: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 4 ฉบับที่ 11 ประจำเดือน 11 2544
หัวข้อข่าว : ม.อ. ปัตตานี วิจัยพบปัญหาแรงงานไทยไม่ได้ขาดแคลนแต่ขาดคุณสมบัติ ควรเพิ่มหลักสูตรด้านช่างและภาษา
รายละเอียด :
               นักวิชาการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ศึกษาพบปัญหาแรงงานไทยควรเพิ่มหลักสูตร

ช่างฝีมือและภาษา  เพื่อรองรับโครงการ  (IMT - GT)  พร้อมทั้งรัฐควรมีการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน  เพื่อยก

ระดับฝีมือให้มีคุณภาพ

         รศ. ดร. ชุมศักดิ์  อินทร์รักษ์  หัวหน้าโครงการวิจัยการพัฒนาฝีมือแรงงานในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้  

เพื่อรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย  (IMT - GT)  กล่าวว่าการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นกระบวนการพัฒนา

ทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ  นำประเทศสู่ความทัดเทียมกับอารย

ประเทศ  ซึ่งในปัจจุบันความต้องการฝีมือแรงงานที่มีคุณภาพหรือแรงงานที่พัฒนาแล้วมีเพิ่มมากขึ้น  เพื่อรองรับ

การพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมต่าง   ๆ  ของประเทศ  อย่างไรก็ตามแรงงานไทยก็ยังมีปัญหาได้แก่  ขาด

แคลนกำลังคนที่มีคุณภาพในทุกระดับ  ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ  

ประเทศไทยมีความต้องการแรงงานโดยภาพรวมทั่วประเทศในด้านอุตสาหกรรมการผลิต  อุตสาหกรรมการก่อสร้าง  

เกษตรกรรมประมง  การบริการธุรกิจโรงแรมและการขนส่ง  บริการการเงินประกันภัยตามลำดับ  จึงเป็นสิ่งสำคัญที่

รัฐหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องเตรียมการพัฒนาฝีมือแรงงานทั้งในด้านบุคลากร  หลักสูตรอุปกรณ์เครื่อง

เทคโนโลยี  ข้อมูลสารสนเทศ  ตลอดจนกระบวนการฝึกให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานในสภาว

การณ์ปัจจุบันเป็นหลัก

         จากการที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ประกอบด้วยจังหวัดสงขลา  สตูล  ปัตตานี  ยะลา  และนราธิวาส  ซึ่ง

ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรและประมง  มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากภูมิภาคอื่น  โดยเฉพาะ

ด้านเศรษฐกิจที่ดูเหมือนว่าภูมิภาคนี้มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติพืชเศรษฐกิจ  แต่ยังมีข้อจำกัด

ทางสังคม  ฝีมือแรงงานที่มีคุณภาพต่ำ  อัตราการเพิ่มของประชากรสูง  มีผู้ไม่รู้หนังสือมาก  ค่านิยมวัฒนธรรมมัก

สร้างความขัดแย้งและความแปลกแยกทางสังคม  ประกอบกับแรงงานบางส่วนมีการเคลื่อนย้ายไปทำงานใน

ประเทศมาเลเซีย  เหล่านี้ส่งผลต่อการพัฒนาฝีมือแรงงานในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้  ดังนั้นจึงได้มีการศึกษา

วิจัยเรื่องการพัฒนาฝีมือแรงงานในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย  

(IMT - GT)  เพื่อที่จะศึกษาว่าสภาพของการพัฒนาฝีมือแรงงานในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้  ด้านสภาพทั่วไป

และสภาพของกิจกรรมที่สถาบันและศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานดำเนินการอยู่นั้นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับใด  

มีปัญหาอย่างไรบ้าง  มีการปฏิบัติในกระบวนการดำเนินงานอย่างไรบ้าง  ผลผลิตรวมทั้งผลกระทบต่าง  ๆ  อยู่ใน

ระดับที่มีคุณภาพหรือไม้  มีปัญหาอะไรบ้างที่ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข  พร้อมทั้งเป็นการศึกษาตัวแปรต่าง ๆ  

ที่ส่งผลต่อการพัฒนาฝีมือแรงงานและหาแนวทางในการพัฒนาฝีมือแรงงานของไทย  เพื่อให้สามารถแข่งขันกับ

ต่างประเทศและเป็นฝีมือแรงงานที่มีคุณภาพช่วยยกระดับฝีมือแรงงานพัฒนาการผลิตและเศรษฐกิจในภูมิภาค

