รายละเอียด :
|
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานเปิดการสัมมนานานาชาติเรื่อง
ประสบการณ์ถิ่นไทยทักษิณ : การปริวรรตทางสังคมในทัศนะของประชาชน เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2545 ณ โรงแรมซีเอสปัตตานี โดยมี
ผู้เข้าร่วมการสัมมนาทั้งชาวไทยและต่างประเทศ รวม 370 คน จาก 23 ประเทศ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัสในวโรกาสเสด็จฯ เป็นองค์ประธาน
เปิดการสัมมนานานาชาติเรื่อง ประสบการณ์ถิ่นไทยทักษิณ : การปริวรรณทางสังคมในทัศนะของประชาชน เมื่อวันที่
13 มิถุนายน ที่ผ่านมา มีความตอนหนึ่งว่า ขอแสดงความชื่นชมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ที่ได้
ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มูลนิธิโตโยต้า และมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ จัดการประชุมวิชาการอันจะก่อให้เกิดการแลก
เปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ด้านวัฒนธรรม ศาสนา ประวัติศาสตร์ และการเมือง ระหว่างนักวิชาการ ข้าราชการ
ประชาชน และบุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับภาคใต้ทั้งภายในและต่างประเทศ ทำให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือของนักวิชาการ
ระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติและทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีเกี่ยวกับความเคลื่อนไหว ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยในเวทีโลก
รศ.ดร. ประเสริฐ ชิตพงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่าภาคใต้ของประเทศไทย
มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม รวมทั้งเป็นแหล่งรวมของภาษาหลัก ๆ ในภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น Austronesian , Austroasiatic และ Tai ภาคใต้เป็นแหล่รวมของศาสนาหลักของโลก
เช่น พุทธ อิสลาม คริสต์ และฮินดู เป็นที่รวมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ไทย มาเลย์ จีน อินเดีย ซาไก ชาวเล
ภาคใต้ยังตั้งอยู่บนแหลมมลายูที่จะได้รับการพัฒนาให้เป็นพื้นที่ที่มีความเจริญทางอุตสาหกรรมใหม่ตามโครงการ
สามเหลี่ยมเศรษฐกิจหรือ IMT GT
จากความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ในภาคใต้ รวมทั้งเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน
เกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จึงได้มีการจัดประชุมทางวิชาการนานาชาติขึ้นเพื่อเปิด
โอกาสให้นักวิชาการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จากภาครัฐและเอกชนรวมทั้งประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ได้พบปะ
แลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาคใต้ในด้านการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม
การท่องเที่ยว ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนด้านศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกัน อันจะทำให้
อยู่ร่วมกันอย่างมีสันติท่ามกลางความแตกต่าง
นอกจากนี้ปัจจุบันมีนักวิชาการทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพื้นที่บริเวณนี้เป็นจำนวนมาก ทั้งนักวิจัยในประเทศไทย
และต่างประเทศ แต่ผลงานการวิจัยส่วนใหญ่ยังคงจำกัดอยู่แต่เฉพาะแวดวงนักวิชาการในแต่ละสาขาและภาษาซึ่งแตกต่างไป
ทั้งภาษาอังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น จีน และภาษาไทย นอกจากนี้ประชาชนในท้องถิ่นและผู้บริหารระดับต่าง ๆ
อีกจำนวนมากยังไม่สามารถเข้าถึงองค์ความรู้เหล่านั้นได้
อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวอีกว่าการประชุมทางวิชาการที่ผ่านมาใช้เวลาการประชุม 3 วัน
มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 370 คน จาก 23 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อัลจีเรีย ออสเตรีย อังกฤษ เยอรมัน
มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน สิงคโปร์ กัมพูชา แคนาดา ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ปากีสถาน อินเดีย อุซเบกิสสถาน อิตาลี ฝรั่งเศส
แคนาดา ฟินแลนด์ เดนมาร์ก และไทย ทั้งนี้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้รับความร่วมมือจาก
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มูลนิธิโตโยต้า และมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ ในการจัดหานักวิชาการที่มีชื่อเสียงมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้
และสนับสนุนงบประมาณในการจัดประชุม
***************************
|