รายละเอียด :
|
โครงการจัดตั้งสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
รับผิดชอบทั้งในส่วนที่เป็นมรดกวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของประเทศ โดยอยู่บนพื้นฐานของการศึกษา การ
ค้นคว้า วิจัยทางวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์เผยแพร่ ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลายให้ประจักษ์สู่สากล
โดยมีการจัดแสดงโบราณวัตถุและศิลปะวัฒนธรรมในลักษณะของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งข่าวศรีตรังขอแนะนำดังนี้
พิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี
สืบเนื่องจากพระเทพญาณโมลี เจ้าอาวาสวัดตานีนรสโมสร จังหวัดปัตตานี มีกุศลเจตนามอบศิลปโบราณ
วัตถุล้ำค่าเป็นจำนวนมากและบริจาคเงิน จำนวน 2,000,000 บาท (สองล้านบาท) ให้แก่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี เพื่อดำเนินการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์โดยมหาวิทยาลัยได้รับบริจาคและจัดงานมรดกไทย เพื่อหางบ
ประมาณสนับสนุนเพิ่มเติมอีก 2,000,000 บาท (สองล้านบาท) พิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลีได้เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่
6 สิงหาคม 2529 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2530 และได้ทำพิธีเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 เมษายน
2531 โดยมี ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธานในพิธีเปิดอาคาร
พระธรรมโมลี (เกตุ ติสสโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดตานีนรสโมสรพระอารามหลวง จังหวัดปัตตานี ซึ่งมรณภาพ
ไปแล้วเมื่อปี 2540 ได้มอบโบราณวัตถุสมัยรัชกาลที่ 5 อีกจำนวน 26 ชิ้น ประกอบด้วยจาน ชาม คนโท ปิ่นโต
และปั้นชา เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2539
"อาตมาจะมอบวัตถุที่มีอยู่นี้ให้ทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สร้างพิพิธภัณฑ์เก็บรักษาไว้ เพราะจะมี
ประโยชน์มาก นักศึกษามีโอกาสได้เล่าเรียนค้นคว้ากัน โดยเฉพาะทางภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์บ้าง มนุษยศาสตร์
บ้าง ขอให้ส่วนราชการได้ช่วยกันเผยแพร่สงวนรักษาไว้ให้ดีแล้วกัน" เป็นประโยคที่พระธรรมโมลีได้กล่าวไว้ ครั้น
ได้มอบโบราณวัตถุให้แก่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อจัดพิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี เมื่อปี 2529 (จากหนังสือ
พิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี ศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี)
โบราณวัตถุและศิลปะวัตถุที่ได้รับจากพระธรรมโมลี ได้จัดแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้
- โบราณวัตถุที่เกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนาและเทวรูป ได้แก่ พระพุทธรูปปางต่าง ๆ พระพิมพ์ พระ
เครื่อง โบราณวัตถุที่สำคัญได้แก่ ธรรมจักรศิลาทรายพบที่เมืองโบราณยะรัง พระพุทธรูปศิลปอู่ทองและอยุธยา พระ
พุทธรูปศิลปแบบพื้นเมืองภาคใต้ที่เรียกว่า ข้าวต้มมัดหรือขนมต้ม ส่วนพระพิมพ์เป็นพระพิมพ์ที่พบเมืองโบราณยะรัง
และภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งในอดีตเป็นดินแดนที่นับถือศาสนาพุทธลัทธิมหายาน
- เครื่องถ้วย ได้แก่ เครื่องถ้วยที่ผลิตในเอเซีย ประกอบด้วยเครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยตะวันตก เครื่อง
ถ้วยไทย - จีน
- เครื่องถ้วยจีน มีเครื่องเซลาดอน เครื่องเขียนสี และเครื่องลายคราม
- เครื่องถ้วยตะวันตก มีเครื่องถ้วยอังกฤษ เครื่องถ้วยเยอรมันเลียนแบบจีน เครื่องถ้วยสวิสเซอร์แลนด์
เครื่องถ้วยฮอลแลนด์
- เครี่องถ้วยศิลปะไทย - จีน ประกอบด้วยเครื่องถ้วยเบญจรงค์ เครื่อง จปร. และชุดชาลายน้ำทอง
- เครื่องถ้วยประเทศในเอเซีย เช่น เครื่องถ้วยญี่ปุ่นและเวียดนาม
- เหรียญและเงินเหรียญ มีเหรียญต่าง ๆ ดังนี้ เงินเหรียญจีน เงินเหรียญสเปน เงินเหรียญสหรัฐ เงิน
เหรียญเปรู เม็กซิโก อาหรับ ฝรั่งเศสในอินโดจีน ฮ่องกง ชวาและเหรียญไทย
- เครื่องใช้ในบ้าน ประกอบด้วยชุดรับแขกแกะสลักประดับด้วยหินอ่อนศิลปะจีน ชุดเก้าอี้แกะสลักศิลปะจีน
ตู้แกะสลักศิลปะจีน
- เครื่องอัฐบริขารและเครื่องใช้ของพระธรรมโมลี เช่น บาตรและกระโถน
พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา
พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา เริ่มสร้างเมื่อปี 2525 แล้วเสร็จปี 2526 ขณะนั้นอยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์การ
ศึกษาเกี่ยวกับภาคใต้ ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นชื่อสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์
- เพื่อรวบรวมข้อมูลทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้และโดยเฉพาะทางสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้
- เพื่อให้ความรู้แก่เยาวชนและประชาชนได้มีความรู้และเข้าใจในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
- เพื่อเป็นแหล่งบริการการศึกษา ค้นคว้า วิจัยทางสังคม ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ โบราณคดี
ภาษา ศาสนา ประเพณีของท้องถิ่น
- เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นภาคใต้ให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนที่ต่างวัฒนธรรมกัน
พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยาเป็นศูนย์รวบรวมหัตถกรรมพื้นบ้านโบราณวัตถุ ศิลปะที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตที่มีการ
ผสมสานของวัฒนธรรมที่หลากหลายเข้าด้วยกันของชาวไทยในภาคใต้ตอนล่าง ตลอดจนวัตถุพื้นบ้านที่มีความเกี่ยวข้อง
กับศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งประกอบด้วยเรือนไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เครื่อง
มือทำนา เครื่องทองเหลือง ศิลปินและศิลปะการแสดงพื้นบ้าน เครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน จักรยานและจักรยาน
สามล้อโบราณ เมืองโบราณยะรัง เครื่องถ้วย เครื่องมือประมง เรือกอและ ตำราโบราณ กริช ความเชื่อ ผ้าปัตตานี
ศิลปวัตถุอื่น ๆ ทั้งสองพิพิธภัณฑ์ ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เปิดให้
ชมฟรีระหว่างเวลา 09.00 - 16.00 น. ทุกวัน เว้นวันหยุดราชการ
*******************
|