รายละเอียด :
|
วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับมหาวิทยาลัยอิสลามแห่งเมืองมาดีนะฮ
ประเทศซาอุดิอาระเบีย ร่วมกันจัดโครงการต่อเนื่องอบรมภาษาอาหรับและวิทยาการอิสลาม ต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 ให้แก่
ครูสอนศาสนาอิสลามหรือภาษาอาหรับทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม 16 สิงหาคม 2545
ณ วิทยาลัยอิสลามศึกษา เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจภาษาอาหรับจนสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน
ภาษาอาหรับและวิชาศาสนาให้มีประสิทธิภาพ ประกอบกับรองรับนโยบายในการพัฒนาเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจใน
จังหวัดชายแดนภาคใต้
ผศ. ดร. หะสัน หมัดหมาน ผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
กล่าวว่าภาษาอาหรับเป็นภาษาหนึ่งที่มีความสำคัญอันเป็นสื่อในการเรียนการสอนสาขาวิชาอิสลามศึกษาและสาขาวิชาอื่น ๆ
ในการพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักคำสอนศาสนาอิสลามโดยเฉพาะนักเผยแผ่และครูสอนศาสนาที่จะนำหลักคำสอน
อัลกุรอานและเป็นการรองรับนโยบายของรัฐที่ได้กำหนดให้พื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่เขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ
(IMT GT) ในการที่จะยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ให้ดีขึ้น ประกอบกับโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ได้รับความ
สนใจจากครูสอนศาสนา ผู้บริหารโรงเรียน และผู้สนใจทั่วประเทศ
เพื่อเป็นการพัฒนาและบริการวิชาการแก่ชุมชน วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต
ปัตตานี ร่วมกับมหาวิทยาลัยอิสลามแห่งมาดีนะฮ ประเทศซาอุดิอาระเบีย จัดโครงการอบรมภาษาอาหรับและวิทยาการอิสลาม
ระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม 16 สิงหาคม 2545 ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 ทั้งนี้เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจภาษา
อาหรับจนสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอาหรับและวิชาศาสนาให้มีประสิทธิภาพ ประกอบกับรองรับ
นโยบายในการพัฒนาเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 240 คน ซึ่งต้องเป็น
ผู้มีความรู้พื้นฐานภาษาอาหรับเทียบเท่าระดับชั้นซานาวียะฮ เป็นครูสอนศาสนาอิสลามหรือสอนภาษาอาหรับ ไม่เคยผ่านการ
ศึกษาจากประเทศในตะวันออกกลางและการอบรมในโครงการนี้มาก่อน ทั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับความรู้ภาษาอาหรับเพิ่ม
มากขึ้น และสามารถนำไปพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอาหรับและศาสนาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้วผู้ที่เข้าร่วม
การอบรมจะได้รับการคัดเลือกให้ไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยอิสลามแห่งเมืองมาดีนะฮ ประเทศซาอุดิอาระเบีย จำนวนปีละ
15 20 คน เพื่อเข้าศึกษาในคณะอักษรศาสตร์อาหรับและวัฒนธรรม สาขาวิชากุรอาน , หะดิษ (วจนะของท่านศาสดา) ,
ซารีอะห์ (นิติศาสตร์อิสลาม)
*************************
|