: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 5 ฉบับที่ 08 ประจำเดือน 08 2545
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี ศึกษาผลจากการปรับสภาพของยางธรรมชาติ เพื่อลดพลังงานที่ได้ผลิตผลิตภัณฑ์ยาง
รายละเอียด :
         ประเทศไทยเราเป็นผู้ผลิตยางธรรมชาติส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก  โดยมีศักยภาพการผลิตในปัจจุบันปีละประมาณ  

2.0  ล้านตัน  หรือประมาณร้อยละ  32  ของการผลิตของโลก  และมีพื้นที่การปลูกยาง  12  ล้านไร่  ซึ่งกระจายอยู่ใน  36  จังหวัด  

ซึ่งก่อให้เกิดอุตสาหกรรมด้านยางรองรับภายในประเทศคือทั้งโรงงานอุตสาหกรรมยางดิบและอุตสาหกรรมการผลิต

ผลิตภัณฑ์ยางที่มีจำนวนถึง  518  โรงงาน

         ในปัจจุบันอุตสาหกรรมยางพารามีการแข่งขันสูง  ไม่ว่าจะเป็ฯการแข่งขันกับประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติรายใหญ่อื่น  ๆ  

เช่น  อินโดนีเซียและมาเลเซีย  รวมทั้งประเทศในอินโดจีนที่จะเป็นคู่แข่งการผลิตยางในอนาคตและขณะเดียวกันก็แข่งขันกับยาง

สังเคราะห์ที่มีแนวโน้มการใช้ที่เพิ่มขึ้น  ด้วยเหตุนี้การเพิ่มขีดความสามารถด้านอุตสาหกรรมยางของประเทศไทย  ในการแข่งขัน

กับนานาประเทศเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง

         โดยทั่วไปยางธรรมชาติที่ได้จากต้นยางในรูปของน้ำยาง  ถูกนำมาทำการแปรรูปเพื่อจัดจำหน่ายในรูปแบบต่าง  ๆ  แบ่งออก

ได้เป็น  5  ชนิดใหญ่  ๆ  คือ  น้ำยางข้น  ยางเครฟ  ยางแท่ง  ยางแผ่น  (ยางรมควัน)  และยางแผ่นไม่รมควัน  และยางเกรดพิเศษ  

เช่น  ยางแท่งความหนืดคงที่  ยางที่ช่วยในการแปรรูปโดยมีพันธะเชื่อมโยงบางส่วน  ยางสกิม  ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการทำน้ำยาง

ข้น  ยางโปรตีนต่ำ  เป็นต้น

         เป็นที่ทราบกันว่ายางธรรมชาติในรูปแบบของยางแห้ง  เมื่อต้องการนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยาง  ขั้นตอนแรกของการแปรรูป

คือ  การผสมยางกับสารเคมี  ซึ่งยางธรรมชาติจำเป็นต้องผ่านกระบวนการบดยาง  เนื่องจากยางธรรมชาติมีน้ำหนักโมเลกุลถึง  1.6 X 104 –

2.3 X 106  จึงจำเป็นต้องมีการบดยาง  เพื่อทำให้สายโซ่โมเลกุลของยางสั้นลง  หรือมีน้ำหมักโมเลกุลที่ต่ำลง  ก่อนที่จะผสมยางกับสาร

เคมีอื่น  ๆ  เข้าไป  ซึ่งขั้นตอนของการบดยางเพื่อผสมสารเคมีดังกล่าวในภาคอุตสาหกรรมการผลิต  ผลิตภัณฑ์ยางวิธีทางกลนั้น

คือโดยใช้แรงเฉือนสายโซ่โมเลกุลให้เกิดการฉีกลาดและสั้นลง  ซึ่งทำได้โดยใช้เครื่องบดผสมแบบเปิดหรือเครื่องผสมแบบปิด  ซึ่ง

เครื่องมือทั้งสองต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการเดินเครื่องจักและส่งผลให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าไฟฟ้าค่อนข้างสูง  ด้วยเหตุนี้

จำเป็นเหตุให้ต้นทุนในการผลิตผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติมีค่าสูงกว่ายางสังเคราะห์เช่น  ยางเอส  บี  อาร์  (SBR)  ที่เป็น

ยางสังเคราะห์ที่ใช้มากถึง  6.9  ล้านตันต่อปี  มีน้ำหนักโมเลกุลเพียง  250,000 – 800,000  จึงไม่จำเป็นต้องบดยางก่อนการผสม

สารเคมี

         นอกจากประเด็นในเรื่องการบดยาง  ยางธรรมชาติยังมีปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ  เกิดอาการแข็งตัวระหว่างการเก็บ

โดยความหมืดของยางจะค่อย  ๆ  เพิ่มขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเก็บยางในสภาวะที่เย็นเป็นระยะเวลานาน  ๆ  ซึ่งความหนืดของ

ยางค่อย  ๆ  เพิ่มขึ้นจะมีผลกระทบต่อกระบวนการแปรรูปยางหลายประการเช่น  ต้องใช้พลังงานในการผสมหรือการแปรรูปมากกว่า

