เกษตรกรรมที่ใช้สารเคมีมีส่วนทำลายดินและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีผลเสียต่อสุขภาพของเกษตรกร รวมทั้งผู้บริโภค
ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้และมะเร็ง อีกทั้งยังทำให้ประเทศต้องเสียดุลการค้าจากการนำเข้าปุ๋ยและ
ยาฆ่าแมลงจากต่างประเทศ
ปัจจุบันเกษตรกรเริ่มตระหนักถึงพิษภัยดังกล่าวและหันมาสนใจทำเกษตรธรรมชาติกันมากขึ้น เช่นเดียวกับที่ตำบลชิงโค
อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เกษตรกรซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์มะม่วงพิมเสนเบาและกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ข้าว
และตาลโตนด จำนวน 8 คน จาก 3 ครอบครัว ได้ถูกคัดเลือกและพัฒนาให้เป็นเกษตรกรต้นแบบวนเกษตรไร้สารพิษตาม
โครงการพัฒนาชนบทเชิงระบบปี 2545 ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การดำเนินงานตามโครงการนี้ จะฝึกอบรมให้เกษตรกรต้นแบบมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเกษตรแบบธรรมชาติ
มากขึ้น สามรถผลิตปุ๋ยหมัก ผลิตสารป้องกันแมลงและศัตรูพืช รวมทั้งผลิตสารชีวภาพอื่น ๆ ไว้ใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการ
เกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้คาดหวังไว้ว่าเกษตรกรต้นแบบมีความรู้ สามารถปฏิบัติได้จริง และสามารถถ่ายทอด
ความรู้และทักษะการทำวนเกษตรไร้สารพิเศษไปยังครอบครัวเกษตรกรในตำบลอื่น ๆ ได้ต่อไป
นายไมตรี แก้วทับทิม หัวหน้าสถานีบริการวิชาการชุมชน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า
การฝึกอบรมเน้นให้เกษตรกรฝึกทำสารชีวภาพจากเศษวัตถุดิบทางการเกษตรในท้องถิ่นที่เหลือใช้แล้วเช่น เศษพืชผัก ผลไม้ ปลาสด
รวมไปถึงเศษอาหารในครัวเรือน ซึ่งจะทำให้เกษตรกรประหยัดค่าใช้จ่ายถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับการที่ต้องซื้อปุ๋ยเคมีมาใช้ สสาร
ชีวภาพที่ได้ยังมีประโยชน์หลายอย่าง นอกจากจะทำปุ๋ยแล้วนำไปฉีดพ่นช่วยกำจัดวัชพืช ศัตรูพืช รวมทั้งกำจัดกลิ่นในครัวเรือนและ
คอกปศุสัตว์ และผลผลิตที่ตกค้างสามารถขายได้ในราคาที่สูงได้อีกด้วย
*******************************
|