มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี นำนักศึกษาลงพื้นที่เรียนรู้ชุมชน หวังเป็นสื่อ
กลางให้ภาครัฐและชุมชนร่วมแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
ดร.อุสมาน สารี ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต
ปัตตานี กล่าวว่าสืบเนื่องจากรัฐบาลได้แถลงนโยบายในด้านการศึกษาว่าจะปฏิรูปการศึกษาตามเจตนารมณ์
แห่งรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เพื่อพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
อันนำไปสู่ระบบเศรษฐกิจฐานความรู้และนำประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจและสังคม นอกจากนี้คณะ
รัฐมนตรียังมีมติว่าในช่วงปิดภาคการศึกษา ควรมีโครงการเพื่อให้โอกาสนักศึกษาและอาจารย์ได้ทำกิจกรรม
ที่เป็นการสร้างสรรค์ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และก่อให้เกิดรายได้หรือเพิ่มทักษะด้านอาชีพ โดยมีรูป
แบบที่ต้องคลุกคลีหรือทำงานร่วมกับประชาชนในพื้นที่ในลักษณะการเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชน เพื่อให้นักศึกษา
รู้จักการหารายได้และทักษะด้านอาชีพตามสภาพความเป็นจริงและในขณะเดียวกันให้นักศึกษารายงานมุมมอง
ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่อชุมชนหน่วยงานราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร
จัดการชุมชน ท้องถิ่นอีกทางหนึ่ง จึงได้มีโครงการเรียนรู้ร่วมกัน สรรรค์สร้างชุมชนขึ้น เป็นโครงการ
นำร่อง
ทบวงมหาวิทยาลัยได้กำหนดพื้นที่กิจกรรมภาคสนามใน 76 จังหวัด ๆ ละ 2 ชุมชน รวม
152 ชุมชน โดยในแต่ละชุมชนจะดำเนินกิจกรรมไม่น้อยกว่า 4 ด้านตามความพร้อมของนักศึกษา โดย
กำหนดให้มหาวิทยาลัยในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจำนวน 16 สถาบัน เป็นแกนกลางในการประสานงาน
ให้คำแนะนำปรึกษาและประมวลผลงานคือ ภาคกลาง 4 กลุ่ม (16 จังหวัด) ภาคตะวันออก 1 กลุ่ม
(5 จังหวัด) ภาคตะวันตก 1 กลุ่ม (5 จังหวัด) ภาคใต้ 3 กลุ่ม (14 จังหวัด) ภาคเหนือ 3 กลุ่ม
(17 จังหวัด) และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 กลุ่ม (19 จังหวัด)
ในส่วนของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จะรับผิดชอบในพื้นที่ตำบล
โคกเคียน อำเภอเมือง ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส โดยมีลักษณะการจัดกิจกรรม
รวม 8 ด้าน ได้แก่ กิจกรรมเกี่ยวกับหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โครงการอินเตอร์เนตตำบล โครงการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการสุขภาพชุมชน โครงการสมุนไพรอาหารเสริม โครงการ
ศิลปะวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น และโครงการท่องเที่ยว
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดเผย
ว่าโครงการเรียนรู้ร่วมกัน สรรค์สร้างชุมชน เป็นโครงการนำร่องที่ให้นักศึกษาสามารถนำทฤษฎีไปประยุกต์
แก้ปัญหาชุมชนได้เป็นอย่างดี จากการสำรวจในเบื้องต้นพบว่าชุมชนขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์พื้นฐาน
ในการดำเนินการ โครงการอินเตอร์เนตตำบล ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ขาดความสนใจในการสืบทอด การกำจัด
ขยะอย่างถูกวิธี เป็นต้น ผู้นำชุมชนเห็นความสำคัญของนักศึกษาในการที่จะเป็นสื่อกลางระหว่างภาครัฐและ
ชุมชนเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น ทั้งนี้ผลงานของนักศึกษาจะเป็นประโยชน์อย่างต่อเนื่องได้ขึ้นอยู่กับ
ความร่วมมือของทุกฝ่ายทั้งชุมชนและภาครัฐที่ต้องร่วมกันนำข้อมูลไปใช้แก้ปัญหาให้ยั่งยืน ซึ่งรัฐบาลและ
ทบวงมหาวิทยาลัยจะมีโครงการสนับสนุนให้นักศึกษาลงพื้นที่อย่างต่อเนื่องในปีต่อไป
**************************
|