ปกติ  หรือต้องใช้เวลาในการบดผสมยาวนานมากขึ้น  ซึ่งแน่นอนจะส่งผลต่อเนื่องให้ต้นทุนในการผลิตผลิตภัณฑ์มีค่าสูงกว่ายาง

สังเคราะห์อื่น  ๆ

         จากปัญหาที่กล่าวข้างต้น  ถ้ามีการศึกษาและวิจัยถึงเทคนิควิธีการในการควบคุมน้ำหนักโมเลกุลของยางธรรมชาติให้อยู่ในระดับ

ที่เหมาะสมในขึ้นตอนของการผลิตยางดิบ  และโดยการเลือกใช้สารเคมีที่ช่วยในการยับยั้งการเพิ่มขึ้นของความหนืด  จะทำให้ได้ยาง

เกรดใหม่ทั้งอยู่ในรูปยางแผ่นและยางแท่งที่สามารถแก้ปัญหาอุตสาหกรรมยางดิบได้  ในด้านคุณสมบัติใหม่ที่เกิดขึ้นเช่น  มีน้ำหนัก

โมเลกุลที่เหมาะสม  พร้อมที่จะผสมสารเคมีได้ก่อนที่จะส่งไปยังภาคอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง  โดยจะส่งผลทำให้ภาค

การผลิตผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติใช้เวลาและพลังงานในการแปรรูปยางที่น้อยลง  ทำให้ยางธรรมชาติมีศักยภาพในด้านการ

แปรรูปที่สามารถแข่งขันกับยางสังเคราะห์ได้มากยิ่งขึ้น  และมีต้นทุนของการทำผลิตภัณฑ์ที่ลดลง  รวมทั้งส่งผลต่อเนื่องทำให้

ความจำเป็นที่จะต้องขยายปริมาณการผลิตกระแสไฟฟ้าของประเทศลดลง  ซึ่งจะส่งผลให้ลดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจจะ

เกิดขึ้นจากการผลิตกระแสไฟฟ้า

          ด้วยเหตุนี้  จึงนับได้ว่ายางธรรมชาติเกรดใหม่มีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่อุตสาหกรรมการผลิตยางของประเทศ  

โดยทำให้ผู้ประกอบการหันมาใช้ยางเกรดใหม่เพิ่มขึ้นในการทำผลิตภัณฑ์  อันก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มของยางธรรมชาติ  ซึ่งนับว่าเป็น

การแก้ปัญหาของยางธรรมชาติของประเทศในสภาวะปัจจุบันนี้ได้  นอกจากนี้อุตสาหกรรมยางดิบไทยที่จะผลิตยางเกรดใหม่นี้

จะสามารถเป็นคู่แข่งกับผู้ผลิตยางธรรมชาติรายอื่น  อันเป็นการส่งผลให้เพิ่มปริมาณการส่งออกยางธรรมชาติของประเทศไทย

ให้มากขึ้น

         จากความสำคัญดังกล่าวจึงได้มีการศึกษาวิจัยการปรับสภาพของยางธรรมชาติพื่อลดพลังงานที่ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ยาง  โดยมี

วัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการปรับสภาพโครงสร้างและน้ำหมักโมเลกุลของยางธรรมชาติให้ได้ยางธรรมชาติดิบเกรดใหม่  

ที่มีความสามารถในการแข่งขันกับยางสังเคราะห์ได้  พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานของภาคอุตสาหกรรมการผลิตยางธรรมชาติให้มีความ

สามารถในการผลิตยางธรรมชาติที่มีความหลากหลายมากขึ้น

         ดร.อรสา  ภัทรไพบูลย์ชัย  หัวหน้าโครงการวิจัยผลจากการปรับสภาพของยางธรรมชาติเพื่อลดพลังงานที่ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์

ยาง  เปิดเผยถึงผลการศึกษาวิจัยว่าผลการทดลองในระดับ  pilot  plant  ซึ่งขณะนี้สำเร็จในขั้น  85 % เป็นที่น่าพอใจ  และมีโครงการ

ที่จะถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีให้สหกรณ์สวนยาง  กลุ่มอุตสาหกรรมยางดิบ  และกลุ่มผลิตภัณฑ์ทราบภายในเดือนพฤศจิกายน  

2545  ทั้งนี้ข้อดีของยางที่ผลิตได้นี้เป็นยางธรรมชาติชนิดพิเศษที่สามารถทำให้ประหยัดพลังงานในการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง  คิดเป็น

มูลค่าต่ำสุดประมาณ  15  ล้านบาท  และในขณะเดียวกันสามารถประหยัดแรงงานโดยลดต้นทุนถึง  11  ล้านบาท  ซึ่งไม่รวมถึงค่าเสื่อม

ลงของเครื่องจักร  ซึ่งขณะนี้สามารถผลิตยางดังกล่าวเพียง  4  หมื่นตัน  เพื่อใช้ภายในประเทศก่อนเท่านั้นโดยไม่รวมถึงตลาดต่าง

ประเทศ



                                                                                     *******************************

โดย : 192.168.148.54 * [ วันที่ 2005-04-10 17:12:01 ]