นี้ให้สูงขึ้น

         หัวหน้าโครงการวิจัยการพัฒนาฝีมือแรงงานในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้  เพื่อรองรับการพัฒนาเขต

เศรษฐกิจสามฝ่าย  (IMT -GT)  กล่าวถึงผลการวิจัยปรากฏว่าการพัฒนาฝีมือแรงงานในห้าจังหวัดชายแดนภาค

ใต้  ด้านสภาพทั่วไปมีความเหมาะสมปานกลางกับความต้องการของตลาดแรงงาน  ซึ่งยังไม่อยู่ในระดับเหมาะสม

มากนัก  เนื่องจากสภาพของพื้นที่ห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้มีข้อจำกัดในด้านระบบข่าวสาร  ด้านตลาดแรงงาน

และกำลังคนที่ชัดเจน  ตลอดจนบุคลากรครูฝีกมีอยู่น้อย  ทำให้ศักยภาพการพัฒนาคนเข้าสู่อุตสาหกรรมการค้า

ชายแดนด้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน  และยังมีปัญหาทางภาษาในการสื่อสาร  จึงทำให้ไม่สามารถพัฒนาได้ตาม

ความต้องการของโครงการ  IMT - GT  ในส่วนของกระบวนการพัฒนาฝีมือแรงงานอยู่ในระดันปานกลาง  เนื่อง

จากสื่อประชาสัมพันธ์มีเพียงวิทยุท้องถิ่นและโทรทัศน์เพียงช่องเดียว  และสื่อเหล่านี้ยังถูกจำกัดด้วยเวลาการ

ออกอากาศที่ไม่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย  ทำให้ไม่ทราบข้อมูลและไม่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน  

สำหรับผลผลิตของการพัฒนาฝีมือแรงงานอยู่ในระดับดีเป็นที่พอใจ  ซึ่งเป็นสิ่งบ่งบอกถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  

การเสริมสร้างนิสัยอุตสาหกรรมให้กับผู้ผ่านการฝึกได้ช่วยสร้างคุณภาพของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  เช่น  การ

สร้างความเป็นผู้นำ  ความมีมนุษยสัมพันธ์  ความไว้วางใจ  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ความขยันหมั่นเพียร  เป็นต้น  

เหล่านี้เป็นคุณสมบัติที่แรงงานในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องการมาก  นอกจากนี้การประสานงานระหว่างภาครัฐ  

เอกชน  และสถานประกอบการยังไม่มีการวางแผนร่วมกันในเรื่องของแรงงานกับความต้องการของตลาดแรงงาน  

การพัฒนาฝีมือแรงงานในระดับพื้นที่เป็นอีกทางหนึ่งของการปฏิบัติการเพื่อให้เข้าถึงประชาชน  ควรเน้นฝีมือ

แรงงานที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น  ซึ่งกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจำเป็นต้องกระจายงานพัฒนาฝีมือแรงงานไปยังองค์การ

บริหารส่วนตำบลและเทศบาล  และควรเพิ่มสาขาอาชีพต่าง  ๆ  ในชนบท  เน้นการพัฒนาภูมิปัญญาชาวบ้านที่ไม่

ทำลายสภาพแวดล้อม  ผลิตสินค้าตามแนวนโยบายของรัฐบาล  "หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์"  ซึ่งสามารถส่งเสริมอาชีพ

ในครัวเรือนให้มีการผลิตและการจำหน่ายในสังคมท้องถิ่น  ซึ่งจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเพิ่มขึ้น

         สำหรับข้อเสนอแนะเพื่อตอบสนองการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย  (IMT - GT)  ต้องการให้เพิ่มหลักสูตร

ด้านช่างที่หลากหลายมากขึ้นตามความต้องการของตลาดแรงงาน  และเตรียมภาษาเพื่อการสื่อสารที่สามารถไปทำงาน

ในประเทศเพื่อนบ้านได้  รวมทั้งฝึกสร้างนิสัยอุตสาหกรรมให้กับผู้ผ่านการฝึกให้มากขึ้น  ควรมีการทดสอบมาตรฐาน

ฝีมือแรงงานเพื่อยกระดับฝีมือให้มีคุณภาพและควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเห็นความสำคัญต่อการเพิ่มทักษะ

พัฒนาอาชีพ  และควรจัดตั้งกลุ่มอาชีพต่าง  ๆ  ในชุมชนเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวนโยบายของรัฐ

อย่างมีระบบต่อไป



                                                                            **********************

โดย : 192.168.148.32 * [ วันที่ 2003-01-21 13:34:22 ]