แผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง เป็นหนึ่งในเครื่องมือหรือแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน
ซึ่งชุมชนปะเสยะวอ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ได้ตัดสินใจเลือกใช้แนวทางดังกล่าวนี้ภายหลังผ่านกระบวนการเรียนรู้ไปแล้วระยะหนึ่ง
ภายใต้โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก รับผิดชอบโดยสำนักส่งเสริม ม.อ. มีทบวงมหาวิทยาลัย
เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ ดังนั้นตลอดระยะเวลา 5 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนกันยายน 2545 ของการดำเนินโครงการฯ
ชุมชนร่วมกับสำนักส่งเสริมและภาคีที่เกี่ยวข้อง จึงมุ่งเน้นไปที่การจัดกระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเองให้มีคุณภาพมาก
ที่สุด เพราะความสำเร็จของการจัดทำแผนแม่บท ไม่ได้อยู่ที่การทำให้เกิดแผนฯ และนำแผนฯ สู่การปฏิบัติเท่านั้น แต่อยู่ที่คุณภาพ
ของการจัดกระบวนการที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วม การเรียนรู้ และการพึ่งตนเองของคนในชุมชนให้ได้มากที่สุด
นางบงกช นภาพงษ์ หัวหน้าฝ่ายบริการวิชาการชุมชน สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง และหัวหน้าโครงการ
เสริมสร้างความเข้มแข็ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวถึงแนวทางการจัดกระบวนการจัดทำแผนแม่บท
ชุมชนพึ่งตนเองของชุมชนปะเสยะวอ โดยสรุปว่าในระยะแรกของการสร้างความพร้อมนั้น คณะทำงานแผนแม่บทชุมชนฯ ซึ่ง
ประกอบด้วยแกนนำชุมชนและบัณฑิตอาสา ได้เข้าร่วมอบรมทำความเข้าใจเรื่องแผนแม่บทฯ จากอาจารย์จำนง แรกพินิจ
มหาวิทยาลัยทักษิณ ต่อจากนั้นจึงเดินทางไปศึกษาดูงานชุมชนเข้มแข็งและชุมชนต้นแบบแผนแม่บทฯ ที่จังหวัดสงขลา
นครศรีธรรมราช สตูล กระบี่ และกลับมาจัดเวลาสรุปผลการศึกษาดูงาน พร้อมทั้งวางแนวทางขยายผลขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ
ในแต่ละหมู่บ้านของตำบลปะเสยะวอร่วมกัน
การขยายผลในระดับพื้นที่ คณะทำงานแผนแม่บทชุมชนฯ ใช้วิธีการจัดเวทีประชาคมในทุกหมู่บ้าน เพื่อสร้างความ
เข้าใจเกี่ยวกับแผนแม่บทฯ และกระบวนการจัดทำแผนแม่บทฯ รวมทั้งหาอาสาสมัครแต่ละหมู่บ้านที่จะทำหน้าที่สำรวจข้อมูล
หมู่บ้าน ในขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาใช้ทำแผนแม่บทฯ ทำโดยประชุมทีมอาสาสมัครเพื่อสร้างความพร้อมและ
ความเข้าใจในการเก็บข้อมูลและแบบสำรวจ จากนั้นทดลองสุ่มสำรวจในหมู่บ้านนำร่อง 1 หมู่บ้าน เมื่อได้ผลจึงลงมือสำรวจ
จริง โดยใช้กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 10 ของครัวเรือนทั้งหมดในแต่ละหมู่บ้าน การสำรวจเริ่มจากบ้านของอาสาสมัครเองก่อน แล้ว
ขยายสู่ครัวเรือนใกล้บ้าน ใช้อาสาสมัครหมู่บ้านละ 10 20 คน ข้อมูลที่เก็บประกอบด้วยประวัติศาสตร์ชุมชน ข้อมูลประชากร
และครอบครัว ข้อมูลค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปัญหาความต้องการและ
ความคาดหวังของชุมชน รวบรวมข้อมูลที่เก็นได้จากทั้ง 7 หมู่บ้าน ในขั้นนี้ได้จัดประชุมทีมอาสาสมัครอีกครั้ง เพื่อร่วมตรวจ
สอบความถูกต้องของข้อมูลและวิเคราะห์ร่วมกัน ก่อนที่จะสรุปผลเขียนเป็นร่างรายงานข้อมูลประกอบการทำแผนแม่บทฯ ซึ่ง
ขณะนี้ร่างรายงานฯ ฉบับดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะจัดเวทีในระดับตำบล เพื่อนำเสนอผลการศึกษาข้อมูลและ
