: : : รายละเอียดข่าว : : :

ข่าว ปีที่ :ข่าวปีที่ 4 ฉบับที่ 10 ประจำเดือน 10 2544
หัวข้อข่าว : นักวิชาการ ม.อ. ปัตตานี เตรียมศึกษาผลกระทบของการใช้แรงงานข้ามแดนในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
รายละเอียด :
                    สถาบันสมุทรรัฐเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  ศึกษาผลกระทบของ

การใช้แรงงานข้ามแดนในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและวิเคราะห์การใช้แรงงานข้ามแดน  ส่งผลให้

ภาครัฐและเอกชนทราบถึงแนวทางการพัฒนาการใช้แรงงานข้ามแดน

         ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาสังคมและประเทศให้เจริญก้าวหน้า  โดยอาศัยระบบการบริหารจัดการ

ที่ดี  จะทำให้ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์เหล่านี้นำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง

ชาติ  ระยะที่  8  และ  9  ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  เนื่องจากประเทศต้องการพัฒนาไปสู่ระดับนานาชาติ

และต้องแข่งขันในเวทีโลกมากขึ้น

         รศ. ดร. ชุมศักดิ์  อินทร์รักษ์  หัวหน้าโครงการวิจัยผลกระทบของการใช้แรงงานข้ามแดนในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดน

ภาคใต้  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี  กล่าวว่าแรงงานเป็นส่วนสำคัญของการใช้ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์และ

มีความต้องการมากขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา  ซึ่งนำมาซึ่งปัญหาต่าง  ๆ  โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนที่มีประชาชนอยู่ใน

บริเวณติดชายแดน  มีวัฒนธรรม  สังคม  และลักษณะความเป็นอยู่ที่ใกล้เคียงกัน  ต้องอาศัยการใช้แรงงานทั้งที่ไปทำงานในประเทศ

เพื่อนบ้านและใช้แรงงานที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย  ซึ่งแรงงานเหล่านี้ย่อมเป็นปัญหาทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น  

ปัญหาที่สำคัญในจังหวัดชายแดนภาคใต้คือปัญหาแรงงานของผู้หลบหนีเข้าเมือง  ซึ่งมีจำนวนมากและส่งผลทำให้เกิดปัญหาทางสังคม  

เศรษฐกิจ  การเมือง  และการศึกษา  ควรที่จะได้รับการศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพเพื่อแก้ปัญหาในระยะยาวต่อไป

         การวางแผนการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการกำลังคนหรือตลาดแรงงาน  การส่งเสริมอาชีพในทุกระดับและ

ประเภทการศึกษาให้สามารถเป็นผู้ประกอบการ  ควรได้รับการส่งเสริมเพื่อสถานประกอบการอุตสาหกรรมต่าง  ๆ  และสามารถพัฒนา

ฝีมือแรงงานเหล่านี้ไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้  ยกระดับฝีมือของสถานประกอบการให้มีการฝึกอบรมก่อนเข้าทำงาน  เพื่อเพิ่มทักษะการ

ประกอบอารอาชีพตามความต้องการของท้องถิ่นและตลาดแรงงาน  การพัฒนาฝีมือแรงงานในระดับภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิกมีความ

จำเป็นต้องร่วมมือกันในระดับภูมิภาค  เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานเหล่านี้ไม่ให้เกิดปัญหาแรงงานข้ามชาติ

         หัวหน้าโครงการวิจัยผลกระทบของการใช้แรงงานข้ามแดนในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  

วิทยาเขตปัตตานี  กล่าวเพิ่มเติมว่าจากความสำคัญดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการศึกษาวิจัยเรื่องผลกระทบของการใช้แรงงานข้ามแดน

ในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งได้แก่จังหวัดสงขลา  สตูล  ปัตตานี  ยะลา  นราธิวาส  และจังหวัดระนอง  ซึ่งเป็นจังหวัดติดชายแดน

เช่นกัน  จำเป็นต้องศึกษาข้อมุลพื้นฐานและวิเคราะห์ผลกระทบของการใช้แรงงานข้ามแดน  ทั้งที่ไปทำงานในประเทศชายแดนและแรงงาน

ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย  ทั้งนี้ระยะเวลาที่ทำการวิจัยตั้งแต่ตุลาคม  2544 - กันยายน  2545  โดยแบ่งออกเป็น  3  ระยะคือ  ระยะ

ที่  1  จะศึกษาสำรวจข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับแรงงานของพม่าที่เข้าทำงานอยู่ในประเทศไทย  บริเวณ  6  จังหวัดดังกล่าว  ระยะที่  2  จัด

สัมมนาหัวหน้าหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง  ระยะที่  3  ประมวลและวิเคราะห์  ซึ่งผลการวิจัยในครั้งนี้ทำให้ภาครัฐและเอกชนทราบ

ถึงแนวทางในการพัฒนาการใช้แรงงานข้ามแดนทั้งที่เป็นแรงงานของต่างชาติ  ซึ่งเข้ามาทำงานในประเทศและแรงงานของไทยที่ไป

ทำงานในต่างประเทศ  เป็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร่วมกัน  ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศต่อไป



                                                                                         ********************

โดย : 192.168.148.31 * [ วันที่ 2003-01-20 15:18:25 ]