วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยอิสลามแห่งเมืองมาดีนะฮ ประเทศ
ซาอุดิอาระเบีย ร่วมกันจัดโครงการต่อเนื่องอบรมภาษาอาหรับและวิทยาการอิสลาม เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 16 สิงหาคม
ที่ผ่านมา เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจภาษาอาหรับ จนสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอาหรับและวิชา
ศาสนาให้มีประสิทธิภาพ ประกอบกับรองรับนโยบายในการพัฒนาเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี
ผศ.ดร. อนันต์ ทิพยรัตน์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นประธาน
ผศ.ดร. อิสมาแอ อาลี ผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่า
ภาษาอาหรับเป็นภาษาหนึ่งที่มีความสำคัญอันเป็นสื่อในการเรียนการสอนสาขาวิชาอิสลามศึกษาและสาขาวิชาอื่น ๆ ในการพัฒนา
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักคำสอนศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะนักเผยแผ่และครูสอนศาสนาที่จะนำหลักคำสอนอัลกุรอานและเป็น
การรองรับนโยบายของรัฐที่ได้กำหนดให้พื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่เขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ (IMT GT) ในการ
ที่จะยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ให้ดีขึ้น ประกอบกับโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ได้รับความสนใจจากครูสอนศาสนา ผู้บริหาร
โรงเรียนและผู้สนใจทั่วประเทศ
เพื่อเป็นการพัฒนาและบริการวิชาการแก่ชุมชน วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ร่วมกับมหาวิทยาลัยอิสลามแห่งมาดีนะฮ ประเทศซาอุดิอาระเบีย จึงจัดโครงการอบรมภาษาอาหรับและวิทยาการอิสลาม เมื่อวันที่
19 กรกฎาคม 16 สิงหาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจ
ภาษาอาหรับ จนสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอาหรับและวิชาศาสนาให้มีประสิทธิภาพ ประกอบกับรองรับ
นโยบายของรัฐในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ มีคุณธรรมและมีจริยธรรม ตลอดจนการเพิ่มความรู้ด้านเทคนิค
จิตวิทยาในการเผยแพร่จริยธรรม ขณะเดียวกันเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนิงานเผยแพร่คุณภาพจริยธรรมแก่สังคม โดย
ผู้เข้ารับการอบรมครั้งนี้ประกอบด้วยนักเรียนที่จบระดับซานาวีและครูสอนศาสนาจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามและ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคของประเทศ จำนวน 240 คน ทั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้ภาษาอาหรับเพิ่มมากขึ้น
และสามารถนำไปพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอาหรับและศาสนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้วผู้ที่เข้าร่วม
การอบรมจะได้รับการคัดเลือกให้ไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยอิสลามแห่งเมืองมาดีนะฮ ประเทศซาอุดิอาระเบีย จำนวนปีละ
15 20 คน เพื่อเข้าศึกษาในคณะอักษรศาสตร์อาหรับและวัฒนธรรม สาขาวิชากุรอาน หะดิษ (วจนะของท่านศาสดา)
ซารีอะห์ (นิติศาสตร์อิสลาม)
ผศ.ดร. อนันต์ ทิพยรัตน์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวในพิธีเปิดการอบรม
ว่าการที่วิทยาลัยอิสลามศึกษาได้จัดการอบรมครั้งนี้ขึ้น นับว่ามีความสำคัญมากเพราะภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักของศาสนา
อิสลาม เป็นภาษาแห่งคัมภีร์อัลกุรอานและวัจนะของศาสดามูฮำมัด นอกจากนี้ยังเป็นภาษาหลักของตำราแม่บทที่นักปราชญ์ได้
บันทึกทัศนะทางวิชาการอิสลามในด้านต่าง ๆ หรือเรียกว่าตำราฟิกฮ์
ในด้านการเรียนการสอนนั้นประเทศมุสลิมส่วนใหญ่โดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันออกกลางได้ใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลัก
ในการถ่ายทอดวิทยาการด้านต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงระดับปริญญาเอก ดังนั้นภาษาอาหรับจึงเป็นเครื่องมือสำคัญและจำเป็น
ในอันที่จะให้สำหรับนักศึกษาศาสนาอิสลามและวิทยาการต่าง ๆ ในโลกมุสิลมให้ลึกซึ้งอย่างแท้จริง
ในด้านสังคมและเศรษฐกิจ ภาษาอาหรับยังเป็นภาษาที่ใช้ในสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ อีกด้วย
ส่วนด้านเศรษฐกิจนั้นภาษาอาหรับเป็นภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารทางธุรกิจในระดับสากลภาษาหนึ่ง ซึ่งถ้าคนไทยมีความสามารถใน
ภาษาดังกล่าวแล้วจะทำให้มีโอกาสในการติดต่อทางธุรกิจกับประเทศที่ใช้ภาษาอาหรับมากขึ้น อันเป็นการเปิดโอกาสให้คนไทยมี
ศักยภาพในการแข่งขันในเวทีโลกได้มากขึ้นอีกด้วย
รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวอีกว่าการที่ท่านทั้งหลายได้เข้ามารับการอบรมครั้งนี้
นับว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้เรียนรู้สัมผัสวิทยากรที่เป็นเจ้าของภาษาและเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทำให้มีการเพิ่มพูนทักษะการใช้ภาษา
อาหรับและพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อไป
******************************
|