ร่วมแลกเปลี่ยน ตรวจสอบวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลกับแกนนำชุมชนให้สมบูรณ์ถูกต้องยิ่งขึ้น ก่อนที่จะจัดเวทีเพื่อเข้าสู่กระบวน
การนำข้อมูลมาจัดทำแผนแม่บทต่อไป ทั้งนี้ตลอดกระบวนการที่กล่าวมาได้รับความร่วมมือเป็นอย่างจากนักพัฒนาองค์กรเอกชน
(NGO) มาช่วยหนุนเสริมกระบวนการ จะเห็นได้ว่ากิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนกระบวนการ มาจากการมีส่วนร่วม
คิดเอง ทำเองของคนในชุมชนทุกระดับ บุคลากรของมหาวิทยาลัย NGO และภาคีอื่น ๆ เป็นผู้หนุนเสริมกระบวนการเท่านั้น
กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเข้มข้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจัดเวทีในพื้นที่ การประชุมปรึกษาหารือ ศึกษาดูงาน ฝึกอบรม
ก็มีส่วนช่วยอย่างมากให้คนในชุมชนได้เรียนรู้ร่วมกัน โดยเฉพาะในกระบวนการเก็บข้อมูลนั้น ชุมชนได้มีโอกาสเรียนรู้ประวัติ
ศาสตร์ความเป็นมาของชุมชน รู้ข้อมูลในครอบครัวตนเอง รายรับ รายจ่าย หนี้สิน สภาพเศรษฐกิจชุมชน ที่เดิมเคยพึ่งพา
ตนเองได้แต่ปัจจุบันกลับต้องพึ่งพาภายนอกเกือบทั้งหมด ได้เรียนรู้ทุนหรือแผนที่ขุมทรัพย์ในชุมชน และทุกข์หรือปัญหาที่ชุมชน
ประสบ ซึ่งการได้รู้จักตนเองและชุมชนอย่างลึกซึ้งตามข้อเท็จจริงของข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมมาด้วยตนเอง จะนำไปสู่การจัดทำ
แผนแม่บทฯ ที่จะช่วยขยายทุนและขจัดทุกข์ที่มีประสิทธิผลเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของชุมชน นอกจากนี้
กิจกรรมที่มีการปฏิสัมพันธ์ตลอดเวลา ยังทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีของคนในชุมชน ได้คน ได้เพื่อน ได้ความสนิทสนม
ไว้เนื้อเชื่อใจกันและเกิดเครือข่ายคนทำงานในระดับตำบล เชื่อมต่อกับมหาวิทยาลัยและองค์กรพันธมิตร ที่สำคัญมี
ส่วนกระตุ้นสำนึกรักและห่วงแหนถิ่นเกิด เพราะชุมชนได้มีโอกาสศึกษาคุณค่าและของดีต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชน รวมถึงการ
ตระหนักในศักยภาพความสามารถที่มีอยู่ในตัวเองและชุมชน เกิดความมั่นใจมากขึ้นที่จะใช้ศักยภาพภายในขับเคลื่อนงาน
พัฒนาโดยพึ่งตนเองเป็นหลัก นางบงกชกล่าวถึงผลที่เกิดจากกระบวนการจัดทำแผนแม่บท
นางบงกช นภาพงษ์ ยังกล่าวด้วยว่าชุดประสบการณ์ที่ได้จากการจัดกระบวนการฯ ที่ชุมชนปะเสยะวอครั้งนี้จะได้นำไป
เผยแพร่แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับชุมชนอื่น ๆ นักวิชาการ นักพัฒนา ภาครัฐ ภาคเอกชนและในระดับนโยบาย อันจะเป็นประโยชน์
ต่อการพัฒนางานด้านชุมชนเข้มแข็ง และแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเองต่อไป
แม้ว่าการดำเนินโครงการฯ ตามแผนงบประมาณจะสั้นมากคือ 5 เดือน ก็เสร็จแล้ว แต่เราก็จะทำหน้าที่ประสานกลุ่ม
องค์กรเครือข่ายที่ร่วมงานกันมา เพื่อช่วยขยายผลและหนุนเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องชัดเจนที่ชุมชนปะเสยะวอ
จนถึงขั้นนำแผนแม่บทฯ ไปปฏิบัติใช้ เท่าที่ประชุมปรึกษาหารือกันก็จะมีการทำงานหลายอย่างร่วมกันต่อไป อาทิ โครงการชีวิต
สาธารณะท้องถิ่นน่าอยู่ เมืองน่าอยู่ และทำงานวิจัยเศรษฐกิจระดับอำเภอ รวมถึงงานวิจัยท้องถิ่นในประเด็นที่เป็นทั้งทุนและทุกข์
ที่ชุมชนประสบเช่น เรื่องที่เกี่ยวกับน้ำบูดู ใบจาก ที่พบมากที่นั่นและปัญหาขยะ ซึ่งต้องหาวิธีการจัดการที่ดี นางบงกชกล่าว
ตอนท้าย
***********************************
|