มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ในปีการศึกษา
2545 เพื่อผลิตนักบริหารการศึกษาระดับสูงให้เป็นผู้นำทางวิชาการ
ผศ. ดร. อนันต์ ทิพยรัตน์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่าการศึกษาเป็นกระบวนการพัฒนาทรัพยากร
มนุษย์ให้มีคุณภาพทั้งด้านความรู้และคุณภาพ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณลักษณะดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยความรู้ทางการบริหารและการจัดการ
ตลอดจนกลยุทธ์ต่าง ๆ ในการพัฒนา ซึ่งผู้ที่มีบทบาทในการจัดการศึกษาคือผู้บริหารการศึกษา นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงของโลก
ปัจจุบันมีผลกระทบต่อ
การจัดการศึกษาทั้งด้านหลักสูตร การเรียนการสอน เทคโนโลยีต่าง ๆ ผู้บริหารจำเป็นต้องเป็นผู้ที่ทันสมัยและเป็นผู้นำการ
เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่
กระทบต่อการจัดการศึกษา ประกอบกับการมีพระราชบัญญัติแห่งชาติฉบับใหม่ พ.ศ. 2542 ซึ่งทำให้เกิดการขยายการศึกษาขั้นพื้นฐานถึง 12 ปี การปฏิรูปการศึกษา
ด้านต่าง ๆ การประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ และการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา จึงจำเป็นต้องมีการผลิตนักวิชาการและนักบริหารการศึกษาที่มี
ความสามารถในการเป็นผู้นำทางการศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจและมีประสบการณ์ทางการบริหาร สามารถกำหนดนโยบายและแผนการศึกษา ตลอดจนมีความ
สามารถจัดการทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพและสามารถวิจัยค้นคว้าหาองค์ความรู้ใหม่ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารการศึกษา รองรับการพัฒนาทางสังคมและ
ประเทศชาติ
จากความสำคัญดังกล่าวจึงมีความจำเป็นเปิดสอนระดับปริญญาเอกสาขาการบริหารการศึกษา (Doctor of Education Program
in Educational Administration) เพื่อผลิตนักวิชาการและนักบริหารการศึกษาในระดับสูงให้เป็นผู้นำทางวิชาการ มีความสามารถด้านวิจัย และสามารถ
นำผลวิจัยไปใช้ในการพัฒนาการศึกษาในหน่วยงานของตนทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ตลอดจนหน่วยงานการศึกษาในภาคเอกชนอีกด้วย ทั้งนี้
กำหนดเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2545 จำนวน 6 คน รับสมัครผู้มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาโทสาขาการบริหารการศึกษา หรือสาขาวิชาอื่นทาง
การศึกษา และมีประสบการณ์ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษาไม่น้อยกว่า 5 ปี โดยใช้ชื่อปริญญาว่า ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
(การบริหารการศึกษา) Doctor of Education Program (Educational Administration) ซึ่งบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรดังกล่าวจะมีความ
สามารถคิดค้นองค์ความรู้ใหม่ โดยอาศัยกระบวนการวิจัยและสามารถนำไปพัฒนาการศึกษาให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ
********************
|