี 2543) คณะวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี 10,496 บาท (10,161 บาท ในปี 2543)
บัณฑิตร้อยละ 63 ทำงานในภาคใต้ ส่วนใหญ่ทำงานเอกชน (ร้อยละ 58.1) รองลงมาคือรับราชการ (ร้อยละ 33.8) ประกอบ
อาชีพอิสระ (5.2) รัฐวิสาหกิจ (1.8) และอื่น ๆ (1.2)
ในการสำรวจดังกล่าวได้มีการประเมินความต้องการของผู้จ้างงานต่อคุณสมบัติของบัณฑิตพบว่า ผู้จ้างงานต้องการให้บัณฑิตมีวิชา
ความรู้ตามสาขาวิชาชีพมากที่สุด (ร้อยละ 59.9) รองลงมาคือต้องการให้บัณฑิตมีทักษะการวิเคราะห์และแก้ปัญหา (ร้อยละ 39.6)
และต้องการให้บัณฑิตมีทักษะทางคอมพิวเตอร์และภาษาต่างประเทศใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 36.9 และ 35.4) ส่วนบัณฑิตได้สำรวจความ
สามารถตนเองพบว่า มีทักษะการตัดสินใจ การประยุกต์ใช้ความรู้ มีความสามารถตามสาขาวิชา ทักษะการเรียนรู้สิ่งใหม่ในระดับดี
แต่ยังมีทักษะทางการบริการ การวิเคราะห์ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ และภาษาอังกฤษในระดับปานกลาง
ส่วนบัณฑิตปริญญาโทได้งานทำแล้วร้อยละ 90.9 ส่วนใหญ่ทำงานส่วนราชการ (ร้อยละ 76.4) รองลงมาเป็นพนักงาน /
ลูกจ้างเอกชน (ร้อยละ 13.1) และเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 4.7)
เป็นที่น่าสังเกตว่าในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา บัณฑิต
ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้งานทำมากกว่าร้อยละ 80 ในช่วงระหว่างปี 2535 2539 (สุดสุดคือปี 2536
คือร้อยละ 88.0) แต่บัณฑิตได้งานทำลดลงอย่างรวดเร็ว ในช่วงปี 2540 ซึ่งเป็นปีแรกที่ประเทศประสบภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ (เหลือ
ร้อยละ 66.7) และเริ่มทรงตัวในปี 2542 2543 (ร้อยละ 67.4 เท่ากัน) และในปีนี้บัณฑิตเริ่มได้งานทำมากขึ้นคือ เพิ่มจากปีที่ผ่านมา
ร้อยละ 3
**********************************
|