ผศ. ดร. อนันต์ ทิพยรัตน์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นประธานเปิดการสัมมนา
ทางวิชาการภูมิปัญญาพื้นบ้านภาคใต้หมอและยาสมุนไพร ครั้งที่ 7 เรื่องสุขภาพดีด้วยสมุนไพร ณ หอประชุมโครงการจัดตั้งสถาบัน
วัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2544
นายสมบูรณ์ ธนะสุข ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่าภูมิปัญญาไทยด้านแพทย์แผนไทย เภสัชแผนไทย ซึ่งได้ถ่ายทอดสืบเนื่องมาแต่โบราณ หมอและยาพื้นบ้าน
ในท้องถิ่นต่าง ๆ ของประเทศไทย ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าประโยชน์ต่อการบำบัดรักษาจากความเจ็บป่วย อาทิ หมอยา
ที่ผสมยาตามพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ หมอยาผสมด้วยการดูดวงชะตาราศรีและหมอยาจากประสบการณ์ ซึ่งหมอชาวบ้านเหล่านี้ส่วน
ใหญ่ล้วนเป็นหมอที่มีอุดมการณ์ โดยได้รับค่าตอบแทนเพียงค่า "ราษฏร" หรือค่า "ครู" คือดอกไม้ ธูปเทียน และเงินจำนวนหนึ่ง
จากอุดมการณ์ประกอบกับค่าของเงินที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้หมอและยาแผนไทยนับวันจะลดจำนวนลง หันไปประกอบ
อาชีพอื่นที่มีรายได้ดีกว่า เป็นเหตุให้ชาวบ้านต้องไปใช้บริการของโรงพยาบาลและยาแผนปัจจุบันซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง การฟื้นฟูวิชาการ
ทางหมอและยาพื้นบ้านภาคใต้จึงเป็นสิ่งสำคัญ สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
จึงได้จัดโครงการสัมมนาทางวิชาการภูมิปัญญาพื้นบ้านภาคใต้หมอและยาสมุนไพร ขึ้นเมื่อวันที่ 21 - 22 กันยายน 2544 โดยมี
ผศ. ดร. อนันต์ ทิพยรัตน์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการสัมมนา ทั้งนี้
เพื่อฟื้นฟูวิชาการด้านการรักษาของหมอพื้นบ้านภาคใต้ อันประกอบด้วยหมอสายไทยพุทธ หมอจีน และหมอมุสลิม เพื่อให้เกิดการแลก
เปลี่ยนด้านวิชาการและองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในกลุ่มสมาชิก
การจัดสัมมนาครั้งนี้ ทำให้หมอและยาแผนไทยและนักวิชาการตระหนักในความสำคัญของภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนโบราณ
และได้ทราบและเข้าใจวิธีการรักษาแบบประยุกต์ของแพทย์แผนโบราณและแผนปัจจุบัน
*****************
|