รายละเอียด :
|
โครงการจัดตั้งสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี ได้สัมมนาทางวิชาการเรื่องการส่งเสริมและพัฒนางานหัตถกรรมพื้นบ้านภาคใต้
เมื่อวันที่ 24 - 25 มกราคม 2545 ณ หอประชุมโครงการจัดตั้งสถาบันวัฒนธรรมศึกษา-
กัลยาณิวัฒนา เพื่อเปิดโอกาสให้ช่างหัตถกรรมพื้นบ้านได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรง
ในการทำงาน ทั้งในด้านการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน โดยมี ผศ.ดร. อนันต์ ทิพยรัตน์
รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นประธานในพิธีเปิด
นายสมบูรณ์ ธนะสุข ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่างานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่เกิดขึ้นในสังคม
เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ช่างทำขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในวิถีชีวิตของคนในสังคมเช่น เครื่องใช้ในครัวเรือน
เครื่องการจับสัตว์ เครื่องประดับ การทอผ้า เป็นต้น ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่คนในอดีตได้สร้างขึ้นและ
สะท้อนให้เห็นถึงความงามทางศิลปะ ความปราณีตในฝีมือ รวมถึงการรู้จักนำวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น
มาใช้ให้เกิดประโยชน์และสนองความต้องการของสังคมได้อย่างเหมาะสม กลายเป็นมรดกทาง
วัฒนธรรมที่นำความภาคภูมิมาสู่คนในท้องถิ่นในยุคปัจจุบัน เพื่อเป็นการฟื้นฟูให้เกิดการสืบสานงาน
ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน โครงการจัดตั้งสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลา
นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี จึงได้มีการจัดสัมมนาทางิวชาการเรื่องการส่งเสริมและพัฒนางาน
หัตถกรรมพื้นบ้านภาคใต้ เมื่อวันที่ 24 - 25 มกราคม ที่ผ่านมา เพื่อเปิดโอกาสให้ช่างหัตถกรรม
พื้นบ้านได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงในการทำงาน ทั้งในด้านการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ในการทำงาน และการทำงานที่ประสบความสำเร็จ ผู้เข้าสัมมนาประกอบด้วยช่างหัตถกรรมพื้นบ้าน
นักวิชาการ ผู้ประกอบการร้านค้าที่ระลึก และผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว รวม 50 คน โดยมี
การบรรยายทางวิชาการ อาทิ หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์กับการพัฒนาท้องถิ่น , สภาพปัจจุบัน :
การผลิตผลิตภัณฑ์หนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ , การออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งเสริมการตลาด
ฯลฯ และการสาธิตและจัดนิทรรศการหัตถกรรมพื้นบ้าน
นายตีพะลี อะตะบู ช่างทำกริชบ้านตะโละหะลอ ตำบลตะโละหะลอ อำเภอรามัน จังหวัด
ยะลา เปิดเผยว่าโครงการสัมมนาดังกล่าวเป็นโครงการที่ช่วยให้ช่างพื้นบ้านที่เรียกว่าภูมิปัญญาชาวบ้าน
ได้มีโอกาสใช้วิชาและความสามารถในการประดิษฐ์จัดทำได้อย่างถูกต้อง และสามารถเผยแพร่สิ่งที่เรา
ได้เรียนรู้มาให้ผู้อื่นได้ทราบและเข้าใจตามหลักวิชาการ ตั้งแต่มหาวิทยาลัยได้ให้โอกาสเรียนรู้ทำให้ช่าง
พื้นบ้านเป็นที่สนใจและสามารถผลิตผลิตภัณฑ์พื้นบ้านให้เป็นสินค้าที่ชาวไทยและต่างประเทศพอใจ
เช่น กริช ผ้าบาติก เครื่องทองเหลือง ฯลฯ เพื่อรองรับนโยบายผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งหมู่บ้าน
*****************************
|